ประวัติวัดคอนเซ็ปชัญ
หลังจากที่พระสังฆราชหลุยส์ ลาโน ได้รับการอภิเษกที่กรุงศรีอยุธยาในปี 1674 แล้ว
ก็ได้เดินทางมาอยู่ที่บางกอก และได้เข้าเฝ้า สมเด็จพระนารายณ์ เพื่อขอพระราชทานที่ดินสำหรับสร้างวัดและโรงพยาบาล
พระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานที่ดินแปลงหนึ่งซึ่งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาเหนือวัดสมอราย
บนที่ดินผืนนี้ท่านได้สร้างวัดหลังหนึ่งเป็นอิฐลาดปูนและตั้งชื่อว่า IIimmaculee
conception แปลว่า แม่พระปฏิสนธินิรมล วัดนี้จึงถูกเรียกว่าวัดคอนเซ็ปชัญ นอกจากสร้างวัดแล้วท่านยังได้สร้างบ้านพักพระสงฆ์
และโรงพยาบาล อีก 2 หลัง สำหรับผู้ป่วยชายหลังหนึ่ง และสำหรับผู้ป่วยหญิงหลังหนึ่ง
พร้อมกับสร้างบ้านพักสำหรับคนงานและคริสตังสำรองที่จะมาพัก เรียนคำสอนอีกหลังหนึ่ง
ในปี 1674 เมื่อคุณพ่อชังเดอบัวเดินทางมาถึงสยามได้รับหน้าที่เป็นผู้ช่วยของพระคุณเจ้าลาโนที่วัดคอนเซปชัญ
พร้อมกับเรียนภาษาไทยไปด้วย ในปี 1676 พระสังฆราชลาโนก็มอบวัดคอนเซปชัญและคริสตังที่นี่ให้คุณพ่อชังเดอบัวปกครอง
ดูแลในฐานะเจ้าอาวาส จนถึงปี 1686 คุณพ่อจึงย้ายไปที่อยู่ที่บ้านเณรอยุธยาคุณพ่อมานึแอลมาเป็นเจ้าอาวาสต่อจากคุณพ่อชังเดอบัวในปี
1686 ในปี 1688 เกิดการปฏิวัติและการเบียดเบียนศาสนา คุณพ่อมานีแอลและบรรดามิชชันนารีส่วนใหญ่ถูกจับขังคุกที่อยุธยา
แต่คริสตังที่บางกอกและวัดคอนเซ็ปชัญไม่ได้ถูกเบียดเบียนมากนัก หลังจากที่คุณพ่อมานีแอลจากวัดคอนเซ็ปชัญไปแล้ว
ในป ี 1688 ที่วัดคอนเซ็ปชัญก็ไม่มีพระสงฆ์องค์ใดที่สามารถมาแพร่ธรรม หรือทำพิธีใดๆในวัดนี้ได้อีกจนถึงปี
1750 นอกจากครูคำสอนซึ่งถูกส่งมาจาก อยุธยามาอยู่ประจำที่วัดนี้เท่านั้น ในปี
1750 คุณพ่อบรีโกต์ซึ่งอยู่ในเขตตะนาวศรี ได้รับมอบหมายให้เดินทางมาอยู่ที่บางกอกเพื่อดูแลคริสตังที่นี่จนถึงปี
1755 คุณพ่อก็ออกจากหน้าที่เจ้าอาวาส วัดคอนเซ็ปชัญ เพื่อไปรับการอภิเษกเป็นพระสังฆราช
ในเวลานั้นไม่มีพระสงฆ์องค์ใดสามารถมาอภิบาลสัตบุรุษวัดคอนเซ็ปชัญ ได้มีแต่ครูคำสอนเท่านั้นที่มาอยู่ประจำจนถึงปี
1762 เมื่อคุณพ่อกอรร์เดินทางมาถึงบางกอก ท่านจึงได้รับมอบหมายให้ดูแลคริสตังที่วัดคอนเซปชัญและสามเณราลัยที่อยุธยา
หลังจากที่กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าในปี 1767 คุณพ่อกอรร์กับพวกสามเณรและคริสตังที่อยุธยาได้ไปลี้ภัยที่เขมร
ในปี 1769 คุณพ่อกอรร์กลับจากเขมร รวบรวมคริสตังจากอยุธยาที่หลบภัยมาอยู่ที่บางกอก
และขอพระราชทานที่ดินสร้างวัดซางตาครู้ส ในเวลาเดียวกันท่านก็ได้มาดูแลคริสตังที่วัดคอนเซปชัญด้วย
ปี 1785 คุณพ่อลังเยอนัวส์ มิชชันนารีในประเทศเขมร ได้พาคริสตังโปรตุเกสกับชาวเขมรซึ่งเป็นคนรับใช้ของชาวโปรตุเกสมาอยู่ที่วัดคอนเซปชัญ
นับตั้งแ ต่นั้นมาวัดนี้จึงถูกเรียกว่าวัดเขมร คริสตังโปรตุเกสเหล่านี้ได้นำพระรูปแม่พระแกะสลักด้วยไม้มาด้วย
คริสตังวัดคอนเซปชัญยังเคารพนับถือพระรูปนี้และได้อัญเชิญพระรูปมาแห่ในโอกาสวันฉลองใหญ่ๆ
ในเวลานั้นที่บางกอกมีวัดเพียง 2 แห่งเท่านั้นคือวัดซางตาครู้สซึ่งเป็นวัดของชาวโปรตุเกสไทย
และวัดคอนเซ็ปชัญซึ่งเป็นวัดของโปรตุเกสเขมร คุณพ่อลังเยอนัวส์ มาเป็นเจ้าอาวาสปกครองดูแลวัดคอนเซ็ปชัญและวัดซางตาครู้สจนถึงปี
1793 เมื่อคุณพ่อลังเยอนัวส์กลับประเทศเขมรแล้ว ก็ไม่มี พระสงฆ์มาอยู่ประจำ พระสงฆ์จากวัดซางตาครู้สจึงรับหน้าที่ผลัดกันมาดูแลวัดคอนเซปชัญจนถึงปี
1836
ปี 1836 คุณพ่อปัลเลอกัวมาเป็นเจ้าอาวาส ท่านได้สร้างวัดใหม่ และบ้านพักพระสงฆ์
วัดหลังนี้ได้เสกเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 1837 ตัววัดยังอยู่จนถึง ปัจจุบัน แต่หอได้รับการต่อเติมในภายหลัง
ส่วนบ้านพักพระสงฆ์ได้ถูกรื้อเพื่อสร้างเป็นโรงเรียน ต่อมาในสมัยคุณพ่อ มาร์แต็ง
เป็นเจ้าอาวาสในปี 1859 ท่านได้ปรับปรุงวัดบ้างเล็กน้อย ขยายหน้าต่างและประดับด้วยกระจกสีอันสวยงาม
สร้างหอระฆัง และสั่งซื้อระฆัง 3 ใบ ในวันที่ 20 พฤศจิกายน 1885 ก็เริ่มตีเป็นครั้งแรก
สร้างโรงเรียนแก่เด็ก ๆ 2 แห่ง ตั้งสมาคมแม่พระไถ่ทาส
ในปี 1943 คุณพ่อมาร์แซล จงสวัสดิ์ อารีอร่าม เป็นเจ้าอาวาส ได้ทำการพัฒนาหมู่บ้านโดยจัดการลาดปูนซีเมนต์หน้าวัดและตามทางที่ผ่านหมู่บ้าน
ต่อมาในปี 1959 คุณพ่อวังกาแวร์ มาเป็นเจ้าอาวาส ได้สร้างบ้านพักพระสงฆ์และโรงเรียนใหม่
เป็นอาคารคอนกรีตใหญ่โต ปี 1965 คุณพ่อศวง ศุระศรางค์ มาเป็นเจ้าอาวาส ได้จัดการต่อเติมอาคารคอนกรีตของคุณพ่อวังกาแวร์
สร้างหอพักและโรงอาหาร ทางด้านการอภิบาลสัตบุรุษ ท่านได้ริเริ่มจัดตั้งกิจการคาทอลิกหลายอย่าง
เช่น เครดิตยูเนียนเพื่อช่วยพัฒนาชาวบ้าน คณะวินเซนต์เดอปอล เพื่อช่วยเตือนความศรัทธา
การเสียสละและช่วยเหลือคนจน ในสมัยคุณพ่อวิศิษฏ์ หริพงศ์ เป็นเจ้าอาวาส ในปี
1973 ได้สร้างตึก 3 ชั้น ด้านหน้าวัดมีชื่อว่า ตึกสมาคมนักบุญวินเซนต์เดอปอล
จัดการซ่อมแซมหลังคาวัดและปรับปรุงตัววัดให้เรียบร้อย ในปี 1974 จัดฉลอง 300
ปีของกลุ่มคริสตังวัดคอนเซปชัญ และบูรณะวัดแรกของพระสังฆราชลาโน ให้ใช้เป็นพิพิธภัณฑ์
ในการฉลอง 300 ปีนี้ คุณพ่อได้กราบทูลเชิญพระบาทสมเด็จ- พระเจ้าอยู่หัวมาเป็นองค์ประธานในพิธีฉลองด้วย
นอกจากนี้ยังได้สร้างถ้ำแม่พระแต่ยังไม่ทันเสร็จคุณพ่อก็ต้องเดินทางไปกรุงโรมเพื่อดูงานแพร่ธรรม
คุณพ่อวิจิตร ลิขิตธรรม จึงมาเป็นเจ้าอาวาสแทนในปี 1976 ท่านได้สร้างหลังคาบนดาดฟ้าของตึก
3 ชั้นบ้านพ่อและอาคารเรียน ดัดแปลงดาดฟ้าเป็นห้องเรียน ทำให้ตึก 3 ชั้นกลายเป็นตึก
4 ชั้น
นอกจากนี้ยังได้ดำเนินการสร้างถ้ำแม่พระของคุณพ่อวิศิษฏ์ต่อจนเสร็จ สมัยคุณพ่อสมศักดิ์
ธิราศักดิ์ เป็นเจ้าอาวาสในปี 1979 ในด้านการอภิบาลสัตบุรุษ ได้จัดตั้งมูลนิธิส่งเสริมกระแสเรียก
ฟื้นฟูศูนย์เยาวชน ฟื้นฟูกลุ่มแม่บ้าน ตั้งคณะเทเรเซียน ปรับปรุงและส่งเสริมกิจการพลมารี
ในด้านวัตถุได้บูรณะวัดให้เป็นหินล้าง ทั้งภายนอกและภายใน บูรณะสุสาน จัดให้เป็นระเบียบ
พร้อมทั้งสร้างซองบรรจุศพ 3 ชั้น สมัยคุณพ่ออนันต์ เอี่ยมมโน เป็นเจ้าอาวาสในปี
1985 ท่านได้รื้อปูนซีเมนต์ทางด้านกำแพงริมหลังคาหลังตัววัดลง และเปลี่ยนเป็นรูปมังกรเล็กๆ
สีสดประดับริมหลังคาวัด อย่างมีศิลปะนอกจากนี้คุณพ่อยังมีโครงการหลายอย่าง เช่น
เปลี่ยนหลังคาวัดน้อยของท่านลาโน ให้เข้ากับหลังคาวัดหลังปัจจุบัน บูรณะภายในให้สมเป็นพิพิธภัณฑ์วัตถุศักดิ์สิทธิ์โบราณ
ปรับปรุงถ้ำแม่พระเมืองลูร์ด ฯลฯ
คุณพ่อวรวุฒิ กิจสกุล (1989-1994) ได้รับแต่งตั้งให้มาเป็นเจ้าอาวาสคุณพ่อได้พยายามปรับปรุงวิชาการและการบริหารงานโรงเรียนให้ดีขึ้น
พร้อมทั้ง ส่งเสริมกิจการคาทอลิกต่างๆของวัดให้เจริญก้าวหน้าอยู่เสมอ
คุณพ่อไพโรจน์ หอมจินดา เจ้าอาวาส (1994-1998)
คุณพ่อบัณฑิตย์ ประจงกิจ (1999 2004)
คุณพ่อกิตติศักดิ์ กาญจนธานินทร์ (2004 -
ปัจจุบัน) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน
ตารางเวลาพิธีกรรม
พิธีกรรม |
วัน/เดือน |
เวลา |
ภาษา |
หมายเหตุ |
มิสซาเย็น (วันธรรมดา) |
จันทร์-ศุกร์ |
19.00 น. |
ไทย |
|
มิสซาเย็น (วันธรรมดา) |
เสาร์ |
17.30 น. |
ไทย |
เป็นมิสซาของวันอาทิตย์ |
พิธีนพวาร (วันธรรมดา) |
เสาร์ |
17.30 น. |
ไทย |
|
มิสซาศุกร์ต้นเดือน |
ศุกร์ |
19.00 น. |
ไทย |
หลังมิสซาอวยพรศีลมหาสนิท |
พิธีแห่แม่พระ |
วันเสาร์แรกของทุกเดือน
หลังมิสซา |
17.30 น. |
ไทย |
|
มิสซาที่ 1 (วันอาทิตย์) |
|
06.00 น. |
ไทย |
เพลงภาษาลาติน |
มิสซาที่ 2 (วันอาทิตย์) |
|
08.30 น. |
ไทย |
|
มิสซาที่ 3 (วันอาทิตย์) |
|
17.00 น. |
ไทย |
|
มิสซาที่ 4 (วันอาทิตย์) |
|
|
|
|
มิสซาที่ 5 (วันอาทิตย์) |
|
|
|
|
มิสซาที่ 6 (วันอาทิตย์) |
|
|
|
|
การเดินรูป 14 ภาคในเทศกาลมหาพรต |
ทุกวันศุกร์ก่อนมิสซา |
19.00
18.30 น. |
ไทย |
ทุกวันอาทิตย์ก่อนมิสซา 8.30
น.(เริ่มเดินรูป 8.00น.) |
วันพฤหัสศักดิ์สิทธิ์ |
|
19.00 น. |
ไทย |
|
วันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ |
|
15.00 น. |
ไทย |
พิธีถอดพระรูป 18.00 น. |
วันเสาร์ศักดิ์สิทธิ์ |
|
19.00 น. |
ไทย |
|
มิสซาวันคริสตมาส (กลางคืน) |
24 ธันวาคม |
22.00 น. |
ไทย |
|
มิสซาวันคริสตมาส (ตอนเช้า) |
25 ธันวาคม |
08.30 น. |
ไทย |
|
มิสซาส่งท้ายปีเก่า |
31 ธันวาคม |
19.00 น. |
ไทย |
|
มิสซาตอนรับปีใหม่ |
1 มกราคม |
09.00 น. |
ไทย |
แห่แม่พระ |
ฉลองวัด/ฉลองแม่พระไถ่ทาสทุก
24 ก.ย. |
8 ธันวาคม |
18.00 น. |
ไทย |
|
เสกสุสาน |
วันพุธรับเถ้า |
18.00 น. |
ไทย |
|
การเดินทาง |
ทางบก |
สาย |
หมายเหตุ |
รถโดยสารประจำทาง (สาย) |
3,9,16,32,33,49,64,65,18,28 และ 108 |
|
รถโดยสารปรับอากาศ (สาย) |
ปอ5, ปอ6 และ ปอพ.4 |
|
ทางน้ำ |
สาย |
หมายเหตุ |
เรือ (สาย) |
|
|
แผนที่