วัดเซนต์แอนโทนี แปดริ้ว
วันที่ 1 ตุลาคม 1944 ได้มีการประกาศแบ่งแยกมิสซังกรุงเทพฯ และสถาปนามิสซังจันทบุรีขึ้นจังหวัดจันทบุรี,
ตราด, ระยอง, ปราจีนบุรี, นครนายก และส่วนฝั่งซ้ายของแม่น้ำบางปะกงของจังหวัดฉะเชิงเทรา
เป็นของมิสซังจันทบุรี ส่วนฝั่งขวา คือ ท่าไข่ เป็นของมิสซังกรุงเทพฯ เส้นเขตแดนระหว่างทั้งสองมิสซัง
คือแม่น้ำบางปะกงซึ่งอยู่ในจังหวัดฉะเชิงเทรา คุณพ่อการิเอเจ้าอาวาสวัดเซนต์ปอล
จึงตัดสินใจข้ามแม่น้ำบางปะกง มาเปิดวัดใหม่ซึ่งจะถวายแด่นักบุญอันตน แทนที่จะไปอยู่ที่วัดเซนต์ร็อค
วัดที่จะเปิดใหม่นี้อยู่เยื้อง วัดเซนต์ปอลลงมาทางใต้เล็กน้อย เมื่อตัดสินใจแล้ว ท่านก็ได้ซื้อที่ดินทันทีและตั้งใจจะให้โรงเรียนของภราดาคณะเซนต์คาเบรียลกับโรงเรียนของภคินีคณะเซนต์ปอลเดอชาร์ตร
ข้ามแม่น้ำมาอยู่ฝั่งขวาเช่นเดียวกัน
ปี1944คุณพ่อการิเอเริ่มลงมือก่อสร้างวัดใหม่ โดยรื้อโรงเรียนหญิง,บ้านพักบราเดอร์
และอู่ต่อเรือตรงคลองตีนเป็ด ซึ่งเป็นของวัดเซนต์ปอล นำไม้มาสร้าง อาคารใหญ่ที่แข็งแรงมั่นคงหลังหนึ่ง
ชั้นล่างใช้เป็นวัดชั่วคราว จนกว่าจะสามารถสร้างวัดที่ถาวรได้ในวันข้างหน้า
ส่วนชั้นที่สองใช้เป็นที่พักสำหรับพระสงฆ์ มีห้องอาหาร และห้องใหญ่ๆ 3 ห้อง
มีระเบียงโดยรอบ นอกจากนี้คุณพ่อยังต้องสร้างบ้านพักสำหรับซิสเตอร์ และอาคารเพิ่ม
ในวันที่ 7 มีนาคม 1946 คุณพ่อพร้อมกับซิสเตอร์คณะเซนต์ปอลเดอชาร์ตรและภราดาเซนต์คาเบรียล
ก็อำลาวัดเซนต์ปอล และโรงเรียนซึ่งได้มอบให้กับพระสงฆ์มิสซังใหม่ดูแล แล้วท่านก็ย้ายมาอยู่ที่วัดเซนต์แอนโทนี
ฝั่งตรงข้าม
ท่านได้ย้ายวัดเซนต์ร็อคที่ท่านเป็นผู้สร้างซึ่งแต่เดิมเป็นสาขาของวัดเซนต์ปอลมาเป็นสาขาของวัดเซนต์แอนโทนี
ท่านได้สร้างโรงเรียนเซนต์แอนโทนี สำหรับนักเรียนหญิง มอบให้ซิสเตอร์คณะเซนต์ปอลเดอชาร์ตร
เป็นผู้บริหารและเปิดสอนอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 1947 ต่อมาได้สร้างโรงเรียน
เซนต์หลุยส์สำหรับนักเรียนชายมอบให้ภราดาเซนต์คาเบรียลเป็นผู้บริหาร เปิดทำการสอนเมื่อวันที่
17 พฤษภาคม 1948 ในปีนี้เอง คุณพ่อวิลเลียม ตัน ได้รับแต่งตั้งมาเป็นผู้ช่วยคุณพ่อการิเอ
ท่านดำรงตำแหน่งพ่อปลัดที่วัดเซนต์แอนโทนีจนถึงปี 1950 จึงย้ายไปเป็นผู้ช่วยที่วัดเจ้าเจ็ด
และบ้านหน้าโคก ปี 1951
คุณพ่อการิเอได้เขียนจดหมายถึงพระสังฆราชหลุยส์ โชแรง ขอให้ส่งพ่อปลัดมาช่วยท่านสักองค์หนึ่ง
พระสังฆราชโชแรงจึงส่งคุณพ่อเคียมสูน เลขาฯ พระสังฆราช มาเป็นพ่อปลัดของคุณพ่อการิเอที่วัดเซนต์แอนโทนีจนถึงปี
1953 จึงย้ายไปนครชัยศรี ในปี 1951 โดยความช่วยเหลือจากสัตบุรุษท่านได้สร้างหอ
ระฆังสำหรับวัดเซนต์แอนโทนีและสั่งระฆังมาจากต่างประเทศ วันที่ 1 มีนาคม 1952
ท่านได้ทำพิธีเปิดสถานีอนามัย และห้องแถวเล็กๆ 4-5 ห้อง เพื่อรับรักษา เลี้ยงดูคนชราที่ไม่มีญาติพี่น้องขณะเดียวกันก็เปิดโรงเลี้ยงเด็กกำพร้าหญิง
และได้ขอให้ซิสเตอร์คณะเซนต์ปอลฯ มาเป็นผู้ดูแล
ปี 1952 คุณพ่อการิเอได้ไปตั้งกลุ่มคริสตชนใหม่ที่บางวัว และให้วัดใหม่นี้เป็นสาขาของวัดเซนต์แอนโทนี
เดือนธันวาคม 1960 คุณพ่อการิเอ ลาออกจากหน้าที่เจ้าอาวาสและมอบอำนาจปกครองทุกอย่างเกี่ยวกับวัดเซนต์แอนโทนี,
เซนต์ร็อค และบางวัว ให้แก่คุณพ่อลังฟังต์ ซึ่งเป็นปลัด และพระสังฆราชโชแรง ได้แต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสแทนคุณพ่อการิเอในเวลาต่อมา
ในวันที่ 6 พฤษภาคม 1961 คุณพ่อการิเอก็ถึงแก่มรณภาพที่วัดเซนต์แอนโทนี โดยได้รับศีลศักดิ์สิทธิ์จากคุณพ่อลังฟังต์
ปี 1970 คุณพ่อยอลีได้รับแต่งตั้งให้มาเป็นเจ้าอาวาสต่อจากคุณพ่อลังฟังต์ คุณพ่อยอลีต้องปกครองดูแลทั้งวัดเซนต์แอนโทนีและวัดสาขาตลอดเวลา
9 ปี ที่นี่ท่านได้สร้างกำแพงล้อมรอบที่ดินและซื้อก้อนหินใหญ่มาทำเขื่อนริมแม่น้ำ
นอกจากนี้ยังได้ซื้อที่ดินเพื่อขยายที่ของวัดหลังตัวอาคารบ้านพ่อ และถมดินเพื่อเตรียมสำหรับสร้างวัดต่อไป
และยังได้จัดหากองทุนเพื่อสร้างวัด
ในปี 1981 พระอัครสังฆราชมีชัย กิจบุญชู ได้แยกวัดเซนต์ร็อคออกจากวัดเซนต์แอนโทนี
และได้แต่งตั้ง
คุณพ่อประสาร คูรัตนสุวรรณ มาเป็นเจ้าอาวาสที่วัดเซนต์แอนโทนี คุณพ่อประสารได้ซื้อที่ดินที่คุณพ่อยอลีเคยขอซื้อแต่เจ้าของไม่ยอมขายได้สำเร็จ
เจ้าอาวาสองค์ต่อมาคือ
คุณพ่อสุรชัย กิจสวัสดิ์(1985-1989)
คุณพ่อสุขุม กิจสงวน (1989-1990)
คุณพ่อไพโรจน์ หอมจินดา (1991-1994) ในปี 1991 คุณพ่อได้เริ่มลงมือก่อสร้างวัดหลังใหม่
คุณพ่อวิจิตร ลิขิตธรรม(1994-1998) เป็นเจ้าอาวาส
คุณพ่อสมศักดิ์ ธิราศักดิ์(1999-ปัจจุบัน) เป็นเจ้าอาวาส
คุณพ่ออดิศักดิ์ กิจบุญชู ( 10 พฤษาคม 2004 - ปัจจุบัน ) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน
|
พิธีกรรม |
วัน/เดือน |
เวลา |
ภาษา |
หมายเหตุ |
มิสซาเช้า
(วันธรรมดา) |
จันทร์-พฤหัส |
06.30 น. |
ไทย |
|
มิสซาเย็น
(วันธรรมดา) |
ศุกร์ - เสาร์ |
19.00 น. |
ไทย |
|
พิธีนพวาร (วันธรรมดา) |
เสาร์ |
19.00 น. |
ไทย |
|
มิสซาศุกร์ต้นเดือน |
ศุกร์ |
19.00 น. |
ไทย |
มีเฝ้าศีลตลอดคืน |
พิธีแห่แม่พระ |
เสาร์ต้นเดือน |
19.00 น. |
ไทย |
|
มิสซาที่ 1 (วันอาทิตย์) |
|
06.30 น. |
ไทย |
|
มิสซาที่ 2 (วันอาทิตย์) |
|
08.30 น. |
ไทย |
|
มิสซาที่ 3 (วันอาทิตย์) |
|
|
|
|
มิสซาที่ 4 (วันอาทิตย์) |
|
|
|
|
มิสซาที่ 5 (วันอาทิตย์) |
|
|
|
|
มิสซาที่
6 (วันอาทิตย์) |
|
|
|
|
การเดินรูป 14 ภาคในเทศกาลมหาพรต |
อาทิตย์ |
08.30 น. |
ไทย |
|
วันพฤหัสศักดิ์สิทธิ์ |
|
19.00 น. |
ไทย |
|
วันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ |
|
15.00 น. |
ไทย |
|
วันเสาร์ศักดิ์สิทธิ์ |
|
19.00 น. |
ไทย |
|
มิสซาวันคริสตมาส (กลางคืน) |
24 ธันวาคม |
19.30 น. |
ไทย |
|
มิสซาวันคริสตมาส (ตอนเช้า) |
25 ธันวาคม |
08.30 น. |
ไทย |
|
มิสซาส่งท้ายปีเก่า |
31 ธันวาคม |
19.00 น. |
ไทย |
|
มิสซาตอนรับปีใหม่ |
1 มกราคม |
08.30 น. |
ไทย |
|
ฉลองวัด |
มิ.ย. |
10.30 น. |
ไทย |
|
เสกสุสาน |
|
|
|
|
การเดินทาง |
ทางบก |
สาย |
หมายเหตุ |
รถโดยสารประจำทาง (สาย) |
|
|
รถโดยสารปรับอากาศ (สาย) |
|
|
ทางน้ำ |
สาย |
หมายเหตุ |
เรือ (สาย) |
|
|
|
แผนที่วัด