วัดนักบุญฟรังซิสเซเวียร์ (วัดสามเสน)

94 ซ.มิตตคาม ถ.สามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
โทร. 0-2243-0060-2 , 0-2243-0063 (บ้านซิสเตอร์) โทรสาร 0-2669-7441


 

วัดนักบุญฟรังซิสเซเวียร์ สามเสน

กลุ่มคริสตชนวัดสามเสน เป็นกลุ่มของคริสตังญวณที่หนีการเบียดเบียนศาสนา ในประเทศอันนัมเข้ามาในประเทศไทยพร้อมกับ กองทัพไทย ที่พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงส่งไปสู้รบกับกองทัพของพระเจ้ามินหม่างเมื่อปี1834 พระยาวิเศษสงคราม และพระยาณรงค์ฤทธิ์ โกษา นายทหารชั้นผู้ใหญ่ในกองทัพ ซึ่งเป็นคาทอลิก ได้กราบทูลขอชาวญวณคริสตังเหล่านี้ไปชุบเลี้ยง พระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระทัยเมตตา ต่อพวกเขาที่หนีร้อนมาพึ่ง พระองค์ได้พระราชทานที่ดินซึ่งอยู่ติดกับวัดคอนเซปชัญให้พวกเขาสร้างศาลาใหญ่เป็นที่อยู่อาศัย พร้อมทั้ง พระราชทานเครื่องอุปโภคบริโภคให้อีกเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังทรงพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ให้สร้างโบสถ์หลังหนึ่ง เพื่อใช้เป็นที่ประกอบศาสนกิจ โบสถ์หลังนี้สร้างด้วยไม้ไผ่ในปี 1835 ใช้ชื่อว่าวัดแซงต์ฟรังซัวซาเวียร์

พระสังฆราชตาแบรด์ ประมุขมิสซังโคชินไชน่า ซึ่งได้หนีภัยการเบียดเบียนศาสนาจากประเทศญวณมาอยู่ที่กรุงเทพฯก่อนหน้าพวกญวณเหล่านี้ ได้จัดหา พระสงฆ์ที่มีเชื้อสายญวณสามองค์มาดูแลคริสตังเหล่านี้ ได้แก่ คุณพ่อปอล, คุณพ่อดัด และคุณพ่อยวง วัดหลังแรก นี้อยู่ได้เพียง 3 ปี ครั้นถึงปี 1837 เกิดพายุใหญ่พัดวัดพังเสียหายหมด พระสังฆราชกรูเวอซีได้ออกเงินให้สร้างวัดใหม่เป็นไม้ พระคุณเจ้ากรูเวอซีได้นำพระรูปแม่พระและรูปนักบุญฟรังซิสเซเวียร์ จากมะนิลามาตั้งในวัดหลังที่สองนี้ นอกจากนี้ยังได้สร้างบ้านพักพระสงฆ์ บ้านพักซิสเตอร์ และสร้างโรงเรียนสองหลังสำหรับเด็กชายและเด็กหญิง สอนภาษาญวณแก่เด็กๆ เพื่อ สะดวกในการสอนคำสอนคริสตังแก่พวกเขาในบรรดาคริสตังญวณที่อพยพมานั้น มีซิสเตอร์คณะรักไม้กางเขนจากโคชินไชน่าจำนวนหนึ่งอพยพมาด้วย พระคุณเจ้ากูรเวอซีจึงให้สร้างอารามเซนต์ฟรังซิสเซเวียร์ขึ้นสำหรับนางชีเหล่านี้

ในปี 1845 พระสังฆราชปัลเลอกัว ได้มอบหมายให้คุณพ่อโกลแดต์ เจ้าอาวาสวัดคอนเซปชัญ รับหน้าที่เป็นเจ้าอาวาสวัดสามเสนด้วย คุณพ่อดัดก็ยังคงอยู่ ช่วยดูแลคริสตังที่นี่และช่วยสอนภาษาญวณให้คุณพ่อโกลแดต์ปี1849คุณพ่อโกลแดต์มีความจำเป็นต้องเดินทางไปต่างประเทศ คุณพ่อดัดจึงรับหน้าที่เป็นเจ้าอาวาส แทน คริสตังที่สามเสนมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ที่อยู่อาศัยคับแคบลง ประกอบ กับพวกเขามีความกระตือรือร้นที่จะหาแหล่งประกอบอาชีพที่มั่นคง คริสตัง เหล่านี้มีความถนัดในการทำการประมง จึงพยายามหาทำเลใหม่ๆอยู่เสมอ คริสตังกลุ่มแรกได้อพยพไปอยู่รวมกับคริสตังญวณของวัดนักบุญแซฟที่อยุธยา คุณพ่อ โกลแดต์กลับมาปกครองวัดสามเสนอีกครั้งหนึ่งในปี 1851 ท่านได้จัดให้คริสตังวัดสามเสนได้เรียนภาษาไทย ให้อ่านออกเขียนได้ เพื่อจะได้ปรับตัวให้เป็นคนไทย ท่านดูแลวัดสามเสนจนถึงปี 1853 ก็ถึงแก่มรณภาพและฝังในวัดสามเสน

คุณพ่อยิบาร์ตาได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสองค์ต่อมาในปี 1853-1871 ท่านเห็นว่าวัดไม้หลังที่สองนี้เล็กเกินไปสำหรับสัตบุรุษที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จึง สร้างวัดใหม่ด้วยอิฐมีขนาดใหญ่กว่าเดิมมาก โดยได้รับความช่วยเหลือจากเงินบริจาคทั้งจากคริสตังและคนต่างศาสนา ใช้เวลาในการก่อสร้างนานถึง 10 ปี จึงเสร็จ ทำพิธีเสกอย่างสง่าในวันฉลองนักบุญฟรังซิสเซเวียร์

ในปี 1867 โดยพระสังฆราชดือปองด์ คริสตังญวณจากวัดสามเสนได้อพยพไปหาแหล่งทำการประมงตามชนบทอยู่เรื่อยๆ โดยไปกันเป็นกลุ่มๆ อาศัยอยู่ ตามริมแม่น้ำลำคลอง เช่นที่ เจ้าเจ็ด, บ้านปลายนา, เกาะใหญ่, บ้านแป้ง, สองพี่น้อง และปากน้ำโพ คุณพ่อยิบาร์ตาได้ไปเยี่ยมเยือนพวกเขาเป็นครั้งคราว เพื่อทำมิสซา โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ และสอนคำสอนให้แก่พวกเขา

คุณพ่อปิโอ ด็อนต เป็นเจ้าอาวาสในปี 1871-1916 ท่านได้สถาปนาซิสเตอร์คณะรักไม้กางเขนของวัดสามเสนให้มีความมั่นคง สร้างอารามหลังใหม่ แทนหลังเก่าซึ่งชำรุดทรุดโทรม รับผู้สมัครเข้ารับการอบรมเป็นภคินี และเชิญภคินีคณะเซนต์ปอลเดอชาร์ตรมาช่วยอบรมภคินีรักไม้กางเขนเหล่านี้ในปี 1900 เมื่อท่านมรณภาพในปี 1916 ตามสถิติของมิสซังวัดสามเสนมีคริสตังจำนวน 600 คน

คุณพ่อบรัวซาต์ เป็นเจ้าอาวาสในปี 1917-1926 ท่านเห็นว่ามีหญิงสาวมาสมัครเข้ารับการอบรมเป็นภคินีมากขึ้น สถานที่เดิมเริ่มคับแคบ ท่านจึงสร้าง อาคารเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งหลังเป็นอาคาร 2 ชั้นนอกจากนี้ยังได้สร้างบ้านสำหรับเลี้ยงเด็กกำพร้าอีก 1 หลัง ในปี 1922 ได้ซื้อระฆังสำหรับวัดสามเสน ปี 1923 ทำรั้ว รอบสุสาน ซ่อมแซมและขยายบ้านพักพระสงฆ์ เนื่องจากคุณพ่อเจ้าวัดสามเสนมีงานที่ต้องรับผิดชอบมากอยู่แล้ว ดังนั้นในปี 1924 พระสังฆราชแปร์รอส จึงได้จัดการให้ภคินีรักไม้กางเขนพ้นจากการปกครองดูแลของเจ้าอาวาสวัดสามเสน ให้ขึ้นตรงต่อมุขนายกมิสซังและต่อมาได้ย้ายไปอยู่ที่คลองเตย

คุณพ่อตาปี เป็นเจ้าอาวาสในปี 1926-1967 ปี 1933 ท่านได้ปฏิสังขรณ์วัดเพื่อเตรียมฉลอง 100 ปี ของกลุ่มคริสตชนสามเสนวันที่ 3 ธันวาคม 1934 ปี 1949 จัดสร้างหอระฆังและนำระฆังที่แขวนไว้ชั่วคราวขึ้นไปไว้บนหอใหม่ ปรับปรุงและขยายบ้านซิสเตอร์ จัดสร้างอนุสาวรีย์เพื่อใช้เป็นที่ประดิษฐานพระรูป พระเยซูเจ้ารักษาคนตาบอดซึ่งทำด้วยทองสัมฤทธิ์ มีพิธีเสกพระรูปนี้เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 1949 ท่านต้องดูแลทั้งวัดสามเสนและวัดสาขาซึ่งคริสตังวัดสามเสนอพยพไปอยู่ จึงจำเป็นต้องมีพ่อปลัดมาช่วยงาน คุณพ่อตาปีเป็นพระสงฆ์องค์สุดท้ายของคณะ M.E.P. ที่ปกครองวัดสามเสน

เมื่อคุณพ่อตาปีปลดเกษียณแล้ว

คุณพ่อบุญเลิศ ธาราฉัตร ซึ่งทำหน้าที่พ่อปลัด(1967-1973) ได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสแทน เนื่องจากอาคารเรียนของโรงเรียนยออันนาด๊าร์ค ไม่เพียงพอกับ จำนวนนักเรียน ท่านจึงได้สร้างอาคารเรียนหลังใหม่เป็นตึก 4 ชั้น ตั้งชื่ออาคารเรียนหลังนี้ว่า อาคารตาปีอนุสรณ์ เพื่อเป็นที่ระลึกถึงคุณพ่อตาปี อาคารหลังนี้ ทำการเสกวันที่ 4 ธันวาคม 1970 โดยคุณพ่อตาปีและเพื่อให้ชื่อของโรงเรียนถูกต้องตามภาษา คุณพ่อจึงเปลี่ยนชื่อโรงเรียนจากเดิมว่า โรงเรียนยออันนาด๊าร์ก เป็น โรงเรียนโยนออฟอาร์ค เมื่อวันที่ 15 มกราคม 1971

คุณพ่อลออ สังขรัตน์ (1974-1976) ได้ขยายการศึกษาระดับก่อนวัยเรียนขึ้นให้ชื่อว่าโรงเรียนนักบุญโยนออฟอาร์คแผนกอนุบาล เมื่อปี 1975

คุณพ่อสังวาลย์ ศุระศรางค์ (1976-1979)อนาคตพระสังฆราชสังฆมณฑลเชียงใหม่) มุ่งเน้นงานด้านอภิบาลสัตบุรุษและการแพร่ธรรม

คุณพ่อคมทวน มุ่งสมหมาย (1979-1983) ได้เริ่มรับนักเรียนชาย และย้ายโรงเรียนนักบุญโยนออฟอาร์คแผนกมัธยม มารวมกับแผนกประถม เปลี่ยนชื่อใหม่ ว่าโรงเรียนโยนออฟ อาร์ค และที่สุดคุณพ่อได้เปิดโรงเรียนอาชีวะขึ้นภายในบริเวณเดิมของโรงเรียนโยนออฟอาร์คแผนกมัธยม ตั้งชื่อโรงเรียนใหม่ว่า โรงเรียน โยนออฟอาร์คพณิชยการ

คุณพ่อศวง ศุระศรางค์ (1983-1989) ได้จัดฉลองครบรอบ 150 ปี ของกลุ่มคริสตชนสามเสนขึ้นในวันฉลองวัดเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 1984 คุณพ่อ ได้จัดทำหนังสือทวีธาวัชรสมโภชวัดนักบุญฟรังซิสเซเวียร์ขึ้น พร้อมทั้งได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานอัญเชิญพระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินมาในงานฉลองครั้งนี้ด้วย ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมารเสด็จแทนพระองค์มาในงานในวันศุกร์ที่ 28 ธันวาคม 1984 นอกจากงานสำคัญนี้แล้วเพื่อให้สัตบุรุษมีความรักเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน คุณพ่อได้ส่งเสริมกิจการเครดิตยูเนียนของวัดให้เจริญก้าวหน้า

คุณพ่อชุมภา คูรัตน์ (1989-1994) ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส งานที่สำคัญของคุณพ่อได้แก่งานด้านอภิบาล และปรับปรุงงานบริหารโรงเรียน ให้มี ประสิทธิภาพดีขึ้น

คุณพ่อประวิทย์ พงษ์วิรัชไชย (1994-1998) เป็นเจ้าอาวาส

คุณพ่อสุรสิทธิ์ ชุ่มศรีพันธุ์ (1999-2004)

คุณพ่อประทีป กีรติพงศ์ (2004 - ปัจจุบัน) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน

ผู้ช่วยเจ้าอาวาส

คุณพ่อเรอเน ปริสซอง
คุณพ่อพรศักดิ์ ชื่นจิตอภิรมย์
คุณพ่อเอกชัย โสรัจจกิจ

ตารางเวลาพิธีกรรม

พิธีกรรม

วัน/เดือน

เวลา

ภาษา

หมายเหตุ

มิสซาเช้า (วันธรรมดา)

จันทร์-เสาร์

06.00 น.

 ไทย

 

มิสซาเย็น (วันธรรมดา)

จันทร์-เสาร์

19.00 น.

 ไทย

 

พิธีนพวาร (วันธรรมดา)

 

 

 

 

มิสซาศุกร์ต้นเดือน

ศุกร์แรกของเดือน

19.00 น.

ไทย

 

พิธีแห่แม่พระ

 

 

 

 

มิสซาที่ 1 (วันอาทิตย์)

 

06.30 น.

ไทย

 

มิสซาที่ 2 (วันอาทิตย์)

 

08.30 น.

ไทย

 

มิสซาที่ 3 (วันอาทิตย์)

 

10.00 น.

ไทย

 

 มิสซาที่ 4 (วันอาทิตย์)

 

16.00 น.

ไทย

 

มิสซาที่ 5 (วันอาทิตย์)

 

 

 

 

มิสซาที่ 6 (วันอาทิตย์)

 

 

 

 

การเดินรูป 14 ภาคในเทศกาลมหาพรต

ทุวันศุกร์/อาทิตย์

18.30

ไทย

หลังมิสซารอบ 10.00 น.

วันพฤหัสศักดิ์สิทธิ์

 

19.00 น.

 ไทย

 

วันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์

 

16.30 น.

ไทย

 

วันเสาร์ศักดิ์สิทธิ์

 

19.30 น.

ไทย

 

มิสซาวันคริสตมาส (กลางคืน)

24 ธันวาคม

21.00 น.

 ไทย

 

มิสซาวันคริสตมาส (ตอนเช้า)

25 ธันวาคม

08.30, 10.00, 16.00 น.

 ไทย

 

มิสซาส่งท้ายปีเก่า

 31 ธันวาคม

19.00 น.

ไทย

 แห่แม่พระรอบหมู่บ้าน

มิสซาตอนรับปีใหม่

1 มกราคม

08.30 น.

 ไทย

 

ฉลองวัด

3 ธันวาคม

10.00 น.

 ไทย

 

เสกสุสาน

 

16.00 น.

 ไทย

 วันอาทิตย์หลังพุธรับเถ้า

การเดินทาง

ทางบก

 สาย

หมายเหตุ

  รถโดยสารประจำทาง (สาย)

  3, 9, 16, 18, 28, 30,32,33,56,64,65,66,108

 

  รถโดยสารปรับอากาศ (สาย)

  ปอ.10,16, 5, 6 และ ปอพ.4

 

 ทางน้ำ

 สาย

หมายเหตุ

  เรือ (สาย)

 

 

แผนที่วัด

Free Web Hosting