ดี พวกเขาจึงไปเช่าร้านในตลาดบ้านนาค้าขาย
ด้วยเหตุนี้เอง กลุ่มคริสตชนที่บ้านนาจึงมีจำนวนมากพอสมควร เมื่อคุณพ่อลารเกย้ายไปเป็นเจ้าอาวาสที่วัดหนองรี
ในเดือนเมษายน 1945 ที่มีบ้านนามีคริสตังถึง 750 คนแล้วซึ่งมากกว่าที่หนองรี
(600 คน) คุณพ่อลารเกได้มาเยี่ยมคริสตังเหล่านี้เป็นประจำทุกอาทิตย์หลังจากเสร็จพิธีมิสซาที่หนองรีแล้ว
โดยใช้บ้านและร้านของพวกเขาเป็นที่ทำมิสซา จะมีก็แต่พวกคริสตังที่อยู่ใกล้เคียงเท่านั้นที่สามารถไปร่วมพิธีมิสซาได้
เพราะสถานที่คับแคบ เนื่องจาก ยังไม่มีวัดและจำนวนคริสตังก็มีมากจึงทำให้ประสบปัญหาค่อนข้างยุ่งยากมาก
และการที่พวกเขาจะไปเข้าวัดที่หนองรีนั้นก็ต้องพบกับความลำบากใช่ไม่น้อย
คุณพ่อลารเกเห็นความจำเป็นที่จะต้องซื้อที่ดินสักแปลงหนึ่งเพื่อสร้างวัดแต่ท่านไม่มีทุน
พอดีเวลานั้นสงครามโลกสงบลง พวกเชลยศึกในค่ายเขาชะโงก จะต้องเดินทางกลับประเทศของเขาแต่ยังมีศพเพื่อนทหารด้วยกันอีก
2ศพ พวกเขาจึงเรี่ยรายเงินกันแล้วนำมาบริจาคให้คุณพ่อลารเกเพื่อใช้ซื้อที่ดินแปลงหนึ่งสำหรับสร้างวัด และให้ย้ายศพเพื่อนของเขามาไว้ในที่ดินผืนนั้นด้วย
คุณพ่อลารเกได้นำเงินจำนวนนั้นมาซื้อที่นาแปลงหนึ่งใกล้กับตลาดบ้านนา และได้บอกบุญไปยังคริสตังตามที่ต่างๆ
ในเขตมิสซัง ให้ช่วยสมทบทุนเพื่อสร้างวัดด้วย ที่สุดในวันที่ 8 มีนาคม 1946 ก็ได้ลงมือก่อสร้างวัด
ต่อมาวันที่ 3 มิถุนายน 1946 คุณพ่อลารเกต้องเดินทางไปพักผ่อนที่ประเทศฝรั่งเศส
เนื่องจากการที่ท่านต้องเป็นธุระจัดการเรื่องการสร้างวัดบ้านนา ทั้งวิ่งเต้นหาทุน
และคุมการก่อสร้างเอง ทำให้ร่างกายเจ็บป่วย และอ่อนกำลังลง และได้มอบให้คุณพ่อเลโอนารด์
ผลสุวรรณ ปลัดวัดหนองรีเป็นผู้รับผิดชอบ การสร้างวัดบ้านนาต่อจนเสร็จ ในเดือนตุลาคม
1946 ทำพิธีเสกวันอาทิตย์ที่ 20 ตุลาคม 1946 ในวันเสกวัดนี้เองคุณพ่อเลโอนารด์ได้ทำพิธีโปรดศีลล้างบาป
เป็นครั้งแรกในวัดนี้ และบัญชีศีลล้างบาปของวัดบ้านนาก็เปิดในวันนี้เช่นเดียวกัน
ในปี 1947พระสังฆราชแต่งตั้งให้คุณพ่อเลโอนารด์ เป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านนาด้วย คุณพ่อเลโอนาร์ดได้สร้างพักซิสเตอร์และขอซิสเตอร์คณะพระหฤทัยฯ
มาช่วยงานที่วัดบ้านนา ในปี 1952 คุณพ่อเปแร็ง เจ้าอาวาสและคุณพ่อโกเชต์พ่อปลัด
ได้รื้อวัดและนำไม้มาสร้างเป็นโรงเรียน ใช้ชื่อว่า โรงเรียนมาลาสวรรค์พิทยา และใช้ห้องหนึ่งเป็นวัด
ปี 1954 คุณพ่อโกเชต์ได้ซื้อที่ดินเพิ่มเพื่อขยายโรงเรียน และ เตรียมสร้างวัด
ปี 1955 คุณพ่อโกเชต์ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสแทนคุณพ่อเปแร็งซึ่งประสบอุบัติเหตุต้องกลับไปรักษาตัวที่ประเทศฝรั่งเศส
คุณพ่อโกเชต์ได้สร้างหอพักนักเรียนประจำ เนื่องจากจำนวนนักเรียนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
อาคารเรียนหลังใหม่ที่ใช้เป็นทั้งโรงเรียนและวัดและที่พักของพระสงฆ์ด้วยนั้น
เล็กเกินไปในเวลานี้ ท่านจึงคิดที่จะสร้างวัดต่างหาก จึงได้ไปบอกบุญหาทุนช่วยสร้างวัด
จนคริสตังที่กรุงเทพฯและวัดใหญ่ๆรู้จักท่านดีทุกคน ท่านต้องการสร้างวัดให้มีลักษณะแบบวัดไทย
สมัยใหม่จึงต้องใช้ทุนมาก วันที่ 3 เมษายน 1960 พระสังฆราชโชแรงได้มาทำพิธีเสกศิลาฤกษ์
และเสกระฆังใบแรกของวัดซึ่งมีผู้ไม่ประสงค์ออกนามถวายให้ ในเดือนพฤศจิกายน 1962
ได้มีพิธีเสกวัดบ้านนาหลังใหม่อย่างสง่า นอกจากนี้คุณพ่อโกเชต์ยังได้ซื้อที่ดินเพิ่มอีกหลายแปลงที่บ้านนา
คุณพ่อวิศิษฏ์ หริพงศ์ (1969-1974) ไ ด้รับแต่งตั้งให้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านนาท่านได้สร้างอาคารเรียนหลังใหม่เป็นตึกใหญ่
2 ชั้น เสร็จในปี 1969 ส่วนโรงเรียนหลังเก่าได้รื้อทิ้งและใช้ไม้มาสร้างบ้านพักพระสงฆ์ชั่วคราวและต่อมาได้สร้างใหม่อย่างถาวร
ท่านได้ขุดบ่อบาดาลเพื่อให้โรงเรียนมีน้ำใช้อย่างเพียงพอ
คุณพ่อลารเกกลับมาเป็นเจ้าอาวาสอีกครั้งในปี 1975 ท่านได้ก่อตั้งคณะเยาวชนของวัดขึ้นสร้างรั้วล้อมรอบที่ดินของวัด
สร้างศาลาประชาคม ซึ่งอำนวยความสะดวกให้แก่บรรดาคริสตังวัดบ้านนาเป็นอย่างมาก
ปี 1982 ท่านได้รายงานต่อกระทรวงมหาดไทย เพื่อขอจดทะเบียนที่ดินของวัดบ้านนาจำนวน
25 ไร่เศษ ให้เป็นของมิสซังได้สำเร็จ เนื่องจากอาคารเรียนหลังเก่าที่ใช้เป็นอาคารเรียนสำหรับอนุบาลนั้น
ชำรุดมากมายและเป็นอันตรายแก่เด็ก ปี 1983 ปลัดของคุณพ่อ ลารเกซึ่งรักษาการณ์แทนในขณะที่ท่านกลับไปพักผ่อนที่ฝรั่งเศส
คือคุณพ่อไพริน เกิดสมุทร ได้สร้างอาคารอนุบาลใหม่เป็นไม้แข็งแรง หลังคาเป็นคอนกรีต
ต่อมา ในปี 1984 อาคารหลังนี้ได้ถูกรื้อไป
สมัยคุณพ่อไพริน(1984-1985) เป็นเจ้าอาวาส พระคาร์ดินัลมีชัย กิจบุญชู ได้จัดบูรณะวัดบ้านนาโดยการก่อสร้างโรงเรียนอนุบาลเป็นตึก
2 ชั้นสวยงาม สร้างหอพักสำหรับนักเรียนประจำเป็นตึก 2 ชั้นเช่นกัน สร้างห้องประชุม
บ้านพักพระสงฆ์ บ้านพักซิสเตอร์ ฯลฯ และจัดสร้างทางให้รถยนต์เข้าออกได้สะดวกสบาย
นอกจากนี้คุณพ่อไพรินยังจัดสร้างอนุสาวรีย์นักบุญเปาโล ซึ่งทำการเสกพร้อมกับอาคารต่างๆในวันที่
25 มกราคม1986 อันเป็นวันฉลองหิรัญสมโภชวัดหลังปัจจุบัน
คุณพ่อบรรจบ โสภณ (1986-1987) รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสได้เพียงปีเดียว ก็ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
คุณพ่อธวัช พันธุมจินดา(1987) จึงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสแทนในปี 1987 แต่ก็เป็นระยะเวลาเพียงปีเดียว
คุณพ่อบัณฑิตย์ ประจงกิจ(1988) ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสได้เข้าบริหารงานด้านโรงเรียน
ส่งเสริมกิจกรรมต่างๆของวัดอย่างมีประสิทธิภาพ
คุณพ่อพจนารถ นิรมลทินวงศ์ (1994-1998) เป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ 12 ขณะนั้นจำนวนนักเรียนยังเพิ่มขึ้นเรื่อย
ๆ คุณพ่อจึงได้สร้างอาคารเรียนชั่วคราว ต่อจากอาคารชั่วคราวเดิมออกมาอีก 5 ห้อง
เพื่อรองรับจำนวนนักเรียนพร้อมทั้งซื้อที่ดินเพิ่มอีก 6 ไร่ 20 ตารางวา และยังได้ติดตั้งพัดลมเพิ่มจาก
1 เป็น 2 ตัว ในแต่ละห้องเรียนอีกด้วย นอกจากนั้นคุณพ่อยังได้ออกเยี่ยมสัตบุรุษ
จัดทะเบียนวัดใหม่ นำแม่พระออกไปสวดตามบ้านทุก ๆ วันเสาร์ พร้อมกับบรรดาสัตบุรุษ
และ ยังนำสัตบุรุษเตรียมจิตใจ สำหรับการฉลองครบรอบ 50 ปีของวัดนักบุญเปาโล นำรูปนักบุญไปสวดตามบ้านเพื่อเตรียมจิตใจสัตบุรษ
สร้างสวนหย่อมรอบบริเวณวัด ปรับขยายถนนและรั้วบ้านพระสงฆ์ ซิสเตอร์และเป็นแบบอย่างความศรัทธษต่อพระอีกด้วย
คุณพ่อสุรชัย กิจสวัสดิ์ (1999-2004 )
คุณพ่อศุภศิลป์ สุขสุศิลป์ ( 10 พฤษภาคม 2004 - ปัจจุบัน ) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน
พิธีกรรม |
วัน/เดือน |
เวลา |
ภาษา |
หมายเหตุ |
มิสซาเช้า (วันธรรมดา) |
จันทร์-ศุกร์ |
06.30 น. |
ไทย |
ยกเว้นศุกร์ต้นเดือน |
มิสซาเย็น (วันธรรมดา) |
เสาร์ |
19.30 น. |
ไทย |
|
พิธีนพวาร (วันธรรมดา) |
|
|
|
|
มิสซาศุกร์ต้นเดือน |
|
19.30 น. |
ไทย |
|
พิธีแห่แม่พระ |
|
19.30 น. |
ไทย |
|
มิสซาที่ 1 (วันอาทิตย์) |
|
09.30 น. |
ไทย |
|
มิสซาที่ 2 (วันอาทิตย์) |
|
|
|
|
มิสซาที่ 3 (วันอาทิตย์) |
|
|
|
|
มิสซาที่ 4 (วันอาทิตย์) |
|
|
|
|
มิสซาที่ 5 (วันอาทิตย์) |
|
|
|
|
มิสซาที่ 6 (วันอาทิตย์) |
|
|
|
|
การเดินรูป 14 ภาคในเทศกาลมหาพรต |
|
10.30 น. |
ไทย |
หลังมิสซา |
วันพฤหัสศักดิ์สิทธิ์ |
|
19.30 น. |
ไทย |
|
วันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ |
|
19.30 น. |
ไทย |
เดินรูป 15.00 น. |
วันเสาร์ศักดิ์สิทธิ์ |
|
19.30น. |
ไทย |
|
มิสซาวันคริสตมาส (กลางคืน) |
24 ธันวาคม |
22.00 น. |
ไทย |
|
มิสซาวันคริสตมาส (ตอนเช้า) |
25 ธันวาคม |
09.30 น. |
ไทย |
|
มิสซาส่งท้ายปีเก่า |
31 ธันวาคม |
19.30 น. |
ไทย |
|
มิสซาตอนรับปีใหม่ |
1 มกราคม |
09.30 น. |
ไทย |
|
ฉลองวัด |
|
|
|
|
การเดินทาง |
ทางบก |
สาย |
หมายเหตุ |
รถโดยสารประจำทาง (สาย) |
รถตู้อนุสาวรีย์ - บ้านนา, ฟิวเจอร์รังสิต - บ้านนา |
ถนนสายรังสิต - นครนายก |
รถโดยสารปรับอากาศ (สาย) |
|
|
ทางน้ำ |
สาย |
หมายเหตุ |
เรือ (สาย) |
|
|