วัดมารีย์สมภพ บ้านแพน
ปี 1949 คุณพ่อบรัวซาต์ เจ้าอาวาสวัดบ้านปลายนา ได้มาซื้อที่ดินผืนใหญ่บริเวณตลาดบ้านแพนเพื่อต้องการจะย้ายวัดบ้านปลาย
นามาอยู่ที่นี่เนื่องจากท่านเห็นว่าบริเวณนี้เป็นแหล่งชุมชน ทำมาหากินสะดวก เป็นประโยชน์ต่องานแพร่ธรรม
ปี 1950 ท่านจึงรื้ออาคาร ต่างๆของวัดบ้านปลายนา ไม่ว่าจะเป็นวัด โรงเรียน บ้านพักพระสงฆ์
บ้านพักซิสเตอร์แล้วมาสร้างโรงเรียนที่บ้านแพนสร้างบ้านพักพระสงฆ์ สร้างอาคารใหญ่อีกหลังหนึ่ง
ใช้เป็นบ้านพักพระสงฆ์และวัดชั่วคราว และได้เตรียมสร้างวัดถาวรแต่ยังไม่ทันลงมือสร้าง
ท่านก็ต้องกลับไป ประเทศฝรั่งเศสในต้นเดือนกุมภาพันธ์ 1954
พระสังฆราชโชแรงได้แต่งตั้งคุณพ่อมิแชล ส้มจีน ปลัดของคุณพ่อบรัวซาต์ที่บ้านปลายนาให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบ้านแพนและเจ้าเจ็ด
แต่คุณพ่อมิแชลได้ส่งคุณพ่อเลโอนารด์ เดอเยซู ปลัดของท่านมาดูแลวัดบ้านแพนตั้งแต่ปี
1954 และให้จัดสร้างวัดแม่พระบังเกิดอย่างถาวร ส่วนตัวท่านเองมาดูแลในบางครั้ง
คุณพ่อเลโอนารด์ได้เอาใจใส่และบริหารโรงเรียนราษฎร์บำรุงศิลป์ ซึ่งเป็นโรงเรียนที่คุณพ่อบรัวซาต์เป็นผู้สร้าง
อย่างใกล้ชิด จนทำให้โรงเรียนเจริญก้าวหน้ามาก
ปี 1954 นี้เอง ท่านได้ขออนุอนุญาตทางราชการขยายโรงเรียน โดยก่อสร้างอาคารเรียนเพิ่มขึ้นอีก
2 หลัง จึงมีอาคารเรียนรวมทั้งสิ้น 3 หลัง ต่อมาในปี 1955 จำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
จึงได้ต่อเติมอาคารเรียนหลังเดิมออกไปอีก 5 ห้อง และเปิดสอนถึงชั้นมัธยมปีที่
6 วันที่ 8 กันยายน1954 ท่านได้จัดฉลองแม่พระบังเกิด ที่บ้านแพนเป็นครั้งแรก
มีพระสงฆ์มาร่วมในวันฉลองจำนวนมาก โดยมีคุณพ่อโอลลิเอร์ อธิการของคณะ M.E.P.
แขวงกรุงเทพฯ เป็นประธานในพิธีมิสซาซึ่งถวายกันกลางแจ้ง คุณพ่อเลโอนารด์ได้เริ่มลงมือก่อสร้างวัดใหม่ในวันที่
2 มีนาคม 1955 ท่านเป็นผู้คุมการก่อสร้างเองทั้งหมด สร้างเสร็จและทำพิธีเสกในวันที่
19 สิงหาคม 1956 โดยพระสังฆราชโชแรงเป็นประธาน มีพระสงฆ์และสัตบุรุษจากวัดต่างๆมาร่วมในพิธีจำนวนมาก
ในวันที่ 16 มีนาคม 1958 วัดแม่พระบังเกิดก็ได้รับเกียรติจัดพิธีบวชสังฆานุกร
ศวง ศุระศรางค์ เป็นพระสงฆ์ โดยมีพระสังฆราชโชแรงเป็นผู้ประกอบพิธี ซึ่งนำความปลื้มปิติยินดีมาสู่คริสตังวัดแม่พระบังเกิดและในเขตจังหวัดอยุธยาเป็นอย่างยิ่ง
และต่อมาในวันที่ 26 มีนาคม 1960 ก็ได้รับเกียรติอีกครั้งหนึ่งให้จัดพิธีบวชสังฆานุกร
บุญเลิศ ธาราฉัตร ลูกวัดเจ้าเจ็ด เป็นพระสงฆ์โดยมีพระสังฆราชโชแรงเป็นผู้ประกอบพิธี
ในโอกาสนี้มีพระสงฆ์จำนวนมาก และสัตบุรุษตามวัดต่างๆมาร่วมในพิธี
ในสมัยคุณพ่อเสวียง ศุระศรางค์ เป็นเจ้าอาวาส ในปี 1970 พระอัครสังฆราชยวง
นิตโย ได้อนุมัติให้จัดสร้างอาคารเรียนใหม่ 3 ชั้น จำนวน 30 ห้อง เพื่อรองรับจำนวนนักเรียนที่เพิ่มมากขึ้นทุกปี
ๆ อาคารหลังนี้มีชื่อว่าอาคารมาดารนิจจานุเคราะห์ เปิดใช้ในเดือนกรกฎาคม 1971
คุณพ่อสมศักดิ์ ธิราศักดิ์ เป็นเจ้าอาวาสในปี 1973- 1979 ท่านได้รื้อบ้านพักพระสงฆ์หลังเก่า
และโรงเรียนไม้ 2 หลังของคุณพ่อบรัวซาต์ แล้วจัดสร้างเป็นโรงเรียนไม้ 2 ชั้นหลังใหม่
นอกจากนี้ยังได้ซ่อมแซมวัดทำพื้นวัดใหม่
คุณพ่อลออ สังขรัตน์ (1979-1981) มาเป็นเจ้าอาวาสท่านได้ทาสีวัดเสียใหม่ให้สวยงาม
และย้ายสุสานบ้านปลายนามาฝังในที่ใหม่
คุณพ่อทวีศักดิ์ กิจเจริญ (1981-1982) เป็นเจ้าอาวาเพียงปีเดียว
คุณพ่อวิศิษฏ์ หริพงศ์ (1982-1987) ได้ทำรั้วรอบบริเวณวัดและโรงเรียน ปรับปรุงการบริหารงานโรงเรียนให้ดีขึ้น
ในสมัยของคุณพ่อวิศิษฏ์นี้ สถิติของ นักเรียนมีจำนวน 1006 คน
คุณพ่อประมวล พุฒตาลศรี (1987-1994)ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสในปี 1987 คุณพ่อให้ความสนใจในงานด้านอภิบาลเป็นพิเศษในสมัยของคุณพ่อ
จำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้นทุกปี ทำให้อาคารเรียนไม่เพียงต่อจำนวนนักเรียน อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
โดยพระคาร์ดินัลไมเกิล มีชัย กิจบุญชู จึงได้สร้างอาคารเรียนเพิ่ม อีก 1 หลังเป็นอาคารคอนกรีต
4 ชั้น คือ อาคารเซนต์ไมเกิ้ล และได้สร้างโรงอาหารใหม่พร้อมด้วย
คุณพ่อศุภกิจ เลิศจิตรเลขา(1994-1995) เป็นเจ้าอาวาสเพียงปีเดียว
คุณพ่อศุภศิลป์ สุขสุศิลป์(1995-1999) ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสในปี 1995
เป็นต้นมา
เมื่อคุณพ่อมารับตำแหน่งเจ้าอาวาสในปีแรก บริเวณวัดและโรงเรียนพบปัญหาน้ำท่วม
ทำให้เสียหายเป็นอย่างมาก ทั้งทรัพย์สินและบริเวณวัด โรงเรียนไม่ว่า จะเป็นสนาม
สวนหย่อม ต้นไม้ ดังนั้นคุณพ่อได้ทำการทาสีวัดใหม่และได้ทำค้นดินกั้นน้ำอย่างถาวร
ทำให้ในปีต่อมาบริเวณวัดและโรงเรียนรอดพ้นจากอุทกภัยได้ ทั้ง ๆ ที่อ.เสนาและอำเภอใกล้เคียงได้รับความเสียหายอย่างหนัก
นอกจากนี้คุณพ่อยังได้สร้างสนามบาสเก็ตบอล สนามวอลย์เลย์บอลและยังได้ปลูกต้นไม้ดอก
ไม้ประดับ ทำให้บริเวณวัดและโรงเรียนร่มรื่นและสวยงามอีก ด้วย
คุณพ่อศรีปราชญ์ ผิวเกลี้ยง (พฤษภาคม 1999-2004 ) เป็นเจ้าอาวาส
คุณพ่อบัณฑิต ประจงกิจ ( 10 พฤษภาคม 2004 - ปัจจุบัน ) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน
ตารางเวลาพิธีกรรม
พิธีกรรม |
วัน/เดือน |
เวลา |
ภาษา |
หมายเหตุ |
มิสซาเช้า (วันธรรมดา) |
|
06.30 น |
ไทย |
ยกเว้นพระสงฆ์ติดประชุม |
มิสซาเย็น (วันธรรมดา) |
จันทร์-เสาร์ |
18.00 น. |
ไทย |
ตามปกติทุกสัปดาห์ |
พิธีนพวาร (วันธรรมดา) |
เสาร์ เท่านั้น |
18.00 น. |
ไทย |
|
มิสซาศุกร์ต้นเดือน |
|
08.00 น. |
ไทย |
17.00 น.ถวายที่วัดน้อยบ้านปลายนา |
พิธีแห่แม่พระ |
|
|
|
เป็นครั้งคราว เฉพาะเดือนแม่พระ |
มิสซาที่ 1 (วันอาทิตย์) |
|
09.00 น. |
ไทย |
มีมิสซาเดียว |
มิสซาที่ 2 (วันอาทิตย์) |
|
|
|
|
มิสซาที่ 3 (วันอาทิตย์) |
|
|
|
|
มิสซาที่ 4 (วันอาทิตย์) |
|
|
|
|
มิสซาที่ 5 (วันอาทิตย์) |
|
|
|
|
มิสซาที่ 6(วันอาทิตย์) |
|
|
|
|
การเดินรูป 14 ภาคในเทศกาลมหาพรต |
|
09.00 น. |
ไทย |
ก่อนมิสซาวันอาทิตย์ |
วันพฤหัสศักดิ์สิทธิ์ |
|
19.00 น. |
ไทย |
|
วันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ |
|
15.00 น. |
ไทย |
เดินรูปก่อนพิธีนมัสการฯ |
วันเสาร์ศักดิ์สิทธิ์ |
|
19.00 น. |
ไทย |
|
มิสซาวันคริสตมาส (กลางคืน) |
24 ธันวาคม |
19.30 น. |
ไทย |
|
มิสซาวันคริสตมาส
(ตอนเช้า) |
25 ธันวาคม |
09.00 น. |
ไทย |
|
มิสซาส่งท้ายปีเก่า |
31 ธันวาคม |
18.00 น. |
ไทย |
|
มิสซาตอนรับปีใหม่ |
1 มกราคม |
09.00 น. |
ไทย |
|
ฉลองวัด |
เสาร์ที่ 2 เดือน ก.ย. |
10.30 น. |
ไทย |
|
เสกสุสาน |
อาทิตย์ |
09.00 น. |
ไทย |
|
การเดินทาง |
ทางบก |
สาย |
หมายเหตุ |
รถโดยสารประจำทาง (สาย) |
อยุธยา - เสนา , สุพรรณบุรี - อยุธยา |
|
รถโดยสารปรับอากาศ (สาย) |
หมอชิด - ผักไห่, รถตู้สนามหลวง - เสนา |
|
ทางน้ำ |
สาย |
หมายเหตุ |
เรือ (สาย) |
|
|