วัดนักบุญยอแซฟ หนองรี
ราวปี ค.ศ.1900 มีคนจีนอพยพมาตั้งหลักแหล่งทำมาหากินในประเทศไทยเป็นจำนวนมากหลาย
ๆ ครอบครัวเป็นคริสตังอยู่แล้ว ปี 1910 คุณพ่อยวงเฮียง แซ่ลิ่ม ปลัดวัดลำไทร
เห็นว่ามีที่ดินว่างเปล่าอยู่แถวๆหนองรีจึงไปจับจองเพื่อต้อนรับคนจีน มีครอบครัวแซ่ลิ้ม
(นิตตะโย) มาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่หนองรีได้ช่วยคุณพ่อยวงเฮียงทำการถางป่าที่จับจองและเตรียมที่สร้างวัด
เพราะคุณพ่อยวงต้องเดินทาง ไป ๆ มา ๆระหว่างลำไทร บ้านเล่า เสาวภา และหนองรี
มีคริสตังจากวัดบ้านเล่าย้ายมาอยู่ในบริเวณที่ที่จับจองนี้ปี 1912 คุณพ่อยวงเฮียง
เริ่มสร้างวัดนักบุญยอแซฟหลังแรก เนื่องจากคุณพ่อยวงเฮียงไม่ได้อยู่ประจำที่บ้านหนองรี จึงไม่ได้เปิดบัญชีศีลศักดิ์สิทธิ์ของวัดนักบุญยอแซฟต่างหาก
แต่ได้จดรวมในบัญชีของวัดบ้านเล่าจนถึงปี 1929 คุณพ่อโอลลิเอร์ ปลัดวัดลำไทรและวัดบ้านเล่าสร้างวัดนักบุญยอแซฟหลังที่สองที่หนองรีเป็นไม้และมาอยู่ประจำที่วัด
จึงแยกบัญชีต่างหาก
นอกจากสร้างวัดแล้วคุณพ่อยังสร้างบ้านพักพระสงฆ์ และบ้านซิสเตอร์ด้วย ในสมัยคุณพ่อโอลลิเอร์เป็นต้นมา
มีทั้งคริสตังจีน และคริสตังไทยจำนวนมากมาอยู่หนองรี ย้ายมาจากปราจีนหรือแหลมโขดบ้าง
มาจากเมืองจีนโดยตรงบ้าง บางครอบครัวก็อยู่ชั่วคราว และอพยพไปที่อื่นต่อ ในปี
1937 คุณพ่อซามูแอล มาปกครองดูแลคริสตังที่หนองรี ท่านได้สร้างโรงเรียนหลังแรกขึ้นที่นี่
จากความช่วยเหลือและเงินบริจาคของสัตบุรุษวัดหนองรี ได้ขออนุญาตทางกระทรวง เปิดเป็นโรงเรียนประชาบาล
ปี 1945 ได้สถาปนามิสซังจันทบุรีขึ้นโดยแยกออกจากมิสซังกรุงเทพฯ คุณพ่อลารเกได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดหนองรีอย่างเป็นทางการตั้งแต่เดือน
เมษายน 1945 ถึงปี 1947 เนื่องจาคุณพ่อกำลังเตรียมสร้างวัดใหม่ที่บ้านนา ดังนั้นท่านจึงขอพระสังฆราชให้ช่วยส่งพ่อปลัดมาช่วยดูแลที่หนองรี
คุณพ่อเลโอนารด์ สิงหนาท จึงมาอยู่ในฐานะพ่อปลัด ต่อมาคุณพ่อลารเกได้มอบหน้าที่เจ้าอาวาสทั้งหมดให้แก่คุณพ่อเลโอนารด์
ปี 1946 คุณพ่อเลโอนารด์ได้ทำการซ่อมแซมโรงเรียนของคุณพ่อซามูแอล และยื่นคำร้องขอเปลี่ยนเป็นโรงเรียนราษฎร์
ใช้ชื่อว่า โรงเรียนสิงห์ประสาทวิทยา ปี 1947
คุณพ่อเลโอนารด์ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสอย่างเป็นทางการจนถึงปี 1950 ปี
1956 คุณพ่อโกเชต์ เจ้าอาาสได้ร่วมมือกับชาวบ้านซื้อรถไถนามาดันดินถมถนน กับสร้างสะพาน
2 แห่งเชื่อมวัดหนองรีกับถนนสุวรรณศร นำความเจริญมาสู่หมู่บ้านหนองรี ในเวลานั้นชาวจีนได้อพยพไปอยู่ในจังหวัดอื่นเกือบหมดแล้ว
เนื่องจากถนนสายนี้สร้างช้าไป คุณพ่อโกเชต์เห็นความจำเป็นที่จะต้องสร้างวัดและบ้านพักซิสเตอร์ใหม่
เพราะวัดไม้ของคุณพ่อโอลลิเอร์ และบ้านซิสเตอร์ชำรุดทรุดโทรมมาก ถูกปลวกทำลายฝาผนัง
และเพดานจนเกือบหมด แต่ไม่มีงบประมาณสร้าง คุณพ่อโกเชต์จึงต้องไปเรี่ยรายตามวัดต่างๆทั่วประเทศหลายครั้งจนวัด
สามารถสร้างเสร็จ และทำการเสกในปี 1957
คุณพ่อวิศิษฏ์ หริพงศ์ (1968) มาเป็นเจ้าอาวาสท่านได้สร้างบ้านพักพระสงฆ์ใหม่
และเป็นผู้ขอโฉนดที่ดินวัดหนองรีได้เป็นผลสำเร็จ ในปี 1969 พระอัครสังฆราชยวง
นิตโย ได้อนุญาตให้คุณพ่อแวร์ดิเอร์ เปิดอารามฤษี ซึ่งอยู่ใกล้กับวัดนักบุญยอแซฟ
คุณพ่อวิศิษฏ์จึงยกที่ดินแปลงหนึ่งเนื้อที่ประมาณ 33 ไร่ ให้เป็นที่พักและที่ทำกินของฤษีใหม่
อารามพระคริสตารามนี้
สมัยคุณพ่อลารเกกลับมาเป็นเจ้าอาวาสในปี 1975 ในเวลานั้นรัฐบาลมีนโยบายให้ผู้เช่านาได้เป็นเจ้าของที่ดิน
ดังนั้นพระสังฆราชจึงสั่งให้ขายที่นาของวัดหนองรีแก่ผู้เช่าที่ประสงค์จะซื้อ
คุณพ่อลารเกจึงได้จัดการแบ่งที่นาวัดหนองรีขายให้แก่ผู้เช่าเดิม และเพื่อให้ชาวบ้านที่ซื้อที่ดินทำนาได้รับความสะดวกท่านจึงตัด
และถมถนนหลายๆสายและยกให้เป็นทางสาธารณะ คุณพ่อได้สร้างรั้วล้อมรอบที่วัด โรงเรียน
และสุสาน สร้างอาคารเรียนหลังใหม่และศาลานักเรียน
คุณพ่อไพริน เกิดสมุทร (1983-1986) ท่านได้สร้างศาลาประชาคมซึ่งสร้างค้างไว้ตั้งแต่สมัยคุณพ่อลารเกจนเสร็จสมบูรณ์
นอกจากนี้ยังได้จัดตั้งคณะกรรมการสภาวัดขึ้นเพื่อช่วยเหลือกิจการต่างๆของวัด
คุณพ่อสมพร เส็งเจริญ (1986-1991) ได้เล็งเห็นความสำคัญของโรงเรียนของวัดได้ปรับปรุงห้องเรียน
สุขภัณท์ อุปกรณ์การเรียนการสอน เพื่อให้โรงเรียนอยู่ในมาตรฐานที่ดีขึ้น ส่งเสริมกิจกรรมต่างๆของโรงเรียนเพื่อให้เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป
นอกจากนี้คุณพ่อยังได้จัดสร้างถ้ำแม่พระขึ้น เพื่อนำความศรัทธาของบรรดาสัตบุรุษให้เพื่มพูนขึ้นด้วย
คุณพ่อศิริพจน์ สกุลทอง (1991-1993)เป็นเจ้าอาวาส
คุณพ่อสุรพันธ์ ดาวพิเศษ (1994-1998) เป็นเจ้าอาวาส
คุณพ่อคมสันต์ ยันต์เจริญ(1999-ปัจจุบัน) เป็นเจ้าอาวาส
คุณพ่อพงษ์เกษม สังวาลย์เพ็ชร ( 10 พฤษภาคม 2004 - 2005 ) ย้ายไปเป็นเจ้าอาวาสวัดพระบิดาเจ้า
คุณพ่อมาโนช สมสุข ( 1 พฤษภาคม 2005 - ปัจจุบัน ) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน
พิธีกรรม |
วัน/เดือน |
เวลา |
ภาษา |
หมายเหตุ |
มิสซาเช้า (วันธรรมดา) |
|
|
|
|
มิสซาเย็น (วันธรรมดา) |
จันทร์-ศุกร์ |
19.00 น. |
ไทย |
|
พิธีนพวาร (วันธรรมดา) |
|
|
|
|
มิสซาศุกร์ต้นเดือน |
ศุกร์ |
08.00 น. |
ไทย |
เฉพาะนักเรียน |
พิธีแห่แม่พระ |
|
|
|
|
มิสซาที่ 1 (วันอาทิตย์) |
|
08.30 น. |
ไทย |
|
มิสซาที่ 2 (วันอาทิตย์) |
|
|
|
|
มิสซาที่ 3 (วันอาทิตย์) |
|
|
|
|
มิสซาที่ 4 (วันอาทิตย์) |
|
|
|
|
มิสซาที่ 5 (วันอาทิตย์) |
|
|
|
|
มิสซาที่ 6 (วันอาทิตย์) |
|
|
|
|
การเดินรูป 14 ภาคในเทศกาลมหาพรต |
อาทิตย์ |
09.30 น. |
|
หลังมิสซา |
วันพฤหัสศักดิ์สิทธิ์ |
|
19.00 น. |
|
|
วันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ |
|
19.00 น. |
|
|
วันเสาร์ศักดิ์สิทธิ์ |
|
19.00 น. |
|
|
มิสซาวันคริสตมาส (กลางคืน) |
24 ธันวาคม |
19.00 น. |
|
|
มิสซาวันคริสตมาส
(ตอนเช้า) |
25 ธันวาคม |
08.30 น. |
|
|
มิสซาส่งท้ายปีเก่า |
31 ธันวาคม |
19.00 น. |
|
|
มิสซาตอนรับปีใหม่ |
1 มกราคม |
08.30 น. |
|
|
ฉลองวัด |
เสาร์ |
10.30 น. |
|
เสาร์ที่ 2 ของเดือนมีนาคม |
เสกสุสาน |
อาทิตย์ |
10.30 น. |
|
อาทิตย์ที่ 2 ของเดือนพ.ย. |
การเดินทาง |
ทางบก |
สาย |
หมายเหตุ |
รถโดยสารประจำทาง (สาย) |
|
|
รถโดยสารปรับอากาศ (สาย) |
|
|
ทางน้ำ |
สาย |
หมายเหตุ |
เรือ (สาย) |
|
|