วัดนักบุญยอแซฟ (วัดอยุธยา)
30 ม.11 ต.สำเภาล่ม อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา 13000
โทร 0-3532-1447, 0-3532-1445 (บ้านซิสเตอร์) โทรสาร 0-3532-1449

 

วัดนักบุญยอแซฟ อยุธยา

พระสังฆราชลังแบรต์ เดอลาม็อต หนึ่งในเจ็ดประมุขมิสซัง ที่พระสันตะปาปาทรงแต่งตั้งให้มาเผยแพร่ศาสนาในประเทศต่างๆ ทางตะวันออกไกล ได้เดินทางมากรุงศรีอยุธยาในปี 1662 โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะไปแพร่ธรรมในประเทศจีน แต่เนื่องจากเรือถูกพายุ อัปปาง และในเวลานั้นเกิดการเบียดเบียนศาสนาอย่างรุนแรงในประเทศจีน ท่านจึงได้พักอยู่ที่กรุงศรีอยุธยาในค่ายของชาวญวณก่อน

ปี 1665 พระสังฆราชลังแบรต์ทูลขอพระบรมราชานุญาตจากพระเจ้าแผ่นดิน สร้างโรงเรียนขึ้นแห่งหนึ่ง สมเด็จพระนารายณ์ ทรงพระราชทานที่ดินแปลงหนึ่งและวัสดุต่างสำหรับสร้างวัด ท่านลังแบรต์ได้สร้างโรงเรียนและสามเณราลัยเป็นอิฐ สร้างวัดชั่วคราว และบ้านพักพระสงฆ์เป็นไม้ในปี 1666 สิ่งก่อสร้างทั้งหมดนี้เรียกว่าค่ายนักบุญยอแซฟ ในปี 1669 ได้สร้างโรงพยาบาลหลังเล็กๆโดยมีคุณพ่อลาโนเป็นแพทย์ ประจำ โรงพยาบาล

วันที่ 4 กรกฎาคม 1669 ทางกรุงโรมได้แต่งตั้งให้เป็นเทียบสังฆมณฑลสยาม และขอให้ท่านลังแบรต์กับท่านปัลลือแต่งตั้งประมุขมิสซังองค์หนึ่งสำหรับปกครอง ดังนั้นในปี 1673 คุณพ่อลาโนจึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระสังฆราชประมุขมิสซังสยาม ตั้งแต่ปี 1679 วัดอยุธยาได้เป็นศูนย์กลางของมิสซังต่างๆ ทั่วตะวันออกไกล ต่อมาท่านลาโนได้ก่อสร้างวัดอยุธยาใหม่เป็นอิฐอย่างถาวร ทำการเสกในวันที่ 25 มีนาคม 1685 และให้อยู่ในความอุปถัมภ์ของนักบุญยอแซฟ

หลังจากสมเด็จพระนารายณ์สวรรคตในปี 1688 ก็เกิดการเบียดเบียนศาสนาขึ้น และนับตั้งแต่นั้นมาพระศาสนจักรในประเทศสยามก็ต้องพบกับมรสุมมากมายหลายประการ แต่งานเผยแพร่พระวรสารก็ยังคงดำเนินต่อไปถึงแม้จะไม่ค่อยได้ผลดีนัก จนกระทั่งทหารพม่าบุกเข้าทำลายกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองในปี 1767 วัดนักบุญยอแซฟ บ้านพักพระสงฆ์ สามเณราลัยทั้งเล็กและใหญ่ โรงเรียนครูสอนคำสอนโรงพยาบาล หมู่บ้านคริสตัง ถูกเผาทำลายจนหมดสิ้น บรรดาคริสตังที่ มิได้ถูกฆ่าหรือนำไปเป็นเชลยต่างก็พากันหลบหนีกระจัดกระจายไปอาศัยอยู่ตามที่ต่างๆ คุณพ่อกอร์สามารถหนีจากเงื้อมมือของพม่าได้และพาสามเณรจำนวนหนึ่งหนีถึงจันทบุรี โดยมีคริสตังจำนวนหนึ่งติดตามไปด้วย พระสังฆราช และมิชชันนารี พร้อมด้วยนักบวชโปรตุเกส กับคริสตังที่อยู่ในความปกครองของท่านถูกจับเป็นเชลย และถูกนำตัวไถึงประเทศพม่า คริสตังไทยเชื้อสายโปรตุเกสที่หนีรอดจากการถูกจับได้หนีลงมาอยู่ที่บางกอก คริสตังญวนก็กระจัดกระจายไปตามหมู่บ้านบริเวณ กรุงศรีอยุธยา เพราะหมู่บ้านคริสตังถูกเผาหมด และมีบางคนเข้ายึดเอาที่ดินของพวกคริสตังเหล่านี้มาเป็นกรรมสิทธิ์

ปี 1830 คุณพ่อปัลเลอกัวได้ไปดูสถานการณ์ที่อยุธยา ซึ่งไม่มีพระสงฆ์องค์ใดไปอยู่เลยนับตั้งแต่เมืองถูกพม่าเผาทำลาย ท่านได้ซื้อที่ดินบริเวณรอบๆวัดเก่า กลับคืนมา และรวบรวมบรรดาคริสตังญวณที่กระจัดกระจายอยู่ให้กลับมาอยู่ที่เดิมเป็นหมู่บ้านคริสตัง ปี 1835คุณพ่อปัลเลอกัวได้มอบหมายให้คุณพ่ออัลแบร์ตสร้างวัดขึ้นใหม่เป็นอิฐ บนส่วนหนึ่งของที่ตั้งวัดนักบุญยอแซฟหลังเดิม และบนอุโมงค์ที่บรรจุศพของประมุขมิสซังสยาม 8 องค์แรก ในเวลานั้นมีคริสตังประมาณ 200 คน คุณพ่ออัลแบร์ตปกครอง คริสตังเหล่านี้จนถึงปี 1851 คุณพ่อลาร์โนดี เป็นเจ้าอาวาสในปี 1851 ท่านได้สร้างโรงงานทำน้ำตาลขึ้นหลังหนึ่งเพื่อช่วย ยกระดับการครองชีพให้แก่สัตบุรุษ บัญชีวัดของวัดอยุธยาได้เริ่มเปิดในปี 1951 ในสมัยของคุณพ่อลาร์โนดีนี้เอง แต่มิใช่ต้นฉบับ เชื่อว่าบัญชีแรกๆของวัดอยุธยาในสมัยของคุณพ่อปัลเลอกัวและคุณพ่ออัลแบร์ต คงอ่านไม่ออก เพราะใช้กระดาษและน้ำหมึกไม่ดี

ปี 1872 คุณพ่อแปร์โรซ์ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส เมื่อท่านไปเห็นซากของวัดเดิมและวัดเล็กๆของคุณพ่อปัลเลอกัวตั้งอยู่อย่างน่าสมเพช ท่านรู้สึกสะเทือนใจ จึงตัดสินใจที่จะสร้างวัดใหม่บนซากวัดเก่าซึ่งมิชชันนารีรุ่นแรกๆได้สร้างไว้ และจัดการซื้อที่ดินอีกหลายแปลงซึ่งเคยเป็นของมิสซังกลับคืนมา คุณพ่อ ได้เริ่มสร้างวัดชั่วคราวเป็นไม้ขึ้นก่อน เพื่อจะได้รื้อวัดของคุณพ่อัลเลอกัว และสร้างวัดใหม่ตรงฐานเดิมของวัดหลังแรก คุณพ่อแร์โรซ์วาดแผนผังของวัดใหม่ ด้วยตนเอง โดยมีสถาปนิกผู้หนึ่งตรวจรับรอง และเป็นนายช่างควบคุมการก่อสร้างเองด้วย งานก่อสร้างดำเนินไปอย่างช้า ๆ เพราะขาดเงิน ขณะที่ทำการขุดพื้นที่เพื่อ สร้างรากฐานของวัด ได้ขุดพบโครงกระดูกของมิชชันนารี 13 ท่านที่ถูกฝังไว้ที่นี่กว่า 1 ศตวรรษแล้ว โครงกระดูกบางโครงยังอยู่ในสภาพดี พระสังฆราชหลุยส์ เวย์ ได้เดินทางมาทำพิธีเสกศิลาฤกษ์วัดใหม่พร้อมกับพระสงฆ์มิชชันนารีอีก 16 ท่าน ในวันที่ 21 พฤศจิกายน 1883 ในขณะที่วัดหลังใหม่ยังสร้างไม่เสร็จ ในปี 1888 วัดชั่วคราวก็ได้ถูกไฟไหม้ ในวันที่ 19 มีนาคม 1891 ได้มีพิธีเสกวัดนักบุญยอแซฟหลังใหม่ และพระแท่น โดยพระสังฆราชหลุยส์ เวย์ นอกจากนี้ในปี 1884 คุณพ่อแร์โรซ์ยังได้เปิดโรงเรียนของวัดนักบุญยอแซฟขึ้น เพื่อให้การศึกษาแก่บุตรหลานคริสตัง โดยใช้อักษรโรมันมาผสมอ่านเป็นคำไทย หรือที่เรียกว่าภาษา วัด

ในสมัยคุณพ่อมาร์แซล (1933-1942) ได้มีการซ่อมแซมตัววัดซึ่งหน้ากลัวว่ากำลังจะพังแบะออกไปให้กลับมั่นคงแข็งแรงขึ้น ในปี 1934 ได้ขอเปลี่ยน บานะของโรงเรียนเป็นโรงเรียนประถมศึกษา ใช้ชื่อว่า โรงเรียนประชาชน เพราะประชาชนมีส่วนช่วยในการศึกษา ต่อมาในปี 1941 คุณพ่อได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียน เป็นโรงเรียน"ราษฎร์สงเคราะห์" เนื่องจากเห็นว่าชื่อโรงเรียนประชาชนไม่เหมาะสม

คุณพ่อเฮนรี่สุนทร วิเศษรัตน์ (1948)มาเป็นเจ้าอาวาส ท่านสังเกตเห็นว่ากำแพงวัดด้านยาวทั้งสองด้านกำลังจะพัง จึงรายงานให้พระสังฆราชโชแรง ทราบพระคุณเจ้าได้ส่งวิศวกรจากกรุงเทพฯมาทำการซ่อมในปี 1966 คุณพ่อได้สร้างอาคารเรียนหลังใหม่ 2 ชั้น ครึ่งตึกครึ่งไม้ เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้น ป.1-ม.ศ.3 ในปี 1969 พระอัครสังฆราชยวง นิตโย ได้มอบเงินให้คุณพ่อเฮนรี่จัดการเปลี่ยนหลังคาวัดนักบุญยอแซฟจากหลังคาปูนเป็น หลังคากระเบื้อง เพื่อเตรียมฉลอง 300 ปีของการก่อตั้งกลุ่มคริสตชนที่อยุธยา ในเดือนเมษายน 1969

คุณพ่อบัญชา ศรีประมงค์ (1972-1977) เป็นเจ้าอาวาส คุณพ่อได้ทำลูกกรงเหล็กป้องกันกระจกไม่ให้เสียหายมากขึ้น และได้สร้างถ้ำแม่พระขนาดใหญ่ขึ้นที่บริเวณด้านหน้าวัดโดยได้รับเงินบริจาคจากร้าน ปืนอำนาจ

คุณพ่อวิศิษฏ์ หริพงศ์ (1977-1979) เป็นเจ้าอาวาส ได้ตกแต่งทาสีภายในวัดอย่างสวยงาม และเอารื้อเสาที่ดูเกะกะภายในวัดออกด้วย

คุณพ่อประสาร คูรัตนสุวรรณ (1979-1981) เป็นเจ้าอาวาส ได้เทซีเมนต์พื้นวัดที่ทรุด และปูหินอ่อนให้เรียบ พร้อมกับปรับปรุงบริเวณพระแท่นให้สวยงามมากขึ้น

คุณพ่อสุรชัย กิจสวัสดิ์ (1981-1985)ไเป็นเจ้าอาวาส ด้ขัดพื้นหินอ่อนภายในวัดให้เรียบ และทาม้านั่งในวัดด้วยน้ำมัน เพื่อความคงทนและสวยงาม

คุณพ่อธีรวัฒน์ เสนางค์นารถ (1985-1989) ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส

คุณพ่อไพริน เกิดสมุทร (1989-1994)ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส

คุณพ่อธนันชัย กิจสมัคร(1994-1998) เป็นเจ้าอาวาส

คุณพ่อสมพร เส็งเจริญ(1999-2004 ) เป็นเจ้าอาวาส

คุณพ่ออนุศักดิ์ กิจบำรุง ( 10 พฤษภาคม 2004 - ปัจจุบัน ) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน

 

ตารางเวลาพิธีกรรม

พิธีกรรม

วัน/เดือน

เวลา

ภาษา

หมายเหตุ

มิสซาเช้า (วันธรรมดา)

 

 

 

 

มิสซาเย็น (วันธรรมดา)

จันทร์-เสาร์

19.00 น.

ไทย

 

พิธีนพวาร (วันธรรมดา)

 เสาร์

19.00 น.

ไทย

 

มิสซาศุกร์ต้นเดือน

 ศุกร์

08.30,19.00 น.

ไทย

 

พิธีแห่แม่พระ

เสาร์ต้นเดือน

19.00 น.

ไทย

 

มิสซาที่ 1 (วันอาทิตย์)

 

09.00 น.

ไทย

 

มิสซาที่ 2 (วันอาทิตย์)

 

 

 

มิสซาที่ 3 (วันอาทิตย์)

 

 

 

 

มิสซาที่ 4 (วันอาทิตย์)

 

 

 

 

มิสซาที่ 5 (วันอาทิตย์)

 

 

 

 

มิสซาที่ 6 (วันอาทิตย์)

 

 

 

 

การเดินรูป 14 ภาคในเทศกาลมหาพรต

ศุกร์ / อาทิตย์

15.00 น./9.00

ไทย

 

วันพฤหัสศักดิ์สิทธิ์

 

19.00 น.

ไทย

 

วันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์

 

15.00 น.

ไทย

 

วันเสาร์ศักดิ์สิทธิ์

 

19.00 น.

ไทย

 

มิสซาวันคริสตมาส (กลางคืน)

24 ธันวาคม

22.00 น.

ไทย

 

มิสซาวันคริสตมาส (ตอนเช้า)

25 ธันวาคม

09.00 น.

ไทย

 

มิสซาส่งท้ายปีเก่า

31 ธันวาคม

19.00 น.

ไทย

 

มิสซาตอนรับปีใหม่

1 มกราคม

09.00 น.

ไทย

 

ฉลองวัด

17. มี.ค.

10.30 น.

ไทย

 เสาร์สัปดาห์ที่ 3 ของเดือนมีนาคม

เสกสุสาน

ศุกร์ก่อนฉลองวัด

16.00 น.

ไทย

 

การเดินทาง

ทางบก

 สาย

หมายเหตุ

  รถโดยสารประจำทาง (สาย)

 

 

  รถโดยสารปรับอากาศ (สาย)

 

 

 ทางน้ำ

 สาย

หมายเหตุ

  เรือ (สาย)

 

 

แผนที่วัด

Free Web Hosting