วัดแม่พระฟาติมา
มีนาคม 1950 คุณพ่ออาแมสตอยเจ้าอาวาสวัดกาลหว่าร์ ได้ขออนุญาตพระสังฆราชหลุยส์โชแรงสร้างวัด
และได้รับอนุญาต ให้ดำเนินงานเป็นทางการได้ในวันที่ 15 สิงหาคม 1951 เนื่องจากในเวลานั้นที่ดินอันเป็นที่ตั้งของวัดในปัจจุบันนี้
อยู่ชานเมืองและดูว่ากำลังจะเจริญแม้จะยังไม่มีถนนตัดผ่านก็ตามประจวบกับที่ดินตรงนั้นเป็นที่กว้างพอที่จะสามารถสร้างได้ทั้งวัด
และโรงเรียนรวมทั้งหมู่บ้าน คริสตัง คุณพ่อจึงตัดสินใจซื้อที่สวนมะลิ รวมเนื้อที่ทั้งหมด
37 ไร่ 16 วา
คุณพ่ออาแมสตอยได้ตัดสินใจที่จะเอาที่ดินไว้พอสำหรับสร้างวัดกับอาคารอื่นๆ เช่น
บ้านพักพระสงฆ์, บ้านซิสเตอร์ โรงเรียนชายหญิง ฯลฯ นอกนั้นก็แบ่งเป็นล็อกๆประกาศขายแก่เหล่าคริสตังจากวัดกาลหว่าร์
หรือจากเขตวัดใดก็ตามที่มีความต้องการ และประกาศบอกบุญให้ช่วยสร้างวัดแม่พระฟาติมา
คุณพ่อได้รับเงินบริจาคครั้งแรกจากสัตบุรุษวัดกาลหว่าร์ในปลายปี 1954 ต่อจากนั้นก็มีธารน้ำใจหลั่งไหลมา
โดยอาศัยโฆษณาจากหนังสือพิมพ์คาทอลิก งานก่อสร้างได้เริ่มลงมือกันในวันที่ 1
เมษายน 1955 เพื่อระลึกถึงวันที่คุณพ่อได้จากญาติพี่น้องมาทำงานในประเทศไทยครบ
8 ปี
ในวันที่ 26 มิถุนายน 1955 พระสังฆราชหลุยส์ โชแรง ได้ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์
และถวายนามว่า "วัดแม่พระฟาติมา" มีคนมาทำบุญ ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ แต่เงินที่รวบรวมได้ก็ยังไม่พอ ที่ดินซึ่งแบ่งเป็นล็อกๆให้คริสตังมาซื้อปลูกบ้านก็ขายได้ช้าเต็มทีเพราะวัดยังสร้างไม่เสร็จแต่การก่อสร้างก็ต้องดำเนินต่อไป
คุณพ่ออาแมสตอยจำเป็นต้องกู้เงินจากนายทุนเพื่อมาสร้างวัด ในที่สุดวัดก็ค่อยๆสูงตระหง่านขึ้น
ดูเด่นเป็นสง่าต่อสายตาของทุกคนที่ผ่านมาทางดินแดง
บ่ายวันเสาร์ที่ 14 เมษายน 1956 มีการแห่พระรูปแม่พระฟาติมาจากวัดกาลหว่าร์(ซึ่งพระรูปได้ประดิษฐานอยู่ที่นั่นนานถึง
3 ปีมาแล้ว) มายังวัดใหม่ และ ในวันที่ 15 เมษายน 1956 พระสังฆราชหลุยส์ โชแรง
ได้ทำพิธีเสกวัดแม่พระฟาติมา และแห่พระรูปแม่พระฟาติมาพร้อมทั้งประกาศพระราชโองการขององค์สมเด็จพระสันตะปาปา
ที่ได้ทรงอวยพรแด่ผู้มีจิตศรัทธาในการสร้างวัดรวมทั้งผู้มีพระคุณทั้งหลาย
นอกจากคุณพ่อได้สร้างวัดแล้ว ยังได้สร้างโรงเรียนเพื่อใช้เป็นที่อบรมให้ความรู้แก่เด็กๆ
โรงเรียนหลังแรกนี้สร้างด้วยไม้ มีชื่อว่า "โรงเรียนฟาติมา" ได้รับอนุมัติจากกระทรวงศึกษาธิการให้จัดตั้งเมื่อวันที่
29 มีนาคม 1957 เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้น ป.1-ป.4 กระทรวงศึกษาธิการรับรองวิทยะฐานะในปี
1972 และในปี 1981 ได้โอนกิจการของโรงเรียนมาเป็นของมิสซังกรุงเทพฯ ต่อมาในวันที่
1 มิถุนายน 1961 คุณพ่ออาแมสตอยได้อำลามิสซังกรุงเทพฯ เพื่อเดินทางไปมิสซังมะละกาและสิ้นใจด้วยโรคหัวใจเมื่อวันที่
21 กุมภาพันธ์ 1962
เจ้าอาวาสองค์ต่อมาคือคุณพ่อแวร์ดิเอร์ (1960-1963), คุณพ่อยอลี (1963-1970)
ในสมัยของคุณพ่อยอลีนี้ ท่านได้จัดการซ่อมแซมหอระฆัง สร้างคาน ตามพื้นดินรอบวัด
เปลี่ยนแท่นบูชา และจัดการสร้างพระรูปพระคริสต์เป็นทองแดง แทนรูปปูนปลาสเตอร์
เมื่อคุณพ่อยอลีย้ายไปแปดริ้ว และได้มีการตกลงให้มิชชันนารีคณะ O.M.I. ปกครองวัดแม่พระฟาติมา
คุณพ่อคริสเตียน จิลล์ จึงเป็นเจ้าอาวาสองค์ต่อมาในปี 1970 และเป็นผู้สร้างโรงเรียนหลังปัจจุบัน
คุณพ่อคริสเตียน จิลล์ ปกครองวัดแม่พระฟาติมาจนถึงปี 1976 ก็ย้ายไปปกครองวัดหนองหิน
เจ้าอาวาสองค์ต่อมาคือ คุณพ่อชาร์โลท์ (1976-1979), คุณพ่อฟอร์แต็ง (1977-1979),
และคุณพ่อเชอวรูเลท์ (1979-1984)
มิถุนายน1984คณะO.M.I.ได้ย้ายไปสร้างศูนย์ของคณะที่รังสิต ตั้งแต่นั้นมาวัดแม่พระฟาติมาก็อยู่ในความปกครองของพระสงฆ์ไทยแห่งอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
พระสงฆ์ไทยองค์แรกของมิสซังกรุงเทพฯที่ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสปกครองวัดแม่พระฟาติมาคือ
คุณพ่ออนันต์ เอี่ยมมโน (1984-1985)
คุณพ่อวุฒิเลิศ แห่ล้อม (1985-1989)
คุณพ่อสุเทพ พงษ์วิรัชไชย (1989 1994) เป็นเจ้าอาวาสทางโรงเรียนแม่พระฟาติมาได้เจริญก้าวหน้าขึ้นมากมีความจะเป็นที่จะต้องใช้อาคารเรียน
เพิ่ม เติม จึงได้จัดสร้างอาคารเรียน 4 ชั้นขึ้นใหม่หลังหนึ่ง ให้ชื่อว่า ตึกนิรมล
พระคาร์ดินัลมีชัย กิจบุญชู เป็นผู้เสกตึกหลังนี้เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 1991
คุณพ่อชุมภา คูรัตน์1994 1998 )เป็นเจ้าอาวาส
คุณพ่อวิชชุกรณ์ เกตุภาพ(1999 2004) เป็นเจ้าอาวาส
คุณพ่อประเสริฐ ตรรกเวศม์ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน
ผู้ช่วยเจ้าอาวาส
คุณพ่อเทพประสิทธิ์ ทอแสงธรรม
ช่วยงานอภิบาลและพักประจำ
คุณพ่อสุรพันธ์ ดาวพิเศษ
ตารางเวลาพิธีกรรม
|
พิธีกรรม |
วัน/เดือน |
เวลา |
ภาษา |
หมายเหตุ |
มิสซาเช้า
(วันธรรมดา) |
จันทร์- เสาร์ |
06.15 น. |
ไทย |
|
มิสซาเย็น
(วันธรรมดา) |
|
19.00 น. |
ไทย |
|
พิธีนพวาร
(วันธรรมดา) |
ทุกวันเสาร์ก่อนมิสซา |
19.00 น. |
ไทย |
ประมาณ 18.45 น. |
มิสซาศุกร์ต้นเดือน |
ศุกร์ |
19.00 น. |
ไทย |
มีตั้งศีล 18.30
น. ภาวนาชั่ว
โมงศักดิ์สิทธิ์และอวยพรศีลฯ |
พิธีแห่แม่พระ |
ทุกวันที่ 13 ของทุกเดือน |
19.00น. |
ไทย |
ภาวนาสายประคำ
และอวยพรศีลฯ 18.30 น. |
มิสซาที่ 1 (วันอาทิตย์) |
|
07.00 น. |
ไทย |
สวดสายประคำก่อนมิสซา |
มิสซาที่ 2 (วันอาทิตย์) |
|
09.00 น . |
ไทย |
สวดสายประคำก่อนมิสซา |
มิสซาที่ 3 (วันอาทิตย์) |
|
17.30 น. |
ไทย |
สวดสายประคำก่อนมิสซา |
มิสซาที่ 4 (วันอาทิตย์) |
|
|
|
|
มิสซาที่ 5 (วันอาทิตย์) |
|
|
|
|
มิสซาที่ 6 (วันอาทิตย์) |
|
|
|
|
การเดินรูป 14 ภาคในเทศกาลมหาพรต |
ทุกวันศุกร์ |
14.00 น.
18.30 น. |
จีน
ไทย |
วันอาทิตย์หลังมิสซา
9.00 น. |
วันพฤหัสศักดิ์สิทธิ์ |
|
19.00 น. |
ไทย |
|
วันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ |
|
19.00 น. |
ไทย |
|
วันเสาร์ศักดิ์สิทธิ์ |
|
19.00 น. |
ไทย |
|
มิสซาวันคริสตมาส
(กลางคืน) |
24 ธันวาคม |
23.00 น. |
ไทย |
|
มิสซาวันคริสตมาส (ตอนเช้า) |
25 ธันวาคม |
09.00 น. |
ไทย |
|
มิสซาส่งท้ายปีเก่า |
31 ธันวาคม |
19.00 น. |
ไทย |
พิธีตื่นเฝ้า -ภาวนาชั่วโมงศักดิ์สิทธิ์และอวยพรศีลฯ20.00
น. |
มิสซาตอนรับปีใหม่ |
1 มกราคม |
09.00 น. |
ไทย |
|
ฉลองวัด |
13 พฤษภาคม |
10.00 น. |
ไทย |
เย็น 19.00 น. |
เสกสุสาน |
|
|
|
|
การเดินทาง |
ทางบก |
สาย |
หมายเหตุ |
ร ถโดยสารประจำทาง (สาย) |
61,98 |
|
รถโดยสารปรับอากาศ (สาย) |
ปอ15, 34, 73, 73ก, 168 และปอพ.4 |
|
ทางน้ำ |
สาย |
หมายเหตุ |
เรือ (สาย) |
|
|
|
แผนที่วัด