วัดนักบุญยวงบัปติสตา (วัดเจ้าเจ็ด)
คริสตังวัดเจ้าเจ็ดและวัดบ้านปลายนา คือชาวญวณที่อพยพมาจากสามเสน มาเป็นชาวประมงอยู่ทางตะวันตกของจังหวัดอยุธยา
ปี 1853 คุณพ่อยิบาร์ตา เจ้าอาวาสวัดสามเสนได้มาเยี่ยมครอบครัวคริสตังเหล่านี้
ท่านได้เทศน์เตือนใจและสั่งสอนพวกเขาให้มีความเชื่ออยู่ เสมอ ทำมิสซา และโปรดศีลศักดิ์สิทธ์ให้
โดยบันทึกไว้ในบัญชีของวัดสามเสน ในวันฉลองใหญ่มีคริสตังบางคนไปร่วมศาสนพิธีที่วัดสามเสนบ้าง
ที่วัดอยุธยาบ้าง จนถึงปี 1871 คุณพ่อยิบาร์ตารู้สึกเหน็ดเหนื่อยมาก ต้องกลับไปพักรักษาตัวที่ประเทศฝรั่งเศส
ไม่สามารถมา ดูแลคริสตังกลุ่มนี้ได้ ดังนั้นคุณพ่อแปร์โร เจ้าอาวาสวัดอยุธยาจึงรับหน้าที่เป็นผู้ดูแลคริสตังเหล่านี้แทน
ท่านได้มาเยี่ยมพวกเขาด้วยตนเองบ้าง ส่งพ่อปลัดมาบ้าง ท่านสังเกตว่าคริสตังที่เจ้าเจ็ดอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม
สะดวกแก่การสร้างวัดและดูแล จึงสร้างวัดหลังแรกขึ้นที่เจ้าเจ็ด สร้างเสร็จในปี
1874 และตั้งชื่อวัดว่า วัดนักบุญยวงบัปติสตา ส่วนบัญชีศีลศักดิ์สิทธิ์ต่างๆก็จดไว้ในบัญชีของวัดอยุธยาจนถึงปี
1893
ปี 1893 คุณพ่อแปร์โรย้ายไปเป็นเจ้าอาวาสที่วัดซางตาครู้ส คุณพ่อมิแชล โทว
ได้รับแต่งตั้งมาเป็นเจ้าอาวาสแทน และได้เปิดบัญชีของวัดเจ้าเจ็ดขึ้นตั้งแต่ปี
1893 เป็นต้นมา ท่านได้ไปเยี่ยมคริสตังที่บ้านปลายนา และในปี 1906 ได้ซื้อที่ดินแปลงหนึ่งที่บ้านปลายนา
โดยตั้งใจที่จะสร้างวัดและบ้านพักพระสงฆ์ขึ้นเพื่อ สะดวกในการอภิบาลคริสตังที่นี่
แต่คุณพ่ออาวุโสผู้นี้ได้หมดกำลังลงเสียก่อนจนต้องไปพักรักษาตัวที่กรุงเทพฯ เนื่องจากพระสงฆ์พื้นเมืองและมิชชันนารีในเวลานั้นมีน้อย
พระสังฆราชจึงแต่งตั้งให้คุณพ่อดาวิด เจ้าอาาสวัดนักบุญยอแซฟและวัดเกาะใหญ่ ให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเจ้าเจ็ด
กับดูแลคริสตังที่บ้านขนมจีน และบ้านปลายนาด้วย คุณพ่อดาวิดได้สร้างวัดบ้านปลายนาในปี
1909 ในเวลานั้นวัดบ้านปลายนาเป็นสาขาของวัดเจ้าเจ็ด และบัญชีศีลศักดิ์สิทธิ์ก็จดรวมในบัญชีของ
วัดเจ้าเจ็ด
ปี 1910 พระสังฆราชแปร์รอสได้แต่งตั้งให้คุณพ่อบรัวซาต์ ปลัดวัดอยุธยามาเป็นเจ้าอาวาสวัด
บ้านปลายนา ให้วัดบ้านปลายนาเป็นศูนย์กลาง ส่วนวัดเจ้าเจ็ดซึ่งมีคริสตังจำนวนน้อยกว่าให้เป็นสาขาของวัดบ้านปลายนา
และบัญชีศีลศักดิ์สิทธิ์ต่างๆให้จดรวมในบัญชีของวัดบ้านปลายนาจนถึงปี 1930 คุณพ่อ
บรัวซาต์มาดูแลคริสตังที่วัดเจ้าเจ็ดทุกๆอาทิตย์ ทำมิสซา แปลคำสอนให้เด็กและผู้ใหญ่
เตรียมเด็กรับศีลมหาสนิทและศีลกำลัง และได้เชิญพระสังฆราชแปร์รอสมาโปรดศีลกำลังเมื่อปี
1911 เป็นครั้งแรกท่านดูแลวัดเจ้าเจ็ดจนถึงปี 1914 และในปี 1926-1940 ท่านก็ได้กลับมาเป็นเจ้าวัดใหม่เป็นครั้งที่สอง
ปี 1930 ท่านได้รื้อวัดเ ก่าที่ คุณพ่อแปร์โรสร้างไว้ ซึ่งเก่าแก่และชำรุดทรุดโทรมมากแล้ว
และสร้างวัดใหม่โดยได้รับความช่วยเหลือจากนายแกระ ธาราศิลป์ สัตุบุรุษที่นั่น
วัดใหม่นี้ได้ทำพิธี เสกในวันที่ 24 มิถุนายน 1931 อันเป็นวันฉลองนักบุญยวงบัปติสตา
ซึ่งเป็นองค์อุปถัมภ์ของวัด โดยมีพระสังฆราชแปร์รอสเป็นผู้ทำพิธี
ในสมัยที่คุณพ่อมิแชล ส้มจีน เป็นเจ้าอาวาส (1954-1963) วันที่ 24 มิถุนายน
1956 ได้จัดให้มีการฉลอง 25 ปีของวัดหลังที่คุณพ่อบรัวซาต์ได้สร้าง โดยเชิญพระสังฆราชโชแรงมาเป็นประธาน
ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 1965 เป็นต้นมาพระสังฆราชโชแรงได้ประกาศให้วัดเจ้าเจ็ดไม่ต้องเป็นสาขาของวัดใดอีกต่อ
ไป และแต่งตั้งให้คุณพ่อปอล ยือแบง มาเป็นเจ้าอาวาส เนื่องจากอาคารเรียนหลังเก่าซึ่งคุณพ่อบรัวซาต์ได้สร้างไว้ตั้งแต่ปี
1926 นั้นเก่าและทรุดโทรมมาก ท่านจึงได้ สร้างโรงเรียนใหม่ เป็นตึกสองชั้น แล้วเปลี่ยนชื่อจากโรงเรียนนักบุญยวงบัปติสตา
มาเป็นโรงเรียนประสาทศิลป์ ทำพิธีเสกในโอกาสฉลองวัดวันที่ 24 มิถุนายน 1970 นอกจากนี้ยังได้จัดการขอไฟฟ้าเข้ามาถึงเขตวัดเจ้าเจ็ด
และจัดการถมดินสนามหน้าโรงเรียนเพื่อป้องกันน้ำท่วม คุณพ่อยือแบงปกครองดูแลวัดเจ้าเจ็ดจนถึงปี
1976 จึงย้ายไปวัดหน้าโคก
ในสมัยคุณพ่อกิตติศักดิ์ กาญจนธานินทร์ เป็นเจ้าอาวาส (1983-1989) ไ ด้รื้อวัดหลังที่คุณพ่อบรัวซาต์สร้างเพื่อเตรียมพื้นที่สำหรับการสร้างวัดใหม่
คุณพ่อได้เริ่มต้นการก่อสร้างด้วยการสร้างโรง เรียนเป็นตึก 2 ชั้นขึ้นก่อน ในเวลาเดียวกันได้ใช้หอประชุมเป็นทั้งวัดและบ้านพักพระสงฆ์ชั่วคราว
คุณพ่อประยุทธ ชลหาญ (1989-1991) ได้ปรับปรุงพื้นที่เพื่อทำเป็นสนามเด็กเล่นและจัดแนวเขตป่าช้าให้สวยงาม
คุณพ่อวิชชุกรณ์ เกตุภาพ (1991-1996) ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสในปี โครงการก่อสร้างวัดใหม่ได้เริ่มต้นขึ้น
คุณพ่อได้พยายามปรับปรุงการบริหารงาน โรงเรียนอย่างเต็มที่ รวมทั้งเอาใจใส่งานอภิบาลโดยเฉพาะงานด้านเยาวชน
คุณพ่อปรีชา รุจิพงษ์ (1998-2002) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ปัจจุบันย้ายไปดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดอัครเทวดาราฟาแอล
ปากน้ำ
คุณพ่อสมเกียรติ บุญอนันตบุตร (2002- ปัจจุบัน) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน
ตารางเวลาพิธีกรรม
พิธีกรรม |
วัน/เดือน |
เวลา |
ภาษา |
หมายเหตุ |
มิสซาเช้า (วันธรรมดา) |
จันทร์, อังคาร,พุธ |
06.00 น. |
ไทย |
|
มิสซาเย็น (วันธรรมดา) |
พฤหัสบดี,ศุกร์,เสาร์ |
17.00 น. |
ไทย |
|
พิธีนพวาร (วันธรรมดา) |
เสาร์ |
17.00 น. |
ไทย |
|
มิสซาศุกร์ต้นเดือน |
|
17.00 น. |
ไทย |
|
พิธีแห่แม่พระ |
|
|
|
|
มิสซาที่ 1 (วันอาทิตย์) |
|
06.00 น. |
ไทย |
|
มิสซาที่ 2 (วันอาทิตย์) |
|
08.00 น. |
ไทย |
|
มิสซาที่ 3 (วันอาทิตย์) |
|
|
|
|
มิสซาที่ 4 (วันอาทิตย์) |
|
|
|
|
มิสซาที่ 5 (วันอาทิตย์) |
|
|
|
|
มิสซาที่ 6 (วันอาทิตย์) |
|
|
|
|
การเดินรูป 14 ภาคในเทศกาลมหาพรต |
|
17.00 น. |
ไทย |
|
วันพฤหัสศักดิ์สิทธิ์ |
|
19.00 น. |
ไทย |
|
วันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ |
|
19.00 น. |
ไทย |
|
วันเสาร์ศักดิ์สิทธิ์ |
|
19.00 น. |
ไทย |
|
มิสซาวันคริสตมาส
(กลางคืน) |
24 ธันวาคม |
22.00 น. |
ไทย |
|
มิสซาวันคริสตมาส (ตอนเช้า) |
25 ธันวาคม |
09.00 น. |
ไทย |
|
มิสซาส่งท้ายปีเก่า |
31 ธันวาคม |
22.00 น. |
ไทย |
|
มิสซาตอนรับปีใหม่ |
1 มกราคม |
09.00 น. |
ไทย |
|
ฉลองวัด |
เสาร์ที่ 4ของเดือน มิ.ย. |
10.30 น. |
ไทย |
|
เสกสุสาน |
31 ธ.ค. |
16.00 น. |
ไทย |
|
การเดินทาง |
ทางบก |
สาย |
หมายเหตุ |
รถโดยสารประจำทาง (สาย) |
|
|
รถโดยสารปรับอากาศ (สาย) |
|
|
ทางน้ำ |
สาย |
หมายเหตุ |
เรือสาย |
|
|
แผนที่วัด