วัดแม่พระประจักษ์เมืองลูร์ด บางสะแก
ในปี ค.ศ.1900 คุณพ่อแดซาลส์เจ้าอาวาสวัดกาลหว่าร์ ได้ไปบุกเบิกซื้อที่ดินที่บางสะแกซึ่งในเวลานั้น
พื้นที่บริเวณนี้เป็นสวนผลไม้ ร่มรื่นและอุดมสมบูรณ์ ทางรถไฟสายมหาชัย-วงเวียนใหญ่ยังไม่ตัดผ่าน
การคมนาคมที่สะดวกและใช้กันประจำคือทางแม่น้ำลำคลอง พาหนะคือเรือสองแจว ในปี
1901 ท่านได้สร้างโรงสวดแรกขึ้นที่นี่ในที่ดินของคริสตังผู้หนึ่งคือ คุณตาเคี้ยง
โรงสวดสร้างด้วยไม้ไผ่ขัดแตะเรือนสูง หลังคามุงจาก (ปัจจุบันคือบริเวณด้านของหลังโรงเรียนแม่พระ)
เนื่องจากคุณพ่อแดซาลส์มีงานที่ต้องทำมากมาย นอกจากการดูแลวัดต่างๆ ที่เป็นสาขาของวัดกาลหว่าร์แล้ว
ที่วัดกาลหว่าร์เองก็มีองค์กรการสงเคราะห์เด็ก มีการแปลคำสอน โปรดศีลล้างบาปให้คนชราในโรงพยาบาลจีน
มีสถานเลี้ยงเด็กกำพร้าสตรี โรงสอนคำสอนสำหรับสตรี ดังนั้นในปี 1903 ท่านยังไม่ทันจะจัดตั้งวัดบางสะแกให้มั่นคงถาวร
ก็เกิดล้มป่วยต้องเดินทางกลับไปพักรักษาตัวที่ประเทศฝรั่งเศสบ้านเกิดเมืองนอน
ต่อมาในปี 1906 ท่านได้เดินทางกลับมาเมืองไทยพร้อมกับความมุ่งมั่นที่จะจัดทำโครงการต่างๆ
ของท่านให้สำเร็จและรุดหน้าต่อไป โดยเฉพาะที่วัดบางสะแก แต่แล้วในปี 1907 ท่านต้องละทิ้งโครงการทั้งหมดที่ตั้งใจไว้
ละทิ้งวัดสุดที่รักของท่านอย่างกระทันหัน พร้อมกับคุณพ่อที่ขยันที่สุดอีก 3 องค์
คือ คุณพ่อริชารด์, คุณพ่อเปริกัล และคุณพ่อซัลม็อง อันเนื่องมาจากพินัยกรรมของคุณพ่อแก็นตริก
ในเวลานั้นวัดบางสะแกอยู่ในสภาพที่น่าสมเพช นานๆทีจึงจะมีพ่อปลัดจากวัดกาลหว่าร์มาเยี่ยมสักครั้ง
คริสตังที่นี่จะไปร่วมฟังมิสซาที่วัดกาลหว่าร์ก็ยากลำบาก มีเด็กๆหลายคนไม่ได้รับศีลล้างบาปและส่วนมากก็ไม่ได้เรียนคำสอน
ตั้งแต่ปี 1919-1928 พระสังฆราชแปร์รอสเห็นว่าวัดกาลหว่าร์มีพระสงฆ์ไม่พอกับความต้องการของสัตบุรุษ
จึงไม่สามารถส่งพ่อปลัดไปดูแลวัดบางสะแกได้ ดังนั้นพระคุณเจ้าจึงให้คุณพ่อฮุย
เจ้าอาวาสวัดคอนเซปชัญ รับหน้าที่ไปดูแลวัดบางสะแกและวัดบางเชือกหนังด้วยเหตุการณ์เป็นเช่นนี้จนถึงปี
1942
วันที่ 8 มกราคม 1942 เครื่องบินบี 52 ของสัมพันธมิตรมาทิ้งระเบิดที่กรุงเทพฯเป็นครั้งแรกและกลับมาทิ้งอีกหลายครั้ง
เป็นเหตุให้ผู้คนที่อาศัยอยู่ ในกรุงเทพฯต้องอพยพหนีไปหาที่หลบภัยตามชนบทเป็นจำนวนมาก
มีคริสตังหลายร้อยคนได้อพยพไปหลบภัยที่บางสะแก ในปีนั้นเอง คุณพ่อโอลลิเอร์ เจ้าอาวาสวัดกาลหว่าร์และเป็นผู้ดูแลวัดบางสะแกด้วย
ได้สร้างวัดใหม่แทนโรงสวดเดิมของคุณพ่อแดซาลส์ซึ่งเล็กเกินไปและชำรุดมากแล้ว
โดยย้ายจากที่เดิมมาสร้างในที่ดิน ของวัด วัดหลังที่สองนี้เป็นเรือนไม้เตี้ยๆหลังคามุงสังกะสีอีกครึ่งหนึ่งมุงด้วยใบจาก
เนื่องจากงบประมาณมีไม่พอและในสมัยนั้นวัสดุก่อสร้างต่างๆมีราคาแพง เพราะอยู่ในภาวะสงครามจึงไม่สามารถสร้างให้สวยงามกว่านี้ได้
เมื่อสร้างวัดเสร็จท่านได้ส่งพ่อปลัดมาดูแลและทำมิสซาทุกวันอาทิตย์ เมื่อสงครามสงบลงแล้วในปี
1945 คริสตังวัดกาลหว่าร์ก็อพยพกลับกรุงเทพฯ ทำให้วัดบางสะแกเงียบเหงาและน่าสมเพชอย่างเดิม
เนื่องจากมีพ่อปลัดจากวัดกาลหว่าร์มาทำมิสซาให้เดือนละครั้ง คริสตังที่นี่จึงไม่ค่อยมีโอกาสได้เรียนคำสอน
คุณพ่อราแปง ปลัดวัดกาลหว่าร์ที่มาดูแลบางสะแกในระหว่างปี 1956-1958 ท่านรู้สึกรักและสงสารคริสตังที่บางสะแก
คิดถึงคริสตังที่ไม่มีโอกาสได้เรียนคำสอน คิดถึงเด็กๆที่ยังไม่ได้รับศีลล้างบาป
ท่านจึงตั้งใจและขอแม่พระเมืองลูร์ดช่วยบันดาลให้ท่านได้มีโอกาสมาอยู่ที่บางสะแก
ต่อมาในปี 1958 ท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดกาลหว่าร์ต่อจากคุณพ่ออาแมสตอย
ท่านยังคิดถึงความตั้งใจเดิมของท่านในการที่จะเป็นเจ้าอาวาสวัด บางสะแกให้ได้
ในปี 1962 คุณพ่อราแปงเริ่มสร้างบ้านพักพระสงฆ์ใหม่แทนหลังเดิมที่คุณพ่อโอลลิเอร์สร้างไว้
ในเดือนธันวาคม ได้เปิดบัญชีศีลล้างบาปของวัดบางสะแกโดยไม่ต้องใช้บัญชีของวัดกาลหว่าร์อีกต่อไป
และส่วนใหญ่ท่านก็มาอยู่วัดบางสะแกมากกว่าวัดกาลหว่าร์ ซึ่งท่านเป็นเจ้าอาวาสอยู่
ในปีนี้เองคุณพ่อราแปง ได้เริ่มสร้างวัดใหม่ (หลังปัจจุบัน) สร้างเสร็จในปี 1963ทำพิธีเสกในวันที่
8 มกราคม 1964 โดยพระสังฆราชหลุยส์ โชแรง และตั้งชื่อวัดนี้ว่า "วัดแม่พระประจักษ์
เมืองลูร์ด" ในเวลานั้นวัดนี้มีคริสตังประมาณ 150 คน
ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 1965 คุณพ่อราแปงได้พ้นจากการเป็นเจ้าอาวาสวัดกาลหว่าร์
และในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 1965 เป็นวันฉลองวัด พระคุณเจ้าหลุยส์ โชแรง ได้ประกาศให้วัดบางสะแกไม่ต้องขึ้นกับวัดใดอีกต่อไป
พร้อมกับแต่งตั้งคุณพ่อราแปงเป็นเจ้าอาวาสวัดบางสะแกองค์แรก
โรงเรียนเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับหมู่บ้าน เด็กๆจะได้รับการอบรม การศึกษาและเรียนคำสอนและเพื่อดึงดูดคริสตังให้เข้ามาอยู่ในหมู่บ้าน
ดังนั้นในปี 1965 คุณพ่อราแปงได้จัดแบ่งที่ของวัดออกเป็นล็อกๆให้คริสตังมาเช่าปลูกบ้าน
ในวันที่28 เมษายน1965 ท่านได้สร้างโรงเรียนและเปิดทำการสอนโดยใช้ชื่อว่า"โรงเรียน
แม่พระประจักษ์" ท่านเป็นเจ้าอาวาสอยู่จนถึงปี 1970 จึงย้ายไปทำงานแพร่ธรรมในมิสซังนครสวรรค์
ในปี 1970 คุณพ่อฟอร์แตง ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสองค์ ท่านได้บูรณะวัดและโรงเรียนพร้อมกับขยายโรงเรียนให้เจริญขึ้นโดยก่อสร้างอาคารเรียน
เพิ่มเติม ท่านแวัดนี้จนถึงปี 1976 ก็ย้ายไปเป็นปลัดวัดแม่พระฟาติมา ดินแดง
คุณพ่อสุเทพ พงษ์วิรัชไชย(1976-1979) มาเป็นเจ้าอาวาสในปี 1976 ได้จัดตั้งกลุ่มเยาวชน
และสภาอภิบาลเพื่อให้สัตบุรุษได้มีส่วนในการรับผิดชอบดูแลวัด และช่วยแบ่งเบาภาระหน้าที่ของพระสงฆ์ในการแพร่ธรรมท่านปกครองดูแลวัดบางสะแกจนถึงปี
1979 ก็ย้ายไปเป็นเจ้าอาวาสวัดบางเชือกหนัง คุณพ่อพิบูลย์ วิสิฐนนทชัย (1979-1983)เป็นเจ้าอาวาสองค์
แล้วย้ายไปเป็นอธิการบ้านบ้านเณรยอแซฟ สามพราน
คุณพ่อไพฑูรย์ หอมจินดา (1983-1988 )เป็นเจ้าอาวาส
คุณพ่อธวัช พันธุมจินดา (1988-1991)เป็นเจ้าอาวาส
คุณพ่อสมพร เส็งเจริญ (1991-1994)เป็นเจ้าอาวาส และได้ริเริ่มสำรวจโรงเรียนของวัดเพื่อดำเนินการปรับปรุงและเตรียมจัดสร้างอาคารเรียนใหม่ต่อไป
คุณพ่อบัณฑิต ประจงกิจ (1994-1998) เป็นเจ้าอาวาส
คุณพ่อศักดิ์ชัย ทรัพย์อัปประไมย(1999-2000) เป็นเจ้าอาวาส
คุณพ่อศุภศิลป์ สุขสุศิลป์ (พฤษภาคม 1999 2004 ) เป็นเจ้าอาวาส
คุณพ่อศุภกิจ เลิศจิตรเลขา ( 10 พฤษภาคม 2004 - ปัจจุบัน ) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน
ผู้ช่วยเจ้าอาวาส
คุณพ่อประทีป สุทธินาวิน
ตารางเวลาพิธีกรรม
|
พิธีกรรม |
วัน/เดือน |
เวลา |
ภาษา |
หมายเหตุ |
มิสซาเช้า
(วันธรรมดา) |
พุธ |
06.30 น. |
ไทย |
|
มิสซาเย็น
(วันธรรมดา) |
จันทร์-ศุกร์ |
19.15 น. |
ไทย |
|
พิธีนพวาร
(วันธรรมดา) |
เสาร์ |
19.15 น. |
ไทย |
|
มิสซาศุกร์ต้นเดือนทุกเดือน |
|
19.15 น. |
ไทย |
|
พิธีแห่แม่พระ |
เสาร์ต้นเดือน |
19.15 น. |
ไทย |
|
มิสซาที่ 1 (วันอาทิตย์) |
|
07.15 น. |
ไทย |
|
มิสซาที่ 2 (วันอาทิตย์) |
|
19.15น. |
ไทย |
|
มิสซาที่ 3 (วันอาทิตย์) |
|
19.15 น. |
ไทย |
|
มิสซาที่ 4 (วันอาทิตย์) |
|
|
|
|
มิสซาที่ 5 (วันอาทิตย์) |
|
|
|
|
มิสซาที่ 6 (วันอาทิตย์) |
|
|
|
|
การเดินรูป 14 ภาคในเทศกาลมหาพรต |
ศุกร์-อาทิตย์ |
|
ไทย/จีน |
วันอาทิตย์หลังมิสซาสาย,หลังมิสซาค่ำ |
วันพฤหัสศักดิ์สิทธิ์ |
|
19.15 น. |
ไทย |
|
วันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ |
|
19.15 น. |
ไทย |
|
วันเสาร์ศักดิ์สิทธิ์ |
|
19.15 น. |
ไทย |
|
มิสซาวันคริสตมาส
(กลางคืน) |
24 ธันวาคม |
23.00 น. |
ไทย |
|
มิสซาวันคริสตมาส (ตอนเช้า) |
25 ธันวาคม |
09.15 น. |
ไทย |
|
มิสซาส่งท้ายปีเก่า |
31 ธันวาคม |
19.15 น. |
ไทย |
|
มิสซาตอนรับปีใหม่ |
1 มกราคม |
09.15 น. |
ไทย |
|
ฉลองวัด |
|
10.30 น. |
ไทย |
วันอาทิตย์ก่อน 12 ก.พ. |
เสกสุสาน |
อาทิตย์แรกต้น
เดือน พ.ย. |
09.15 น. |
ไทย |
หลังมิสซาสาย |
การเดินทาง |
ทางบก |
สาย |
หมายเหตุ |
รถโดยสารประจำทาง (สาย) |
|
|
รถโดยสารปรับอากาศ (สาย) |
|
|
ทางน้ำ |
สาย |
หมายเหตุ |
เรือ (สาย) |
|
|
|