วัดธรรมาสน์นักบุญเปโตร บางเชือกหนัง
คุณพ่อแดซาลส์ เจ้าอาวาสวัดกาลหว่าร์ได้มาสำรวจพื้นที่บริเวณบางเชือกหนัง สำหรับเป็นที่ก่อตั้งกลุ่มคริสตชนใหม่
และในปี 1885 ท่านได้ส่งคุณพ่อกียูปลัดของท่านมาบุกเบิก และได้สร้างโรงสวดแรกด้วยไม้ไผ่
ต่อมาในปี 1888 คุณพ่อกิโยม กิ๊น ดาครู้ส ปลัด วัดกาลหว่าร์ ได้มาดูแลคริสตังที่นี่ต่อจากคุณพ่อกิยูซึ่งย้ายไปประจำที่วัดบางปลาสร้อย
และในปี 1889 คุณพ่อแดซาลส์ก็ได้สร้างบ้านพักพระสงฆ์ และวัดไม้ขึ้นยกถวายแด่พระตรีเอกภาพ
วัดนี้จึงใช้ชื่อว่า "วัดพระตรีเอกานุภาพ" ตั้งแต่นั้นมาพร้อมกับส่งพ่อปลัดมาปกครองดูแลบรรดาคริสตังที่บางเชือกหนังนี้ตลอดมาในฐานะเจ้าอาวาส
ในระหว่างปี1907-1910คุณพ่อเอเตียน (แอสเตวัง) ปลัดวัดกาลหว่าร์ได้มาปกครองดูแลวัดบางเชือกหนัง
และได้เปิดบัญชีศีลล้างบาปของวัดบางเชือกหนังขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 1910 เนื่องจากการแพร่พระวรสารในสมัยนั้นกำลังขยายตัว
พระสงฆ์มิชชันนารีและพระสงฆ์พื้นเมืองมีไม่เพียงพอพระสงฆ์องค์หนึ่งต้องปกครองดูแลหลายวัด
ดังนั้นในระหว่างปี 1917-1918 คุณพ่อกียูเจ้าอาวาสวัดกาลหว่าร์ จึงต้องมาดูแลสัตบุรุษที่วัดบางเชือกหนังด้วยตนเอง
ในระหว่างที่เกิด สงครามโลกครั้งที่ 1 บรรดามิชชันนารีต้องเดินทางกลับประเทศของตนเพื่อช่วยเหลือประเทศชาติตามกฎหมาย
เหตุนี้เองงานแพร่ธรรมในสยามจึงมีความยากลำบากมากขึ้นเป็นหลายเท่า หลังจากที่มิชชันนารีฝรั่งเศสกลับมาแล้ว
วัดคอนเซปชัญก็ยังขาดเจ้าอาวาส คุณพ่อฮุย ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดคอนเซปชัญ
และดูแลปกครองคริสตังที่วัดบางสะแก และวัดบางเชือกหนังด้วย คุณพ่อฮุยได้มาปกครองดูแลวัดบางเชือกหนังเป็นเวลานานถึง
10 ปี
คุณพ่อฮุยได้สร้างความเจริญก้าวหน้าให้แก่วัดบางเชือกหนังมิใช่น้อยนอกจากการดูแลวัดและอภิบาลสัตบุรุษแล้ว
ท่านเห็นว่าการศึกษาเป็นสิ่งสำคัญสำหรับ เด็กๆในหมู่บ้านซึ่งเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ
ดังนั้นท่านจึงได้สร้างโรงเรียนขึ้นหลังหนึ่ง ตั้งชื่อว่า "โรงเรียนพระตรีเอกานุภาพ"
สอนตั้งแต่ชั้น ป.1-ป.4 โรงเรียนหลังนี้พระสังฆราชแปร์รอสได้ทำพิธีเสกในโอกาสที่มาโปรดศีลกำลัง
คุณพ่อฮุยดูแลวัดบางเชือกหนังจนถึงปี 1928ท่านก็ป่วยด้วยโรคหัวใจและสิ้นใจที่โรงพยาบาล
เซนต์หลุยส์ในวันที่ 24 กรกฎาคม 1928
ในปี1929 พระสังฆราชแปร์รอสได้แต่งตั้งคุณพ่อปาสกัลเป็นเจ้าอาวาสมาดูแลวัดบางเชือกหนังในปี1933
คุณพ่อปาสกัลล้มป่วยจนไม่สามารถทำหน้าที่ได้ คุณพ่อนิโกเลา ชุนกิม กิจบำรุง ได้มาดูแลแทน
คุณพ่อปาสกัลเสียชีวิตในปี 1935 หลังจากนั้นพระสังฆราชแปร์รอสได้มอบวัดบางเชือกหนังให้อยู่ภายใต้การดูแลของวัดคอนเซปชัญ
ดังนั้นคุณพ่ออังเดร พลอย โรจนเสน เจ้าอาวาสจึงเป็นผู้มาดูแลวัดบางเชือกหนัง
เนื่องจากคุณพ่ออังเดรมีงานที่ต้องรับผิดชอบมาก ท่านจึงได้ส่งปลัด ของท่านมาดูแลแทนได้แก่
คุณพ่อเฟรเดริก, คุณพ่ออัมบรอซิโอ (กิ๊น), คุณพ่อเซแลสติโน และคุณพ่อราฟาแอล
บุญมี รักสงบ ในปี 1935 มิสซังฯ ได้แต่งตั้งคุณพ่อ เฟรเดริก เป็นผู้ดูแลวัดบางเชือกหนัง
คุณพ่อได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนใหม่โดยใช้ชื่อว่า "โรงเรียนตรีจิตวิทยา"เปิดสอนทั้งภาษาไทยและจีน
ในปี 1940 คุณพ่อและสัตบุรุษที่นี่ได้ร่วมกันจัดฉลองสมโภชวัดครบรอบ 50 ปี เนื่องจากสุขภาพของคุณพ่อไม่ค่อยแข็งแรงป่วยบ่อยๆ
ดังนั้นในระหว่างปี 1948-1949 คุณพ่อมาร์แซล เจ้าอาวาสวัดคอนเซปชัญ จึงได้มาช่วยงานที่วัดบางเชือกหนัง
และในปี 1951 คุณพ่อเฟรเดริกได้ล้มป่วยลงอีก คุณพ่อบอนิฟาส จึงมารักษาการณ์แทน
คุณพ่อเฟรเดริกปกครองดูแลวัดบางเชือกหนังจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 1951 รวมเวลาทั้งสิ้น
16 ปี นับเป็นพระสงฆ์ที่ปกครองวัดนี้นานที่สุด
ในเดือนสิงหาคม 1951 นี้เองพระสังฆราชหลุยส์ โชแรงได้สั่งปิดวัดบางเชือกหนัง
เมื่อพระคุณเจ้าเห็นว่าถึงเวลาอันสมควรที่จะต้องเปิดวัด เพื่อเห็นแก่ความเชื่อของสัตบุรุษวัดนี้
ดังนั้นในเดือนตุลาคม 1951 คุณพ่อวิกตอร์ ลารเก จึงได้รับการแต่งตั้งให้มาเปิดวัดและเตรียมต้อนรับเจ้าอาวาสองค์ใหม่ด้วย
ในเดือน มกราคม 1952 วัดบางเชือกหนังได้มีโอกาสต้อนรับคุณพ่อเจ้าอาวาสองค์ใหม่
คือคุณพ่อวิลเลียม ตัน และนับแต่นี้ไปวัดบางเชือกหนังไม่ต้องขึ้นกับวัดใดอีกต่อไป
แต่มีเจ้าอาวาสที่ได้รับการแต่งตั้งจากพระสังฆราชมาปกครองโดยตรง ดังนั้นคุณพ่อวิลเลียมจึงนับเป็นเจ้าอาวาสองค์แรกของวัดบางเชือกหนัง
นอกจาก การดูแลเอาใจใส่สัตบุรุษของท่านแล้ว คุณพ่อยังได้นำความเจริญมาสู่บางเชือกหนังมิใช่น้อย
ท่านได้ต่อระเบียงวัดสองข้าง, สร้างสะพานข้ามคลองหน้าวัดใหม่, ส่งเสริมอาชีพให้สัตบุรุษที่นี่
คุณพ่อได้ปกครองวัดนี้จนถึงปี 1953 ก็ย้ายไปเป็นปลัดวัดอัสสัมชัญ
ในเดือนตุลาคม 1953 คุณพ่อเปรดาญ ก็ได้รับแต่งตั้งให้มาเป็นเจ้าอาวาสองค์ที่สอง
ของวัดบางเชือกหนัง โครงการที่สำคัญโครงการหนึ่งของคุณพ่อวิลเลียม คือ โครงการก่อสร้างวัดใหม่แทนวัดหลังเก่าที่ชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา
คุณพ่อได้เริ่มลงมือการก่อสร้างโดยหาซื้อไม้มาเพื่อใช้ในการก่อสร้าง หลังจากนั้นก็ลงมือขุดหลุมตีเข็มวัดใหม่
การก่อสร้างใช้เวลาประมาณ 10 เดือน ในที่สุดการก่อสร้างวัดใหม่ก็สำเร็จลงด้วยดี
โดยได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี ทั้งจากสัตบุรุษชาวบางเชือกหนังเอง และจากเพื่อนพระสงฆ์ด้วยกัน
และเพื่อเป็นเกียรติแด่คุณพ่อผู้สร้างวัดนี้ซึ่งมีศาสนนามนักบุญเปโตร และเพื่อมิให้ชื่อวัด
นักบุญเปโตรไปซ้ำซ้อนกับชื่อของวัดอื่นที่มีนามนี้อยู่แล้ว จึงยกถวายแด่นักบุญเปโตรนี่งบัลลังก์
นามวัดใหม่จึงเป็น "วัดธรรมมาสน์นักบุญเปโตร" และทำการเสก ในวันที่
18 มกราม 1955 อีก 2 ปีต่อมาคุณพ่อเปรดาญก็ได้สร้างบ้านพักพระสงฆ์คือหลังปัจจุบัน
นอกจากนี้ยังได้สร้างโรงเรียนหลังใหม่ขึ้นดดยใช้ไม ้และวัสดุ จากวัดเก่า พร้อมกับเปลี่ยนชื่อโรงเรียนตรีจิตวิทยา
มาเป็น "โรงเรียนตรีมิตรวิทยา" คุณพ่อ ปกครองดูแลวัดนี้จนถึงปี 1959
ก็เดินทางกลับประเทศฝรั่งเศส
คุณพ่อลออ สังขรัตน์ (1959 1966) ได้เป็นเจ้าอาวาสองค์ต่อมาในปี 1959 คุณพ่อได้ทำม้านั่ง
และติดพัดลมภายในวัด ย้ายสุสานไปไว้ในที่ใหม่ เพื่อให้ ดูสวยงามและเป็นระเบียบเรียบร้อยขึ้น
ได้เป็นผู้ติดต่อไฟฟ้าเข้ามาในหมู่บ้าน นอกจากนี้ยังได้ดูแลเอาใจใส่ทางด้านวิญญาณของสัตบุรุษเป็นอย่างดี
คุณพ่อดูแลวัดบางเชือกหนังจนถึงปี 1966 ก็ย้ายไปเป็นเจ้าอาวาสที่ปากลัด
เจ้าอาวาสองค์ต่อมาคือ
คุณพ่อถาวร กิจสกุล ท่านได้เริ่มงานปรับปรุงวัดและโรงเรียน โดยมุ่งเน้นด้นจิตใจเป็นสำคัญ
ต่อจากคุณพ่อถาวรแล้วชาวบางเชือกหนังก็ได้มีโอกาสต้อนรับ เจ้าอาวาสใหม่ทุกปี
คือ
คุณพ่อเสวียง ศุระศรางค์
คุณพ่อประมวล พุฒตาลศรี
คุณพ่อสานิจ สถะวีระวงส์
คุณพ่อทุกท่านก็ได้พยายามเน้นทางด้านจิตใจของสัตบุรุษที่นี่อย่างสม่ำเสมอ
ในปี 1976 คุณพ่อยัง ฮาแบสโตร พระสงฆ์คณะ O.M.I. ได้รับการแต่งตั้งให้มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสที่นี่
คุณพ่อได้ดูแลวัดนี้เป็นเวลา 3 ปี เนื่องจาก คุณพ่อมีภาระกิจมากรวมทั้งแนวทางในการปกครองก็แตกต่างจากพระสงฆ์ไทย
จึงเกิดความไม่เข้าใจกันขึ้นระหว่างคุณพ่อและสัตบุรุษ ในที่สุดเหตุการณ์รุนแรงมากขึ้น
พระคุณเจ้ามีชัย กิจบุญชู ประมุขมิสซังฯ ได้สั่งให้ปิดวัดชั่วคราวเพื่อมิให้สถานการณ์บานปลายต่อไป
ในปี 1979 พระคุณเจ้าได้แต่งตั้งให้
คุณพ่อสุเทพ พงษ์วิรัชไชย(1979 1983) มาเป็นเจ้าอาวาสซึ่งคุณพ่อได้ประจำอยู่ที่วัดนี้นาน
4 ปี คุณพ่อได้จัดทำระเบียบการเช่าที่ดินของวัด รวมทั้ง ได้เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งมูลนิธิตรีมิตรวิทยา
เพื่อช่วยเหลือเด็กนักเรียนที่ยากจน จนถึงปี 1983 คุณพ่อได้ย้ายไปเป็นเจ้าอาวาสวัดนักบุญเปโตร
สามพราน
เจ้าอาวาสองค์ต่อมาคือ
คุณพ่อบัณฑิต ปรีชาวุฒิ (1983-1985)
คุณพ่อสุทศ ประมวลพร้อม (1985-1989) ในสมัยนี้คุณพ่อสุทศได้จัดสร้างเขื่อนขึ้นหลายเขื่อนด้วยกัน
เพื่อรักษาที่ดินของวัดไว้
คุณพ่อชัชวาล ศุภลักษณ ์(1989-1990) ได้ร่วมมือกับสัตบุรุษกลุ่มหนึ่งก่อตั้งคณะอาสาสมัครดูแลหมู่บ้านขึ้นมา
พร้อมทั้งได้จัดการบริหารโรงเรียนขึ้นใหม่ด้วย
คุณพ่อสุรชัย ชุ่มศรีพันธุ์ (1990 1993) ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสในปี 1990
โครงการที่สำคัญของวัดซึ่งมีการริเริ่มมานานแล้วตั้งแต่สมัยคุณพ่อสุเทพ เป็นเจ้าอาวาส
ได้รับการพิจารณาจากอัครสังฆมณฑล ในวันที่ 24 พฤศจิกายน 1991 ทางวัดได้เริ่มลงมือถมดินในที่ดินสองแปลงเพื่อเตรียมทางนำเข้าไปสู่การสร้างวัดในสวนต่อไป
คุณพ่ออดิศักดิ์ สมแสงสรวง(1993 1998)เป็นเจ้าอาวาส
คุณพ่อธีรวัฒน์ เสนางค์นารถ (1999 2002) เป็นเจ้าอาวาส
คุณพ่อ สำรวย กิจสำเร็จ(2003-ปัจจุบัน)ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน
ผู้ช่วยเจ้าอาวาส
คุณพ่อนิพนธ์ สิริวราวุธ
ตารางเวลาพิธีกรรม
พิธีกรรม |
วัน/เดือน |
เวลา |
ภาษา |
หมายเหตุ |
มิสซาเช้า (วันธรรมดา) |
จันทร์,พุธ,ศุกร์ |
06.30 น. |
ไทย |
ไม่ใช่ศุกร์ต้นเดือน |
มิสซาเย็น (วันธรรมดา) |
อังคาร,พฤหัสบดี,
ศุกร์ ต้นเดือน |
19.00 น. |
ไทย |
|
พิธีนพวาร (วันธรรมดา) |
เสาร์ |
19.00 น. |
ไทย |
|
มิสซาศุกร์ต้นเดือน |
ศุกร์ |
19.00 น. |
ไทย |
|
พิธีแห่แม่พระ |
|
31 ต.ค.
19.00 น. |
ไทย |
ปิดเดือนแม่พระ,
แห่รอบหมู่บ้าน |
มิสซาที่ 1 (วันอาทิตย์) |
|
06.30 น. |
ไทย |
|
มิสซาที่ 2 (วันอาทิตย์) |
|
08.45 น. |
ไทย |
|
มิสซาที่ 3 (วันอาทิตย์) |
|
19.00 น. |
ไทย |
|
มิสซาที่ 4 (วันอาทิตย์) |
|
|
|
|
มิสซาที่ 5 (วันอาทิตย์) |
|
|
|
|
มิสซาที่ 6 (วันอาทิตย์) |
|
|
|
|
การเดินรูป 14 ภาคในเทศกาลมหาพรต |
ทุกวันเสาร์/อาทิตย์ |
18.40 น. |
|
|
วันพฤหัสศักดิ์สิทธิ์ |
|
19.00 น. |
|
|
วันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ |
|
19.00 น. |
|
|
วันเสาร์ศักดิ์สิทธิ์ |
|
19.00 น. |
|
|
มิสซาวันคริสตมาส (กลางคืน) |
24 ธันวาคม |
24.00 น. |
|
|
มิสซาวันคริสตมาส (ตอนเช้า) |
25 ธันวาคม |
09.00 น. |
|
|
มิสซาส่งท้ายปีเก่า |
31 ธันวาคม |
19.00 น. |
|
ถ้าตรงกับวันธรรมดา |
มิสซาตอนรับปีใหม่ |
1 มกราคม |
09.00 น. |
|
|
ฉลองวัด |
24 ก.พ. |
10.00 น. |
|
วันอาทิตย์หลังตรุษจีน |
เสกสุสาน |
|
|
|
|
การเดินทาง |
ทางบก |
สาย |
หมายเหตุ |
รถโดยสารประจำทาง (สาย) |
108, 81,91,84,80,101,103,57 |
ต่อรถสองแถว มะพร้าวเตี้ย
และ รถวัดจันทร์ |
รถโดยสารปรับอากาศ (สาย) |
ปอ.10, ปอ48, ปอ9 |
|
ทางน้ำ |
สาย |
หมายเหตุ |
เรือ (สาย) |
ตลาดบางแค - สี่แยกบางแวก
ปากคลองตลาด - คลองบางเชือกหนัง |
|
แผนที่วัด