วัดพระแม่สกลสงเคราะห์ บางบัวทอง
มีครอบครัวจากสามเสน อพยพมาทำมาหากินแถบตลาดบางบัวทอง ในปี 1918 คุณพ่อแฟร์เลย์
ได้มีโอกาสโปรดศีลล้างบาป แก่พวกเขา ต่อมาคุณพ่อบรัวซาต์ได้มาเยี่ยมพวกเขาเป็นประจำ
และเปิดบัญชีศีลล้างบาปของบางบัวทองตั้งแต่ปี 1920
ปี 1924 คุณพ่อบรัวซาต์เห็นว่า มีคริสตังอยู่กระจัดกระจายทั่วไปในตลาดเป็นจำนวนพอสมควรแล้ว
ท่านจึงจัดการซื้อที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งของวัดบางบัวทองในปัจจุบัน และซื้อห้องแถวหลังหนึ่งในบริเวณตลาดเพื่อใช้เป็นวัด
และสอนคำสอนให้แก่เด็กคริสตังพร้อมทั้ง เปิดเป็นโรงเรียนสอนเด็กชาย ท่านได้สร้างโรงเรียนหญิงในที่ดินที่ได้ซื้อไว้
และตั้งชื่อโรงเรียนว่า "โรงเรียนแม่พระสกลสงเคราะห์" ให้อยู่ในความดูแลของภคินีที่สามเสน
เวลานั้นในเขตตลาดบางบัวทองยังไม่มีโรงเรียน สำหรับเด็กหญิงเลยพร้อมกับเตรียมย้ายโรงเรียนเด็กชายจากตลาดมาอยู่
ในที่ดินของวัด ในปี 1925 ท่านค่อยๆ ซื้อไม้เพื่อเตรียมจะสร้างวัด "แม่พระสกลสงเคราะห์"
แต่ยังไม่ทันได้สร้างท่านก็ได้รับคำสั่งให้ย้ายไปเป็นเจ้าอาวาสที่บ้านปลายนาในเดือนมิถุนายนปี
1926
คุณพ่อตาปีเจ้าอาวาสวัดสามเสนองค์ต่อมา รับหน้าที่ดูแลคริสตังที่บางบัวทองต่อจากคุณพ่อบรัวซาต์งานชิ้นแรกที่ลงมือทำเมื่อมาถึงบางบัวทองก็คือ
ท่านได้สร้างอาคารไม้หลังยาว 2 ชั้น อาคารนี้สร้างด้วยไม้สัก ใต้ถุนสูง มีเสาปูนขนาดใหญ่หล่อขึ้นเองเป็นตอหม้อ
มีระเบียงรอบ 3 ด้าน ชั้นล่างใช้เป็นห้องเรียนเพื่อขยาย โรงเรียนเดิมของคุณพ่อบรัวซาต์
มีบันใดทางด้านขวามือขึ้นไปชั้นบนซึ่งใช้เป็นวัดรูปวัดหันหน้าเช่นเดียวกับหลังปัจจุบัน
แต่มีหอระฆังแยกปลูกต่างหากทางด้านซ้าย มือ วัดหลังนี้ได้ทำพิธีเสกเมื่อวันที่
20 กุมภาพันธ์ 1927 โดยพระสังฆราชเรอเน แปร์รอสให้อยู่ในความอารักขาของ แม่พระสกลสงเคราะห์
ตามความปรารถนาของคุณพ่อบรัวซาต์ นอกจากสร้างวัดแล้วยังได้สร้างบ้านพักพระสงฆ์ให้เสร็จพร้อมกันด้วย
ภายหลังคุณพ่อตาปีได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น "โรงเรียนพระแม่ สกลสงเคราะห์"
ขณะเดียวกันคุณพ่อ ตาปียังได้ซื้อที่นาในบริเวณนั้นไว้เป็นกรรมสิทธิ์ของวัด เนื่องจากท่านเห็นว่าคริสตังญวณจากวัดสามเสนที่จะอพยพมาทำมาหากินที่บางบัวทองนั้นคงจะมีน้อยมาก
และวัดนี้คงจะเจริญไม่ได้ ท่านจึงเปิดให้คริสตังจีนเช่าทำมาหากิน โดยแบ่งที่นาที่ซื้อไว้นั้นเป็นล็อกๆ
ให้เขาเช่าทำสวน ดังนั้น กลุ่มคริสตชนบางบัวทองซึ่งเดิมเป็นกลุ่มญวณก็ได้กลายเป็นกลุ่มคริสตชนชาวจีนไป
ส่วนโรงเรียนของวัดก็กำลังเจริญ จำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้นทุกวัน คริสตังญวณและจีนหมั่นมาฟังมิสซาแก้บาปรับศีลคุณพ่อรายงานว่า
"ผมไปๆ มาๆ เรื่อยระหว่างสามเสนและบางบัวทอง" และในคืนหนึ่งของเดือนมิถุนายน
ปี 1931 วัดบางบัวทองหลังที่คุณพ่อตาปีสร้างก็ได้ถูกเพลิงไหม้จนหมดสิ้น คุณพ่อตาปีไม่ท้ถอย
ท่านลงมือสร้างวัดหลังที่สองในปีต่อมา และทำการเสกเมื่อเดือนมกราคมปี 1933 โดยพระสังฆราชแปร์รอส
พระสังฆราชแปร์รอสได้เขียนรายงานถึงกรุงปารีสป 1933 โดยพูดถึงวัดบางบัวทองว่า
"ผู้หว่านข้าวรดนาข้าวด้วยน้ำตา" คุณพ่อตาปีได้มาดูแลวัด บางบัวทองตลอดจนถึงปี
1940 ในบางครั้งท่านก็ส่งคุณพ่อหลุยส์ สง่า สังขรัตน์ปลัดของท่านที่สวมเสนมาแทนบ้าง
เนื่องจากวัดบางบัวทองเป็นสาขาหนึ่งของวัดสามเสน
เมื่อเกิดกรณีพิพาทอินโดจีน คุณพ่อหลุยส์ สง่า สังขรัตน์ ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบางบัวทอง
ตั้งแต่ปี1940เป็นต้นมาวัดบางบัวทองก็ไม่ต้องขึ้นกับวัด สามเสนอีกต่อไป คุณพ่อหลุยส์ได้สร้างบ้านพักพระสงฆ์หลังใหม่ซึ่งยังคงอยู่จนถึงปัจจุบันนี้
ปี 1950 คุณพ่อกิมฮั้ง แซ่เล้า ได้มาประจำที่วัดนี้นานถึง 18 ปี ท่านได้สร้างอาคารเรียน
2 ชั้นและปรับปรุงบริเวณวัด ต่อมาในปี 1965 พระสังฆราชยวง นิตโย ก็ได้แต่งตั้งคุณพ่อโรเชอโร
เป็นเจ้าอาวาสต่อจากคุณพ่อกิมฮั้ง ท่านได้ขยายโรงเรียนและขอซิสเตอร์คณะเซนต์ปอลเดอชาร์ตรมาดูแลโรงเรียน
ท่านปกครองดูแล วัดบางบัวทองจนถึงปี 1970 และในปี 1971 ก็ถึงแก่มรณภาพที่โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์
เจ้าอาวาสองค์ต่อมาคือ
คุณพ่อ อดุลย์ คูรัตน์ (1971-1973)
คุณพ่อวิจิตร ลิขิตธรรม (1973-1976)
คุณพ่อสานิจ สถะวีระวงศ์ (1976-1979)
คุณพ่อถาวร กิจสกุล (1979-1981) คุณพ่อได้ดำริสร้างศาลาพระแม่ฯ เพื่อเป็นที่สวดศพ
และใช้ในกิจกรรมอื่นๆ ได้เริ่มวางศิลาฤกษ์วันที่ 10 พฤษภาคม 1981 ในปีนี้เอง
คุณพ่อบรรจบ โสภณ (19811986) ก็ได้ย้ายมาเป็นเจ้าอาวาส ท่านได้รับงานการสร้างศาลาพระแม่ฯ
ต่อจากคุณพ่อถาวร จนสำเร็จในวันที่ 8 กันยายน 1981 ท่านปกครองวัดนี้จนถึงปี 1986
ก็ย้ายไปเป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านนาเจ้าอาวาสองค์ต่อมาคือ
คุณพ่อไพริน เกิดสมุทร (1986)
คุณพ่อสุรสิทธิ์ ชุ่มศรีพันธุ์ (1987-1991) ในสมัยของคุณพ่อสุรสิทธิ์นี้เอง
เนื่องจากอาคารเรียน บ้านพักพระสงฆ์และตัววัดเอง ทรุดโทรมลงไปมาก พระคาร์ดินัลมีชัย
กิจบุญชู จึงเริ่มงานก่อสร้างอาคารเรียนหลังใหม่ โดยเริ่มถมที่ดินที่จะใช้ก่อสร้างในระหว่างปี
1987-1988 วันที่ 1 สิงหาคม 1989 ก็เริ่มลงเสา เข็มอาคารเรียนหลังใหม่ 5 ชั้น
ซึ่งได้ใช้อาคารเรียนหลังใหม่นี้ตั้งแต่ปีการศึกษา 1990 ในภาคเรียนที่สองของปีการศึกษานั้นเองก็สามารถใช้โรงอาหารใหม่ได้
พร้อมกับได้ลงเสาเข็มอาคารเรียนอนุบาลใหม่ 4 ชั้น ซึ่งคาดว่าจะสามารถใช้ได้ในภาคเรียนที่สองของปีการศึกษาต่อไป
สำหรับวัดใหม่นั้นได้มีพิธีวางศิลาฤกษ์เมื่อ วันที่ 14 กรกฎาคม 1991 โดย ฯพณฯ
เรนาโต มารติโน ผู้แทนถาวรของรัฐวาติกันประจำองค์การสหประชาชาติ อดีตสมณทูตวาติกันประจำประเทศไทย
ที่วัดบางบัวทองนี้เองกำลังมีโครงการก่อสร้างและจัดสรรที่ดิน ซึ่งจนถึงเวลานี้ได้เกิดมีหมู่บ้านพลมารีขึ้นใหม่
มีสุสานใหม่ที่สวยงาม
คุณพ่อทวีศักดิ์ กิจเจริญ (1991-1996) เป็นเจ้าอาวาส
คุณพ่อวิชชุกรณ์ เกตุภาพ (1996-1998) เป็นเจ้าอาวาส
คุณพ่อสุเทพ พงษ์วิรัชไชย (1999 2004 ) เป็นเจ้าอาวาส
คุณพ่อพจนารถ นิรมลทินวงศ์ ( 10 พฤษภาคม 2004 - ปัจจุบัน ) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน
ช่วยงานอภิบาล
คุณพ่อถิรลักษณ์ วิจิตรวงศ์
ตารางเวลาพิธีกรรม
|
พิธีกรรม |
วัน/เดือน |
เวลา |
ภาษา |
หมายเหตุ |
มิสซาเช้า
(วันธรรมดา) |
|
|
|
|
มิสซาเย็น
(วันธรรมดา) |
จันทร์-ศุกร์ |
18.30 น. |
ไทย |
|
พิธีนพวาร (วันธรรมดา) |
เสาร์ |
18.30 น. |
ไทย |
|
มิสซาศุกร์ต้นเดือน |
ศุกร์ |
18.30 น. |
ไทย |
|
พิธีแห่แม่พระ |
ทุกเสาร์ต้นเดือน |
18.30 น. |
ไทย |
สวดสายประคำและแห่แม่พระ |
มิสซาที่ 1 (วันอาทิตย์) |
|
07.00 น. |
ไทย |
|
มิสซาที่ 2 (วันอาทิตย์) |
|
09.00 น. |
ไทย |
|
มิสซาที่ 3 (วันอาทิตย์) |
|
|
|
|
มิสซาที่ 4 (วันอาทิตย์) |
|
|
|
|
มิสซาที่ 5 (วันอาทิตย์) |
|
|
|
|
มิสซาที่ 6 (วันอาทิตย์) |
|
|
|
|
การเดินรูป 14 ภาคในเทศกาลมหาพรต |
ทุกวันอาทิตย์ |
09.00 น. |
|
หลังมิสซา 09.00 น. |
วันพฤหัสศักดิ์สิทธิ์ |
|
19.00 น. |
|
|
วันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ |
|
19.00 น. |
|
|
วันเสาร์ศักดิ์สิทธิ์ |
|
19.00 น. |
|
|
มิสซาวันคริสตมาส (กลางคืน) |
24 ธันวาคม |
24.00 น. |
|
|
มิสซาวันคริสตมาส (ตอนเช้า) |
25 ธันวาคม |
09.00 น. |
|
|
มิสซาส่งท้ายปีเก่า |
31 ธันวาคม |
19.00 น. |
|
|
มิสซาตอนรับปีใหม่ |
1 มกราคม |
09.00 น. |
|
|
ฉลองวัด |
พฤษภาคม |
10.00 น. |
|
อาทิตย์แรกของพฤษภาคม |
เสกสุสาน |
อาทิตย์ |
09.00 น. |
|
อาทิตย์หลังพุธรับเถ้า |
ล้างบาปเด็ก |
ทุกวันอาทิตย์
ต้นเดือน |
09.00 น. |
|
|
การเดินทาง |
ทางบก |
สาย |
หมายเหตุ |
รถโดยสารประจำทาง (สาย) |
|
|
รถโดยสารปรับอากาศ (สาย) |
|
|
ทางน้ำ |
สาย |
หมายเหตุ |
เรือ (สาย) |
|
|
|