อาสนวิหารอัสสัมชัญ

23 ซ.โอเรียนเต็ล ถ.เจริญกรุง 40 เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500
โทร. 0-2234-8556, 0-2234-4592, 0-2233-7120 โทรสาร 0-2234-3414

 

อาสนวิหารอัสสัมชัญ

ในปี ค.ศ.1809 คุณพ่อปาสกัล ซึ่งเป็นลูกหลานของชาวโปรตุเกส-ไทย (บวชปี ค.ศ. 1805) ได้รวบรวมเงิน 1,500 บาท ซึ่งได้บอกบุญกับบรรดาคริสตัง และญาติพี่น้องมิตรสหายของท่าน คุณพ่อได้ถวายเงินจำนวนนี้แก่คุณพ่อฟลอรังส์ เพื่อจะได้สร้างวัด สักแห่งหนึ่ง เป็นเกียรติแด่อัสสัมชัญของพระนางมหามารีอาเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 1810 คุณพ่อฟลอรังส์เขียนจดหมายถึงคุณพ่อ เลอต็องดัลว่าเพื่อความมุ่งหมายดังกล่าว "ข้าพเจ้าได้ซื้อที่ดินแปลงหนึ่งราคา 250 บาท คงจะต้องขยายสักหน่อยในภายหลัง เพื่อจะได้ สร้างวัดให้สมกับความตั้งใจของผู้บริจาคเพื่อพระสิริมงคลของพระเป็นเจ้า และของพระนางมหามารีอาที่ดินแปลงนี้อยู่ริมแม่น้ำฝั่งตรงข้ามวัดซางตาครู้สของเรา อยู่เหนือวัดของพวกกิสมาติ๊กเล็กน้อย" (ปัจจุบันคือวัดแม่พระลูกประคำ)

วันที่ 21 พฤศจิกายน 1810 คุณพ่อฟลอรังส์เขียนว่า "เวลานี้กำลังตระเตรียมที่ดินแปลงนี้เพื่อที่จะได้สร้างวัดแม่พระตามความปรารถนาของผู้ใจบุญ ที่ได้ถวายเงิน 1,500บาท แล้วนั้น และซึ่งข้าพเจ้าได้รับเมื่อปีที่แล้วจากคุณพ่อปาสกัล"

ปี ค.ศ. 1810 พระสังฆราชการ์โนลต์ ได้แต่งตั้งคุณพ่อฟลอรังส์เป็นพระสังฆราชผู้สืบตำแหน่งแล้วพระคุณเจ้าได้เดินทางไปวัดจันทบุรี ในโอกาสที่มีภคินี เชื้อสายญวนหลายรูปปฏิญาณตน และท่านได้สิ้นใจท่ามกลาง กลุ่มคริสตชนนั้นในวันที่ 4 มีนาคม 1811 เมื่อได้ทราบว่าพระคุณเจ้าการ์โนลต์ป่วยหนักพระคุณเจ้า ฟลอรังส์จึงได้เดินทางไปจันทบุรี

ที่สุดในปี ค.ศ. 1820 พระคุณเจ้าฟลอรังส์ก็สามารถซื้อที่ดินทั้งหมด (สวนกล้วย) ตั้งแต่ที่ดินที่ตั้งสามเณราลัยของมิสซังจนถึงริมแม่น้ำ สำหรับที่ดินสามเณราลัยนั้นปัจจุบันเป็นที่ตั้งของโรงเรียนอัสสัมชัญ แปลงที่สองซึ่งซื้อเมื่อปี ค.ศ. 1820 นั้นเป็นที่ตั้งของอาสนวิหารอัสสัมชัญปัจจุบัน, โรงเรียนวัด (อัสสัมชัญศึก ษา), โรงเรียนของซิสเตอร์เซนต์ปอลเดอชาร์ตร (อัสสัมชัญคอนแวนต์), สำนักพระสังฆราช, ศูนย์คาทอลิก, บริษัทอีสต์เอเซียติ๊ก, บ้านคริสตัง ฯลฯ. เงินที่ได้รับจากคุณพ่อ ปาสกัลเหลือไม่พอที่จะสร้างวัดได้พระคุณเจ้าฟลอรังส์จำเป็นต้องพึ่งพระคาร์ดินัลผู้ใจบุญจากกรุงโรม ซึ่งยินดีบริจาคเงิน 1,500 ปีอาสตร์ เพื่อสร้างวัดเป็นเกียรติ แด่พระนางมารีอารับ เกียรติยกขึ้นสวรรค์

การดำเนินงานต่างๆ ก็เริ่มทันทีในปี ค.ศ. 1820 คือปรับที่ดินให้เรียบ และลงมือสร้างวัดอัสสัมชัญหลังแรกเป็นอิฐ เสร็จในปี ค.ศ. 1821 นอกจากนั้นยังสร้างสำนักพระสังฆราชและพระคุณเจ้าฟลอรังส์ก็มาพำนักอยู่ที่นี่ พิธีเสกอาสนวิหารอัสสัมชัญ กระทำอย่างสง่าในวันฉลองแม่พระลูกประคำปี1822พระสังฆราช ปัลเลอกัวได้เขียนถึงการก่อสร้างวัดอัสสัมชัญและสำนักพระสังฆราชไว้ในหนังสือเล่าเรื่องกรุงสยามของท่านดังนี้

"มีโบสถ์คริสตัง หรือค่ายคริสตังอยู่ 5 แห่งด้วยกัน ในนครหลวง แห่งแรกชื่อค่ายอัสสัมชัญ ซึ่งวิทยาลัยเสมินาร์ตั้งอยู่ที่นั่น ใกล้กับตัวโบสถ์อันสง่างามก่ออิฐถือปูน สร้างมาได้เกือบ 40 ปีแล้ว ตัวโบสถ์นั้นมีสวนอันกว้างล้อมรอบอยู่โดยรอบ มีบ้านเรือนของพวกคริสตังกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป ห่างจากแม่น้ำลึกไปประมาณ 100 เมตร จะเห็นสำนักพระสังฆราชอันสูงเด่น (สร้างโดยพระสังฆราชปัลเลอกัว) ซึ่งสิ้นค่าก่อสร้างไปถึง 3000 ฟรังก์เศษ ชั้นล่างของอาคารหลังนี้จัดสรรให้เป็นที่ทำการของโรงพิมพ์แต่เพียงอย่างเดียว ชั้นบนซึ่งมีอยู่เพียงชั้นเดียวประกอบด้วยห้องนอน 2 ห้อง และห้องรับแขกอันกว้างใหญ่อีก 1 ห้อง ..."

ตั้งแต่นั้นมาอัสสัมชัญได้เป็นที่พำนักของบรรดาพระสังฆราชประมุขมิสซังต่างๆ ในประเทศไทย สมัยนั้น ทั่วบริเวณดังกล่าวเป็นชานเมืองกรุงเทพฯ และครอบครัวคริสตังซึ่งค่อยๆ โยกย้ายมาตั้งบ้านเรือน อยู่ข้างๆ วัดก็ขึ้นอยู่กับวัดแม่พระลูกประคำ อันเป็นที่รู้จักดีในนามวัดกาลหว่าร์ (ตั้งอยู่เหนือวัดอัสสัมชัญ) จนถึงปี ค.ศ. 1884 เมื่อเมืองได้ขยายไปจนถึงบริเวณดังกล่าว และจำนวนคริสตังได้เพิ่มขึ้นจึงจำเป็นต้องตั้ง บริเวณนั้นให้เป็นกลุ่มคริสตชน (Paroisse) เป็นที่น่าเสียดาย ที่บัญชีศีลล้างบาปแรกๆ ของวัดอัสสัมชัญได้สูญหายไปหมดในปี ค.ศ. 1864 ด้วยเหตุว่าบ้านพักพระสงฆ์ของวัดแม่พระลูกประคำ และบัญชีหลักฐานต่างๆ ถูกเพลิง เผาผลาญหมดสิ้น

ดังนั้นปี ค.ศ. 1864 พระคุณเจ้าดือปองด์ จึงตั้งอัสสัมชัญเป็นกลุ่มคริสตชนอย่างเป็นทางการ คุณพ่อฟรังซัว ยอแซฟ ชมิตต์ (Schmitt) เป็นเจ้าอาวาส องค์แรก ท่านได้เปิดบัญชีวัดทุกเล่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1864 เป็นต้นมา(หลักฐาน : A.M.E.Vol. 892 pp. 263, 264, 267 ; Ann.M.E. 1913 p. 91 Memoiral II.)

เนื่องจากจำนวนคริสตังได้เพิ่มทวีขึ้นมาก ทำให้วัดเก่าดูคับแคบไป คุณพ่อกอลมเบต์ซึ่งเป็นเจ้าอาวาส อยู่ในเวลานั้นได้ปรึกษาหารือกับคุณพ่อโรมิเออ ซึ่ง ขณะนั้นเป็นเหรัญญิกของมิสซัง และยังเป็นผู้เชี่ยวชาญทางการก่อสร้างอีกด้วย ผลจึงลงเอยว่าจะดำเนินการก่อสร้างวัดใหม่โดยคุณพ่อกอลมเบต์รับหน้าที่เป็นผู้หาเงินทุน ส่วนคุณพ่อโรมิเออเป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง มีนายช่างชาวฝรั่งเศสผู้หนึ่งเป็นผู้ออกแบบ

การก่อสร้างวัดใหม่ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ย่อมต้องมีความยากลำบาก และอุปสรรคมากมาย นอกจากนี้การคมนาคมต่างๆ ในสมัยนั้นก็ยังไม่สะดวก อุปกรณ์การก่อสร้างส่วนมากต้องซื้อหามาจากต่างจังหวัด เช่น หิน ทราย ต้องสั่งซื้อมาจากราชบุร ี และเครื่องประดับวิหารต้องสั่งซื้อมาจากประเทศฝรั่งเศส, อิตาลี และ สิงคโปร์ ฯลฯ แต่คุณพ่อผู้มีใจเร่าร้อน ไม่ย่อท้อต่อความยากลำบากต่างๆ หัวเรี่ยวหัวแรงในการหาเงินสร้างอาสนวิหารหลังนี้คือ นายปอล มีคาลีพ และหลวงสรกิจ อธิบดีกรมไปรษณีย์คนแรกของประเทศไทย ทั้งสองท่านต้องมาประชุมกันทุกวันอาทิตย์หลังมิสซาเพื่อวางโครงการหาเงินในสัปดาห์ต่อๆ ไป ปี ค.ศ. 1909 คุณพ่อ เริ่มงานวางเข็มวัดใหม่ โดยเอาต้นซุงเรียงซ้อนกันแทนการตอกเข็ม (ในสมัยคุณพ่อแปรูดงเป็นเจ้าอาวาส ท่านได้ให้ก๋งบัวสำรวจต้นซุง ปรากฎว่ายังอยู่ในสภาพดี) หลังจากสร้างวัดจนเงินหมดกระเป๋าแล้ว คุณพ่อกอลมเบต์จึงจัดพิธีเสกศิลาฤกษ์ เพื่อเปิดโอกาสให้คนมาทำบุญวัดใหม่ พิธีเสกศิลาฤกษ์นี้กระทำกันในวันที่ 31 มกราคม 1910 สองวันหลังจากการวันอภิเษกพระสังฆราชแปร์รอสที่วัดกาลหว่าร์ พระสังฆราชแปร์รอสเป็นประธานในพิธีเสกศิลาฤกษ์ มีพระสังฆราชบูชือต์ ประมุขมิสซัง เขมร และพระสังฆราชบาริยอง ประมุขมิสซังมะละกา มาร่วมเป็นเกียรติในพิธี คุณพ่อกอลมเบต์ไม่ผิดหวังในการจัดงานครั้งนี้ เพราะในวันนั้นมีสัตบุรุษใจบุญ บริจาคเงินเป็นจำนวนมากพอที่จะดำเนินการสร้างวัดต่อไป นอกจากนั้นยังมีคนใจบุญจากยุโรปส่งเงินมาสมทบด้วย

เกี่ยวกับเรื่องนี้พระสังฆราชแปร์รอสได้เขียนบันทึกไว้ในรายงานประจำปีว่าดังนี้ "หลังจากพิธีอภิเษกพระสังฆราชแปร์รอส ในวันที่ 30 มกราคม 1910 ที่วัดกาลหว่าร์ผ่านพ้นไปแล้ว ในวันที่ 31 มกราคม1910ได้มีพิธีเสกศิลาฤกษ์ก้อนแรกของอาสนวิหารในอนาคต พิธีเป็นไปอย่างสง่า มีการประดับประดา บริเวณพื้นที่ที่จะใช้สร้างวัดด้วยธงทิวหลากสีสวยงาม ก่อนเริ่มพิธีเสกศิลาฤกษ์ พระสังฆราชบูชือต์ ประมุขมิสซังเขมร ได้เทศน์สอนผู้มาร่วมพิธีด้วยคำพูดเตือนใจ และเร้าใจในความศรัทธา ขณะนี้การสร้างวิหารกำลังดำเนินงานอยู่กำแพงทุกด้านสร้างขึ้นอย่างช้าๆ เมื่อไรหนอเราจะได้เห็นวิหารนี้สำเร็จ ขอให้พระญาณสอดส่องโปรดประทาน ปัจจัยที่จำเป็นในการสร้างวัดที่เหมาะสมนี้ถวายแด่พระองค์..." สร้างเสร็จเรียบร้อยในปี 1918 (หลักฐาน : C.R. ; หมายเหตุประจำวันของคุณพ่อกอลมเบต์)

วันที่ 15 สิงหาคม 1919 ตรงกับวันฉลองสมโภชแม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ทั้งกายและวิญญาณ คุณพ่อกอลมเบต์ถือโอกาสนี้มอบวิหารให้เป็นวิหาร ของแม่พระ ผู้ประกอบพิธีเสกคือพระสังฆราชแปร์รอส ท่ามกลางนักบวชชายหญิง ทูตานุทูตต่างประเทศ และชาวคาทอลิกจำนวนมากมาย ผู้ที่รับศีลกล่าวเป็นคู่แรก ในอาสนวิหารหลังนี้คือ ลูกา มงคล วังตาล และอีวอน วอน วังตาล ท่านทั้งสองได้ให้ความช่วยเหลือในกิจการงานของวัดตลอดมา

ในปี ค.ศ. 1939 คุณพ่อแปรูดงได้สร้างแท่นใหญ่ทำด้วยหินอ่อนทั้งแท่งมาจากประเทศฝรั่งเศส ในวันที่ 23 มิถุนายน 1940 พระสังฆราชแปร์รอสได้เสกอาสนวิหารอัสสัมชัญอย่างสง่าที่สุด ส่วนการอภิเษกพระแท่นใหญ่ได้ทำในวันพฤหัสที่ 4 กรกฎาคม ปีเดียวกัน

ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1942 ได้เกิดสงคราม เครื่องบินมาทิ้งระเบิดในบริเวณวัดอัสสัมชัญ ทั้งระเบิดทำลายและระเบิดเพลิง อาคารต่างๆ รอบวัดได้รับความเสียหาย มาก หมู่บ้านคริสตังก็ถูกเผาผลาญหมด อาสนวิหารด้านซ้ายได้ถูกระเบิดทำให้ได้รับความเสียหายมาก กำแพงด้านในแตกหลายแห่ง รวมทั้งประตูหน้าต่าง, กระจก ,
เก้าอี้ ฯลฯ รูป 14 ภาคหลายรูปได้รับความเสียหาย นายช่างชาวฝรั่งเศสผู้หนึ่งได้มาสำรวจ และเสนอให้ใส่เหล็กโยงกลางวัดคุณพ่อแปรูดงต้องซ่อมแซมหมดทุกอย่างสิ้นเงินค่าใช้จ่ายทั้งหมด 77,200 บาทในสมัยนั้น

ในวันที่ 2 ธันวาคม 1950 พระรูปแม่พระฟาติมาได้เสด็จมาถึงกรุงเทพฯ โดยทางเครื่องบิน ในโอกาสนี้คุณพ่อแปรูดง เจ้าอาวาสอาสนวิหารอัสสัมชัญซึ่งเป็นประธานการต้อนรับ ได้จัดรายการให้พระรูปนี้ไปเยือนโบสถ์ใหญ่ โบสถ์น้อยต่างๆ ในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดด้วย มีขบวนแห่ยาวเหยียดทั้งทางเรือและทางรถ ล้อมรอบพระรูปซึ่งประดับประดาอย่างสวยงามยิ่ง อาศัยความร่วมมือจากอธิบดีกรมตำรวจ ขบวนแห่อันงดงามยิ่งจึงเคลื่อนไปตามถนนต่างๆ ในกรุงเทพฯ อย่าง ปลอดโปร่งเป็นระยะทาง3 กม.คริสตังนับพันๆคนเดินแห่พร้อมทั้งร้องเพลงและสวดภาวนา ส่วนฝูงชนคนต่างศาสนาประมาณ 50,000คน มาเฝ้าดูด้วยความพิศวง และเลื่อมใส ในขณะที่ขบวนแห่ผ่านไปตามทาง การเสด็จมาเยือนของพระรูปแม่พระฟาติมานี้ได้ผลเกินคาด และผลด้านความเชื่อความศรัทธายังคงจารึกอยู่ต่อไปอีก "ส่วนที่วัดอัสสัมชัญนั้นนับเป็นวัดแรกที่มีโอกาสได้ต้อนรับพระรูปแม่พระฟาติมา ต้นขบวนแห่มาถึงวัดเวลา 17.35 น. ของวันที่ 2 ธันวาคม 1950 ส่วนท้านขบวน มาถึงภายหลังราวหนึ่งชั่วโมง เวลา 24.00น. พระสังฆราชหลุยส์ โชแรง ถวายบูชามิสซาอย่างมโหฬารกลางแจ้ง ในลานโบสถ์อัสสัมชัญมีสัตบุรุษทุกมิสซังมาประชุมคับคั่งเต็มลานหน้าบริเวณโบสถ์ ..."

ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 1963 วัดอัสสัมชัญได้รับเกียรติเป็นที่จัดพิธีสุวรรณสมโภช ครบรอบ50 ปีแห่งการบวชเป็นพระสงฆ์ของพระสังฆราชหลุยส์ โชแรง พิธีในวันเป็นไปอย่างมโหฬาร มีพระสังฆราชทุกมิสซังในประเทศไทยมาร่วมพิธีกันอย่างพร้อมเพรียง รวมทั้งพระสงฆ์ นักบวชและสัตุบรุษจำนวนมาก พระสังฆราชสงวน สุวรรณศรี เป็นผู้เทศน์ในพิธี

ถึงแม้คุณพ่อแปรูดงจะได้จัดการซ่อมแซมวัดที่เพราะระเบิดของสงครามแล้วก็ตาม แต่ร่องรอยของระเบิดยังปรากฎอยู่มาก มาในปีค.ศ.1968 คุณพ่อวิลเลียม ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสองค์ต่อมา ได้ทำการซ่อมแซมครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง โดยทุ่มเทเงินถึง 5 แสนกว่าบาท กระเทาะปูนออก ทาสีใหม่ และเปลี่ยนหลังคาใหม่ งานชิ้นนี้สำเร็จลงได้เพราะความใจกว้างของสัตบุรุษวัดอัสสัมชัญนั่นเอง

ในปีค.ศ.1984 สมเด็จพระสันตะปาปา ยอนห์ ปอลที่ 2ได้เสด็จเยือนประเทศไทย พระคาร์ดินัลมีชัย กิจบุญชูได้ถือเป็นเกียรติอัญเชิญสมเด็จพระสันตะปาปา เสด็จมาเยี่อมเยือนอาสนวิหารอัสสัมชัญและอวยพระพรแก่บรรดาพระสงฆ์, นักบวชชายหญิงทุกคณะพร้อมด้วยบรรดาคริสตังที่มาเฝ้ารับเสด็จอย่างเนืองแน่น

การศึกษานับเป็นสิ่งจำเป็น และสำคัญสำหรับกลุ่มคริสตชนของวัดเพราะนอกจากจะเป็นสถานที่อบรมดูแล และให้ความรู้แก่เด็กๆ แล้วยังทำให้พวกเขา เหล่านั้นได้มีโอกาสเรียนคำสอนด้วย ดังนั้นเมื่อสร้างบ้านพักพระสงฆ์เสร็จเรียบร้อยแล้วปี ค.ศ.1934 คุณพ่อแปรูดงจึงคิดที่จะเปิดร.ร.อัสสัมชัญศึกษาให้เป็นโรงเรียนของวัด และได้ขอให้ซิสเตอร์เซนตร์ปอลเดอชาร์ตรของอารามอัสสัมชัญคอนแวนต์ร่วมมือโดยให้รับโรงเรียนของวัดนี้เป็นส่วนหนึ่งของ ร.ร. อัสสัมชัญคอนแวนต์อย่างเป็นทางการ และขอให้ส่งซิสเตอร์มาช่วยบริหารสักหนึ่งคน คุณพ่อแปรูดงต้องสร้างอาคารเรียนเป็นไม้ถึง 3หลัง เพราะจำนวนนักเรียนที่ฝากบัญชีร.ร.อัสสัมชัญ คอนแวนต์ได้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ต่อมาคุณพ่อปอล สวัสดิ์ กฤษเจริญ ซึ่งเป็นปลัดของคุณพ่อแปรูดงได้ขอให้แยกโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษาออกจากโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ ให้มีฐานะเป็น 2 โรงเรียนซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้ออกใบอนุญาตให้เมื่อปี ค.ศ. 1953

นอกจากนี้คุณพ่อแปรูดงยังได้ซื้อที่ดินที่ตรอกจันทน์ และเริ่มสร้างโรงเรียนชาย-หญิง และวัดนักบุญยอแซฟ เพื่อเตรียมแยกกลุ่มอัสสัมชัญออกเป็น 2 กลุ่ม

ในสมัยที่คุณพ่อวิลเลียม ตัน (1960-1969) เป็นเจ้าอาวาสวัดอัสสัมชัญ ท่านได้รื้ออาคารไม้และสร้างเป็นตึกใหญ่ 4 ชั้น 2 หลัง และ 3 ชั้น 1 หลังพร้อมกับ โรงอาหาร ฯลฯ

ในสมัยคุณพ่อดาเนียล ธานี วงศ์พานิช (1969-1975) เป็นเจ้าอาวาส ได้ปรับปรุงสนามใหญ่และขยายตึกเรียน "มารีอา" โดยต่อปีกออกมาทั้งซ้ายและขวา และชั้นล่างมีศาลาสงบ (สำหรับผู้ตาย) นอกจากนี้ยังได้สร้างหอระฆังระหว่างวัดและโรงเรียน

คุณพ่อคมทวน มุ่งสมหมาย (1975-1979 )เป็นเจ้าอาวาส ได้ริเริ่มแบ่งสายงานบริหารและปรับปรุงวิชาการของโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา ให้มีชื่อเสียงดีขึ้น จนเป็นที่ยอมรับจากสำนักงานการศึกษาเอกชน (สช.) ต่อจากนั้นวัดอัสสัมชัญก็ได้รับเจ้าอาวาสพิเศษองค์หนึ่งได้แก่คุณพ่อสังวาลย์ ศุระศรางค์ ซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็น เจ้าอาวาสในระหว่างปี 1979-1983 และในเวลาเดียวกันก็ดำรงตำแหน่งอุปสังฆราช คุณพ่อเป็นผู้ที่มีความสามารถมาก คุณพ่อได้รับอภิเษกเป็นพระสังฆราชแห่งสังฆมณฑลเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 6 มกราคม 1987

คุณพ่อชุมภา คูรัตน์ (1983-1989) เห็นว่าภายในอาสนวิหารอัสสัมชัญจำเป็นต้องได้รับการตบแต่งเสียใหม่จึงได้ทำการตบแต่ง และซ่อมแซมวัด ไปในเวลาเดียวกัน พร้อมทั้งได้จัดทำพระแท่นบูชาและพื้นบริเวณพระแท่นเสียใหม่ มีความสวยงามอย่างยิ่ง

คุณพ่อสนัด วิจิตรวงศ์ (1989-1994) เป็นผู้ดำเนินงานจัดตั้งเครื่องเสียงภายในวัดให้มีประสิทธิภาพสมบูรณ์ขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นผู้เริ่มต้นว่าจ้างยามรักษาความปลอดภัยและดูแลการจราจรรอบๆบริเวณวัดอีกด้วย ได้จัดบริเวณหน้าบ้านพักพระสงฆ์เสียใหม่

คุณพ่อปิยะ โรจนะมารีวงศ์ (1994 – 1998) ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสใน และเป็นผู้อำนวยการฝ่ายการศึกษาของอัครสังฆมณฑลอีกด้วย ได้พยายาม สานต่องานของคุณพ่อเจ้าอาวาสองค์ก่อน ๆ เช่น ส่งเสริมเยาวชนในการร่วมกิจกรรมของวัด สานต่องานอภิบาลทุก ๆ ด้าน ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์บางชิ้นในวัด ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1995 ได้จัดส่งผู้แทนเยาวชนเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยน เยาวชนไทย เยอรมัน งานที่สำคัญที่สุดด้านหนึ่งของวัด ได้แก่การศึกษา ซึ่งคุณพ่อ ได้มีหน้าที่ด้านนี้โดยตรงอยู่แล้ว และได้มีโครงการหลายโครงการ เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีให้เกิดขึ้นระหว่าง 3 โรงเรียนที่อยู่ภายในเขตวัด

อาสนวิหารอัสสัมชัญหลังปัจจุบันมีอายุ 79 ปี แล้ว แต่เดิมนั้นเคยมีกระจกสีตกแต่งไว้อย่างสวยงาม ต่อมาได้แตกชำรุดไป กระจกที่ซ่อมแซมเป็นเพียงกระจกธรรมดา ต่อมาพระคาร์ดินัล ไมเกิล มีชัย กิจบุญชูมีความคิดจะรื้อฟื้นนำศิลปะกระจกสีมาตกแต่งวัดดังเช่นสมัยเริ่มแรงอีกครั้ง โดยให้ทำศิลปะกระจกสีทั้งหมดในวัดจำนวน 46 บาน พร้อมด้วยโรสวินโดว์ (Road window) และส่วนประกอบปลีกย่อย โดยให้ระยะเวลาการทำไม่เกิน 4 ปี

ในการทำกระจกสีในวัดครั้งนี้ คุณศิริพร โภคทวี ซึ่งเป็นช่างผู้ชำนาญงานที่เคยเปิดร้านออกแบบและทำกระจกสีอยู่ในสหรัฐ เป็นผู้รับหน้าที่ทำกระจกสีทั้งหมดในวัดรวมทั้งการติดตั้งด้วย โดย 6 บานแรกได้ติดตั้งไปก่อนฉลองคริสต์มาสเมื่อปี 1996 อาสนวิหารอัสสัมชัญเป็นสถานที่ที่ใช้ประกอบพิธีสำคัญๆ ของอัครสังฆมณฑลอยู่เสมอ

คุณพ่อสำรวย กิจสำเร็จ (1999 – 2002) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส

คุณพ่อ เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช (2003-ปัจจุบัน) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน

ผู้ช่วยเจ้าอาวาส
คุณพ่อคมทวน สุขสุทิพย์
ช่วยงานอภิบาล
คุณพ่อวรยุทธ กิจบำรุง

 

ตารางเวลาพิธีกรรม

พิธีกรรม

วัน/เดือน

เวลา

ภาษา

หมายเหตุ

มิสซาเช้า (วันธรรมดา)

จันทร์ - เสาร์

 06.00 น.

 ไทย

 

มิสซาเย็น (วันธรรมดา)

จันทร์ - เสาร์

 17.15 น.

ไทย

 

พิธีนพวาร (วันธรรมดา)

เสาร์

 17.00 น.

 ไทย

 

พิธีนพวาร (วันธรรมดา)

เสาร์

17.00 น.

ไทย

 

มิสซาศุกร์ต้นเดือน

ศุกร์ต้นเดือน

19.00 น.

ไทย

 

พิธีแห่แม่พระ

31 พ.ค., 15 ส.ค.,31 ต.ค.

หลังมิสซา

ไทย

วันฉลองแม่พระรับเกียรติฯ และ
วันฉลองวัด

มิสซาที่ 1 (วันอาทิตย์)

 

06.00 น.

ไทย

 

มิสซาที่ 2 (วันอาทิตย์)

 

07.30 น.

ไทย

 

มิสซาที่ 3 (วันอาทิตย์)

 

08.30 น.

ไทย

 

มิสซาที่ 4 (วันอาทิตย์)

 

10.00 น.

อังกฤษ

 

มิสซาที่ 5 (วันอาทิตย์

 

17.00 น.

ไทย

 

การเดินรูป 14 ภาคในเทศกาลมหาพรต

วันอาทิตย์

10.00 น.,15.00 น.

 ไทย

 

วันพฤหัสศักดิ์สิทธิ์

 

09.00 น.,19.00 น.

ไทย

เช้ามิสซา, เย็นเสกน้ำมันศักดิ์สิทธิ์

วันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์

 

15.00 น.

 ไทย

 

วันเสาร์ศักดิ์สิทธิ์

 

19.00 น.

ไทย

 

มิสซาวันคริสตมาส (กลางคืน)

24 ธันวาคม

24.00 น.

ไทย

 

มิสซาวันคริสตมาส (ตอนเช้า)

25 ธันวาคม

7.30,8.30,17.00
10.00 น.

ไทย
อังกฤษ

 

มิสซาส่งท้ายปีเก่า

31 ธันวาคม

22.00 น.

ไทย

 

มิสซาตอนรับปีใหม่

1 มกราคม

10.00 น.

ไทย

 

ฉลองวัด

15 ส.ค.

18.00 น.

ไทย

วันฉลองแม่พระรับเกียรติฯ

เสกสุสาน

 

16.00 น.

ไทย

อาทิตย์แรกหลังพุธรับเถ้า

การเดินทาง

ทางบก

 สาย

หมายเหตุ

รถโดยสารประจำทาง (สาย)

1,35 และ 75

 

รถโดยสารปรับอากาศ (สาย)

 

 

 ทางน้ำ

 สาย

หมายเหตุ

เรือ (สาย)

 

 

แผนที่วัด

 

 
Free Web Hosting