ปีพิธีกรรม (Liturgical Year) และ พิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณ (Eucharistic Celebration)

 

1. พิธีมิสซา (บูชาขอบพระคุณ)พิธีมิสซาฯ คือ พิธีบูชาขอบพระคุณ ในความเป็นหนึ่งเดียวกัน ของคริสตชน โดยมีองค์พระเยซูเจ้าเอง เป็นเครื่องบูชาเพื่อ ไถ่บาปแทนเรามนุษย์ อาศัยพระกาย และพระโลหิต ที่ยอมสละ และพลีชีวิตเพื่อเรา ดังนั้น พิธีมิสซาฯ จึงควรเป็นพิธีของ ส่วนรวมในความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ที่คริสตชนจะ ขอบพระคุณพระเจ้า ที่ได้ทรงประทานพระบุตรของพระองค์ ลงมาไถ่บาปแทนเรามนุษย์ทุกคน

ในความเป็นจริง คำว่า “มิสซา” หมายถึง “การถูกส่งไป” เพื่อ ประกาศข่าวดี และเป็นแบบอย่าง รวมทั้งมอบตนเอง และชีวิตให้มี คุณค่าต่อคนอื่นๆ เช่นเดียวกันกับที่เราได้รับจากพระเจ้า ความหมายที่แท้จริงของคำว่ามิสซา จึงไม่ถูกต้องตรงกับ ที่เป็นอยู่ในเวลานี้ เราจึงควรเรียกพิธีกรรมในปัจจุบันว่า “พิธีบูชาขอบพระคุณ” (Eucharistic Celebration) โดยเน้นที่ ความหมายของพิธีกรรมว่า เป็นการขอบพระคุณอย่างแท้จริง คือ พระเยซูเจ้า เป็นทั้งผู้ถวาย และเป็นเครื่องบูชาเอง โดยผ่านทางพิธีการ หักปังบนพระแท่นเพื่อขอบพระคุณพระบิดา สำหรับการส่งพระบุตร ให้มาไถ่กู้มนุษยชาติ จะเห็นได้ว่าคำว่ามิสซา จึงไม่ตรงกับคำศัพท์ และ ความหมายทางพิธีกรรม เพียงแต่มีความเข้าใจ และถือกันมาจาก ธรรมเนียมประเพณีเดิมมากกว่าพิธีมิสซา

ในพิธีมิสซาฯ คริสตชนเชื่อว่า องค์พระเยซูเจ้าประทับอยู่ อย่างแท้จริงใน 3 วิธีการ คือ
1. จากพระวาจาของพระองค์ ในบทอ่านจากพระคัมภีร์ พิธีมิสซา
2. ระหว่างการเสกปัง และเหล้าองุ่น เป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดในการที่พระเยซูเจ้าจะสถิตอยู่ในพิธีมิสซาฯ เพราะเป็นการ รื้อฟื้นการเลี้ยงอาหารค่ำมื้อสุดท้ายของพระเยซูเจ้า
3. การรับศีลมหาสนิท ซึ่งเป็น “ปังทรงชีวิต”

เมื่อพิธีมิสซาฯ สิ้นสุดแล้ว พระเยซูเจ้ายังคงประทับอยู่ใน ศีลมหาสนิท ธรรมเนียมการเก็บรักษาศีลมหาสนิทไว้หลังมิสซา จึงเกิดขึ้น เพราะความต้องการที่จะใช้เป็นศีลเสบียง สำหรับคน เจ็บป่วย และแจกศีลแก่ผู้ที่ไม่สามารถมาร่วมพิธีมิสซาฯ ได้ จึงเกิด ธรรมเนียม “การเฝ้าศีล” เกิดขึ้นในภายหลังด้วย จะเห็นได้ว่า มิสซา เกี่ยวข้องโดยตรงกับชีวิตคริสตชน ไม่ใช่เฉพาะเพียงแต่พิธีกรรม ภายนอกเท่านั้น หรือการบริจาคทาน คริสตชนทุกคนควรมีส่วนร่วม ในพิธีกรรมต่างๆที่ประกอบขึ้นทุกขั้นตอนพิธีมิสซา

องค์ประกอบของพิธีมิสซาฯพิธีการต่างๆ ของพิธีมิสซาฯนั้น ประกอบด้วยภาคต่างๆ ดังนี้

1. ภาคเริ่มพิธ

2. ภาควจนพิธีกรรมตั้งแต่เริ่มพิธี ไปจนถึงบทภาวนาของประธาน (Collecta)เริ่มจากบทอ่านแรกจากพันธสัญญาเดิม บทอ่านที่สองซึ่งเป็นบทจดหมาย หรือหนังสืออื่นๆ ในพันธสัญญาใหม่ และพระวรสารซึ่งถือเป็นพระวาจา ของพระเจ้าที่ตรัสผ่านทางองค์พระบุตร คือ พระเยซูเจ้า การเทศน์ เตือนใจของพระสงฆ์ การประกาศยืนยันความเชื่อ และบทภาวนา ของมวลชน

3. ภาคศีลมหาสนิท

4. ภาคปิดพิธี

เริ่มจากภาคถวายเครื่องบูชา จนถึงบทภาวนาหลังรับศีล คือ การเตรียมเครื่องบูชา - การเสกศีลฯ และการรับศีลฯ เป็นต้นองค์ประกอบของพิธีมิสซาฯ การอวยพร และการส่งไป ที่ให้เรากลับไปสู่ชีวิต กับเพื่อนพี่น้องในสังคมของเราต่อไป

1. ภาคเริ่มพิธี

เริ่มจากเพลงแห่เข้า (ในความเป็นจริงจะไม่มีเพลงก็ได้ แต่การที่มี เพลง เพื่อให้สัตบุรุษรวมเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เพื่อสรรเสริญ พระเจ้า และถือเป็นการภาวนาอย่างหนึ่ง เพลงในพิธีกรรมที่ดี ควรเป็นเพลงที่สื่อความหมาย ให้เข้าใจในพิธีกรรม และร่วมจิตใจได้) - คำทักทาย - การสารภาพความผิด - บทกีรีเอ - (พัฒนามาจากบท ลีตานีอาในยุคแรกเริ่ม) -บทกลอรีอา และจบที่บทภาวนาของประธาน ซึ่งเป็นช่วงเชื่อมต่อไปสู่ช่วงที่สอง ในภาควจนพิธีกรรม องค์ประกอบของพิธีมิสซาฯ

สาระโดยรวมของภาคเริ่มพิธีนี้ มีจุดประสงค์เพื่อเริ่มต้น นำ และเตรียมให้บรรดาสัตบุรุษที่ชุมนุมอยู่ด้วยกันมีความ รู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกัน และเป็นการการโน้มน้าวจิตใจให้พร้อม ที่จะฟังพระวาจาของพระเจ้าอย่างถูกต้อง และให้เฉลิมฉลอง ศีลมหาสนิทอย่างสมควรองค์ประกอบของพิธีมิสซาฯ

2. ภาควจนพิธีกรรม

ภาควจนพิธีกรรมนี้ เป็นส่วนหนึ่งของพิธีที่ชาวยิว ปฏิบัติกันมาแต่เดิม ก่อนยุคของพระเยซูคริสตเจ้า โดย ในพิธีมิสซาฯ จะจัดให้มี “โต๊ะพระวาจา” หรือธรรมาสน์ เพื่อใช้อ่านพระวาจาของพระเป็นเจ้า แยกออกจาก “โต๊ะศีลมหาสนิท” หรือพระแท่น อันเป็นจุดสำคัญ ที่สุดของพิธีกรรมองค์ประกอบของพิธีมิสซาฯ

 

 

การอ่านบทอ่าน ไม่ใช่หน้าที่ของประธาน แต่เป็นหน้าที่ของศาสนบริกร เช่น สังฆานุกร หรือผู้อ่านพระคัมภีร์ สำหรับการอ่านพระวรสารนั้น เป็นหน้าที่ของสังฆานุกร หรือประธานในพิธี จะต้องแสดงออกถึงการ คารวะอย่างยิ่งต่อพระวรสารที่อ่าน โดยให้เกียรติอย่างพิเศษกว่าบทอ่าน อื่น ๆ ไม่ว่าในการเลือกผู้อ่านระดับศาสนบริกร หรือพระสงฆ์เอง สัตบุรุษเอง ก็ต้องแสดงความคารวะอย่างพิเศษโดยการยืนฟัง และ พนมมืออย่างสำรวมองค์ประกอบของพิธีมิสซาฯ

ในระหว่างการอ่านบทอ่าน จะมีการร้องเพลงคั่น ในช่วงแรกจะเป็นเพลงสดุดี (Psalms) และส่วนที่สองจะเป็นเพลงสรรเสริญ (Acclamation) หรือเพลง Hymn บทอัลเลลูยา ซึ่งจะร้องก่อน การอ่านพระวรสารองค์ประกอบของพิธีมิสซาฯ

การเทศนาเตือนใจ (Homily) เป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรม เป็นส่วน ที่จำเป็นในการหล่อเลี้ยงชีวิตคริสตชน และจะต้องอธิบายบางแง่ ในบทอ่านจากพระคัมภีร์ของมิสซาประจำวันนั้น ๆ การเทศนาเตือนใจ มีลักษณะพิเศษ แตกต่างกว่าการเทศน์ในรูปอื่น เพราะการเทศน์แบบนี้ เป็นการเทศน์เพื่ออธิบาย หรือโน้มน้าวจิตใจผู้ฟัง ให้ปฏิบัติตาม พระวาจาของพระเจ้า ที่ตรัสกับเราผ่านทางพระคัมภีร์ มากกว่าจะมุ่ง เน้นแบบการสอนศาสนาให้คนกลับใจ (Evangelization) หรือการเทศน์ แบบสอนคำสอน (Catechesis)

เมื่อพระสงฆ์เทศน์เตือนใจแล้ว จะเป็นการประกาศยืนยันความเชื่อ (Credo) เพื่อให้ประชากรเห็นพ้อง และสนองตอบพระวาจาของ พระเจ้า ที่ได้ฟังในบทอ่าน และการเทศน์ และให้รื้อฟื้นข้อความเชื่อ ก่อนที่จะเริ่มพิธีศีลมหาสนิท และยังนับว่าเป็นบทสรุป “ประวัติศาสตร์แห่งความรอด” ซึ่งสัตบุรุษประกาศยืนยันความเชื่อ ของพระศาสนจักรที่มีมาแต่เดิม รวมทั้งแสดงความหวังที่จะมี ส่วนร่วมในชีวิตนิรันดร กับพระเจ้าในบั้นปลายด้วย บทภาวนาเพื่อมวลชน มีขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นถึงหน้าที่ของ คริสตชนที่จะต้องภาวนาเพื่อมนุษยโลกในสังคม ในเรื่องต่างๆ ที่ พระศาสนจักรได้กำหนดไว้

3. ภาคศีลมหาสนิท

เริ่มจากการเตรียมเครื่องบูชา โดยต้องเตรียมพระแท่น ซึ่งเป็น ศูนย์กลางของพิธีกรรมศีลมหาสนิททั้งมวล โดยปูผ้ารอง ถ้วยกาลิกส์ และจานศีล (Corporal) นำผ้าเช็ดถ้วยกาลิกส์ (Purificator) ถ้วยกาลิกส์ และหนังสือมิสซาวางบนพระแท่น และนำแผ่นปัง และเหล้าองุ่นมาเตรียมไว้ รวมทั้งมีการบริจาค ใส่ถุงทานสำหรับคนยากไร้ หรือทางวัดด้วย

คำภาวนาแห่งศีลมหาสนิท หรือการเสกปัง และเหล้าองุ่นให้เป็น พระกาย และพระโลหิตของพระเยซูเจ้า ถือเป็นหัวใจสำคัญของ พิธีมิสซาฯ ประกอบด้วยการเสกศีลเพื่อระลึกถึง และรื้อฟื้นถึง การตั้งศีลมหาสนิทของพระเยซูเจ้า ในอาหารค่ำมื้อสุดท้ายก่อน ทรงรับทรมาน และสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน การขับร้องเพลง ศักดิ์สิทธิ์ บทข้าแต่พระบิดา การบิปัง และการรับศีลมหาสนิท ของสัตบุรุษ ซึ่งการรับศีลมหาสนิท นับว่าเป็นส่วนสำคัญยิ่งในพิธี มิสซาบูชาขอบพระคุณพระเจ้า

การรับศีลมหาสนิทให้ความหมายหลายประการเช่น
1. เป็นการร่วมสนิท เป็นหนึ่งเดียวกับพระเยซูเจ้า
2. เป็นการร่วมมีส่วนในงานกอบกู้ของพระเยซูเจ้า
3. เป็นการร่วมสนิทสัมพันธ์กับพี่น้องคริสตชนด้วยกัน

 

 

4. ภาคปิดพิธี

 

เมื่อสัตบุรุษรับศีลเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะเข้าสู่ภาคปิดพิธี ในภาคนี้ ทางวัด สามารถประกาศข่าวต่างๆให้สัตบุรุษ ทราบ จากนั้น จะเป็นการอำลา และ อวยพร

ข้อสังเกต ที่คริสตชนบางกลุ่ม อาจจะเกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อน เกี่ยวกับพิธีมิสซาฯ คือ จริงๆ แล้ว การแก้บาป (ศีลอภัยบาป) ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของพิธีมิสซาฯ สัตบุรุษสามารถรับศีลอภัยบาป ได้ตลอดเวลา แม้ไม่ใช่เวลามิสซา แต่การที่มีการแก้บาปก่อนพิธี มิสซาฯนั้น ก็เพื่อประโยชน์ในด้านการอภิบาลสัตบุรุษ คืออำนวย ความสะดวกแก่สัตบุรุษที่มาวัดอาทิตย์ละครั้ง รวมทั้งทำให้การ ร่วมพิธีมิสซาฯของสัตบุรุษที่รับศีลอภัยบาปแล้ว มีความหมายมาก ยิ่งขึ้น เป็นการเสริมสร้างจิตใจ แต่สิ่งที่ควรส่งเสริมคุณค่า และ ความหมายของศีลอภัยบาปนั้น สัตบุรุษควรรับศีลอภัยบาปอย่าง สม่ำเสมอ ในเวลาใดก็ได้ที่เหมาะสม และมีความต้องการคืนดีกับ พระ ซึ่งไม่เพียงก่อนพิธีมิสซาฯ เท่านั้น

 

2. เทศกาลในปีพิธีกรรม

 

1. เทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า (Advent)

เริ่มต้นวันอาทิตย์ สี่สัปดาห์ก่อนคริสต์มาส จนถึงวันที่ 24 ธันวาคม เป็นการเตรียมตัวเพื่อ ช่วงเวลาของพระคริสตสมภพ ที่กำลังจะมาถึง ช่วงเวลาแห่งการเตรียมนี้ เรียกว่า “เทศกาลเตรียม รับเสด็จฯ” เรารอคอยด้วยความหวัง ถึงการเสด็จมา ของพระเยซูเจ้า พร้อมกับพระแม่มารีอา

 

 

2. เทศกาลพระคริสตสมภพ (Christmastide)

เริ่มต้นจากวันคริสต์มาส ถึงวันฉลองการรับพิธีล้าง ของพระเยซูเจ้า ในระหว่างสัปดาห์สุดท้ายของ เดือนธันวาคม และสัปดาห์แรกของเดือนมกราคม คริสตชนยังคงอยู่ในเทศกาลพระคริสตสมภพ ใน ช่วงเวลาแห่งความชื่นชมยินดีเหล่านี้ เราจะต้อนรับ การเสด็จมาของพระผู้ไถ่

 

 

 

การประกาศถึงการแสดงองค์ของพระคริสตเจ้า (God’s epiphany) พระสิริรุ่งโรจน์ของพระเป็นเจ้ามายังแผ่นดิน ช่วงเวลาเตรียมรับเสด็จและช่วงเวลาพระคริสตสมภพนี้ คือ ช่วงเวลาแห่งการเตรียมตัวและการเฉลิมฉลอง นำเราให้ผ่านพ้นปีเก่า และเข้าสู่ปีใหม่ สำหรับคริสตชนแล้ว ปีของเรามิใช่เพียงการหมุนเวียน ไปของวันเวลาเท่านั้น แต่การเวียนไปจนครบรอบปีของคริสตชน คือ การนำออกนอกเวลาไปสู่ความรุ่งเรืองแห่งนิรันดร์กาลในพระเจ้า

3. เทศกาลมหาพรต

เริ่มจากวันพุธรับเถ้า (Ash Wednesday)มหาพรตคือช่วงเวลา 40 วันแห่งการเตรียมตัวเพื่อเข้าสู่ปัสกาเลข 40 เตือนให้เราระลึกถึงฝนที่ตกตลอด 40 วัน 40 คืน ในสมัยโนอาห์ เพื่อชำระล้างความชั่วร้ายของแผ่นดิน ให้สะอาดหมดจด 40 ปี แห่งการเดินทางของชาวฮีบรูในทะเลทราย เพื่อ จะเข้าสู่ดินแดนแห่งพระสัญญา 40 วัน ที่พระเยซูเจ้าทรงอดอาหาร และถูกประจญในถิ่น ทุรกันดาร

มหาพรต คือช่วงเวลาแห่งการภาวนาที่เข้มข้น การอดอาหาร การพลีกรรม และประกอบกิจศรัทธา ห้วงเวลาแห่งการให้ความ สดชื่นแก่โลกของเรา เพื่อไปสู่บ้านของพระเจ้า

สัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ (Paschal Triduum) เราคริสตชน จะรักษา วันพระเจ้านี้ ได้อย่างเหนียวแน่น เราอดอาหารในวันศุกร์ ศักดิ์สิทธิ์ และชิดสนิทกับพระด้วยการตื่นเฝ้าในวันเสาร์ศักดิ์สิทธิ์ เพราะเราตื่นเฝ้า และรอคอยให้การเสด็จกลับคืนพระชนมชีพใน วันอาทิตย์ปัสกาที่กำลังมาถึงเรา ด้วยความกระหายและโหยหา พระองค์

การร่วมชิดสนิท และการอวยพร วันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ วันเสาร์ศักดิ์สิทธิ์ และวันอาทิตย์ปัสกานี้ รวมเรียกว่า “Paschal Triduum” หมายถึง สามวันแห่งการผ่านพ้น Triduum คือ หัวใจของปีพิธีกรรม ส่วน วันแห่งความตาย การถูกขัง และการกลับคืนชีพของพระเยซูคริสตเจ้า ตลอดช่วงวันอันศักดิ์สิทธิ์นี้ เราจะฉลองการเสด็จผ่านความตายของ พระเยซูเจ้า (และของเรา) ด้วยการโปรดศีลล้างบาป พิธียืนยันการเป็น คริสตชน และการรับศีลมหาสนิทในช่วงปัสกานี้ (แก่คริสตชนใหม่)

4. เทศกาลปัสกา

เริ่มจากวันอาทิตย์ปัสกา จนถึงวันอาทิตย์สมโภช พระจิตเจ้า เทศกาลปัสกา คือ ช่วงเวลา 50 วัน แห่งการ เฉลิมฉลอง ซึ่งอยู่ถัด Triduum นับได้ว่าเป็น เทศกาลที่เก่าแก่ และงดงามที่สุดของพระศาสนจักร วันแห่งความชื่นชมยินดีของโลก ซึ่งตื่นจากการ หลับไหล 50 วัน (เปนเตก๊อสเต) คือ สัปดาห์ที่ทวีคูณ 7 x 7 = 49 บวกอีก 1 วันอาทิตย์ปัสกา ดังนั้น เทศกาลปัสกาจึงมีวันอาทิตย์ 8 ครั้ง (8 วัน) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ถึงความลึกลับของนิรันดรภาพ

 

แต่ละสัปดาห์ เรามีวันพระเจ้า และแต่ละปี เรามีเทศกาลปัสกา 50 วันแห่ง การเปล่งเสียง “อัลเลลูยา” สรรเสริญแด่พระเจ้า 50 วัน แห่งการใช้ชีวิต ตามบทบัญญัติแห่งความยุติธรรม และสันติสุข ซึ่งเต็มเปี่ยมในตัวเรา เมื่อรวมทั้ง 3 ช่วงเข้าด้วยกัน คือ มหาพรต สัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ และ ปัสกา จึงกลายเป็นการผลิบานที่ศักดิ์สิทธิ์ของพระศาสนจักร

5. เทศกาลธรรมดา

เป็นเทศกาลที่แทรกอยู่ระหว่าง เทศกาลพระคริสตสมภพ กับมหาพรต และระหว่างเทศกาลปัสกา กับเทศกาลเตรียม รับเสด็จพระคริสตเจ้า เป็นเวลาประมาณ 34 สัปดาห์ นอกเหนือไปจากเทศกาลสำคัญ ของพระศาสนจักรแล้ว สัปดาห์เหล่านี้เรียกว่า เทศกาลธรรมดา ดังนั้นในแต่ละ สัปดาห์จึงมีการนับเป็นตัวเลข เพื่อช่วยให้เราแบ่งการอ่าน บทอ่าน บทสวดต่างๆ ในหนังสือพิธีกรรมได้อย่างถูกต้อง และรวมทั้งหนังสือสวดเป็นทางการ ของพระศาสนจักร ที่เรียกว่าหนังสือทำวัตรอีกด้วย

 

1. อิริยาบถ และกิริยาอาการที่ใช้ในพิธีกรรม

พิธีกรรม ไม่ใช่คำภาวนาในใจ แต่เป็นการแสดงออกทางถ้อยคำ และทางอิริยาบถ กิริยา และอาการต่าง ๆ ที่มีกฎเกณฑ์กำหนดไว้ ดังนั้นการกระทำต่าง ๆ ของคนเราก็รวมเข้าอยู่ในตัวตนทั้งหมด ในการแสดงออก หรือแม้แต่ทำให้สภาพภายในตัวของเราเกิดขึ้น อิริยาบถ และกิริยาต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อการมีส่วนร่วมใน พิธีกรรม

 

1.1 อิริยาบถที่ใช้ในพิธีกรรม พิธีกรรมไม่ใช่การกระทำส่วนตัว แต่เป็นการแสดงออกหรือ ภารกิจทางการของพระศาสนจักร

 

 

 

• การยืน การยืน ยังเป็นอิริยาบถเบื้องต้นของพิธีกรรมสำหรับสัตบุรุษด้วย ในลักษณะการเช่นนี้ เป็นเครื่องหมายบ่งบอกความเคารพ การยืนยังเป็นอิริยาบถทั่วไปของชาวอิสราเอลขณะภาวนา พวก คริสตชนรุ่นแรกก็ภาวนาในอิริยาบถนี้ นอกนั้น ในธรรมเนียม และความคิดของคริสตชนโบราณ การยืน เป็นอิริยาบถแสดงถึงการมีส่วนในการกลับคืนชีพอย่างรุ่งเรือง หรือ ปัสกาของพระคริสตเจ้า

การยืน ยังเป็นอิริยาบถที่เหมาะสมกับผู้ที่กำลังรอคอยการ เสด็จมาครั้งที่สองของพระคริสตเจ้า (Parousia) • การยืน ความหมายสุดท้ายของการยืน คือ ผู้ได้รับเลือกสรรจาก พระเจ้าบนสวรรค์ต่างยืนขอบพระคุณพระเป็นเจ้า

 

• การคุกเข่า การคุกเข่าภาวนาเป็นเครื่องหมายแสดงถึงการกลับใจ เป็นระยะเวลาของการจำศีล ไว้ทุกข์ ถ่อมตน ใช้โทษบาปการคุกเข่าภาวนายังเป็นอิริยาบถของการภาวนาส่วนตัว ในสมัยหนึ่งการคุกเข่า เป็นอิริยาบถของทางยุโรป เพื่อ นมัสการศีลมหาสนิท และรับศีลมหาสนิท ซึ่งบ่งบอกถึงความ เคารพสูงสุดที่มนุษย์พึงมีต่อพระเจ้า

 

• การนั่ง การนั่งเป็นอิริยาบถของอาจารย์สอนศิษย์ และประธาน หรือหัวหน้าในที่ประชุม สัตบุรุษเองได้รับการเชื้อเชิญให้นั่งลงหลายครั้งในพิธีกรรม การนั่งขณะรับฟังพระวาจาของพระเจ้า เป็นการแสดงออกถึง การรับฟังอย่างตั้งใจ เป็นเหมือนกับพวกศิษย์ของพระเยซูเจ้า ที่นั่งรอบพระองค์เพื่อฟังพระองค์ตรัสสั่งสอน

 

• การก้มศีรษะ มีการเชื้อเชิญให้สัตบุรุษก้มศีรษะ ก่อนจะรับพรแบบสง่า จากประธานในพิธี

“โปรดก้มศีรษะรับพร”

 

• การหมอบกราบกับพื้น

 

 

 

• การทำเครื่องหมายกางเขน (ทำสำคัญมหากางเขน) • การข้อนอก หรือทุบอก• การเงยหน้าขึ้นเบื้องบน (สวรรค์)• การกางมือภาวนา

 

 

4. ความหมายของอาภรณ์ และสีของอาภรณ์ที่ใช้ในพิธี

 

1. เสื้อกาสุลา (Casula) เป็นสัญลักษณ์แห่งความรักเมตตา ซึ่งครอบคลุมคุณธรรม ทุกอย่าง มีศักดิ์ศรี มีเกียรติเหนือสิ่งอื่นใด เพราะเสื้อนี้คลุมทับ เสื้อ และเครื่องหมายอื่น ๆ ทุกชิ้นไว้ เสื้อกาสุลา ไม่เพียงแต่หมายถึงความรักเมตตาเท่านั้น ต่อมา ยังหมายถึงคุณธรรมอื่น ๆ ด้วย เป็นต้นว่า ความยุติธรรม ความ ศักดิ์สิทธิ์ของพระสงฆ์ ความเป็นผู้มีใจซื่อบริสุทธิ์ พระคุณของ พระจิต ความกล้าหาญในการป้องกันความเชื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การแบกแอก (แอก = ภาระ) อัน “ อ่อนนุ่ม และเบา ” ของ พระคริสตเจ้า เพื่อติดตามพระองค์ไป นอกนั้นยังมีความหมายถึง ความเป็นหนึ่งเดียวกันของพระศาสนจักรอีกด้วย

 

• เชือกคาดเอว (Cingulum) คือ การระแวดระวังตนเอง โดยเฉพาะจากราคะตัณหา รวมทั้งความทะนงตนด้วย เชือก หรือผ้าคาดเอว หมายถึง การควบคุมตนเอง และ การบำเพ็ญตบะ อดออมอาหารการกิน ความหมายที่เป็นแม่บททางรูปคำสอนนั้นหมายถึงความ ชอบธรรมของพระคริสตเจ้า

 

 

สตอลา (Stola)

หมายถึง “แอก” หรือภาระหน้าที่ของพระคริสตเจ้าที่
พวกท่านจะแบกไว้ จากเครื่องหมายพื้นฐานนี้มีความหมายอื่น ๆ
ที่ตามมาคือ หมายถึงคุณธรรมอันจำเป็นที่สังฆานุกร หรือ
พระสงฆ์จะต้องมีเพื่อประกอบภาระหน้าที่ของท่าน

 

• เสื้ออัลบา (Alba)หรือ อัลบ์ (Alb) อัลบาจึงกลายเป็นสัญลักษณ์แห่งพรหมจรรย์ ความบริสุทธิ์ และความสุขชั่วนิรันดร์ของผู้ที่ได้รับการไถ่

 

 

 

 

 

• โค้ป (Cope) เสื้อโค้ปใช้สวมในขบวนแห่ และศาสนพิธีที่ศักดิ์สิทธิ์มาก ๆ เสื้อโค้ปเป็นสัญลักษณ์แห่งความบริสุทธิ์ความไร้เดียงสา และ เกียรติภูมิ

 

 

 

 

• เสื้อดัลมาติกา หรือ ดัลมาติก (Dalmatic)

เป็นเสื้อที่สังฆานุกรสวมทับเสื้ออัลบา มีลักษณะเป็น เสื้อไม่เข้ารูปตัวยาว แขนยาว • เสื้อซูพลีส์ หรือเซอร์พลิส (Surplice) เป็นเสื้อคลุมตัวยาวถึงเข่าทำด้วยผ้าลินินสีขาวแขนกว้าง

 

 

 

 

2. สีที่ใช้แสดงในพิธีกรรม

• สีขาว เป็นสีที่บ่งบอกถึงการผ่านพ้นจากบาป หรือความตายไปสู่ ชีวิตใหม่ เพราะฉะนั้น จึงเป็นสีที่ใช้ในการล้างบาป และศีลกำลัง เป็นสีที่แสดงถึงความสะอาดบริสุทธิ์จากการได้รับศีลล้างบาปและ เป็นสีที่แสดงถึงความบริสุทธิ์แห่งพรหมจรรย์ด้วย นอกนั้น สีขาว ยังใช้ในโอกาสที่มีพิธีศพด้วย

• สีขาว ในพิธีกรรม สีขาวใช้ในพิธีทำวัตร และในมิสซาของวันสมโภช ปัสกา และในวันพระคริสตสมภพ ในวันฉลอง และระลึกถึง พระเยซูเจ้า ที่มิใช่มหาทรมานของพระองค์ ในวันสมโภชนักบุญ ทั้งหลาย สมโภชนักบุญ ยอห์น บัปติสต์ นักบุญยอห์นอัครสาวก และ ผู้นิพนธ์พระวรสาร ฉลองธรรมาสน์นักบุญเปโตรอัครสาวก และวัน ฉลองการกลับใจของนักบุญเปาโล

 

 

• สีแดง สีที่หมายถึงไฟ เลือด ชีวิต และการยอมตายเป็นมรณสักขี ซึ่งก็ทำให้ความหมายตามมาว่าเป็นความรัก ในพิธีกรรม ใช้ในวันอาทิตย์มหาทรมานของพระเยซูเจ้า วันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ วันอาทิตย์สมโภชพระจิตเจ้า ในวันฉลองการ บังเกิดใหม่ในสวรรค์ของบรรดาอัครสาวก และผู้นิพนธ์พระวรสาร (ยกเว้นนักบุญยอห์นอัครสาวก) และบรรดานักบุญมรณสักขี ทั้งหลาย

 

• สีเขียวสีเขียว หมายถึงคุณธรรมแห่งความหวัง นอกนั้น สีเขียว ยังหมายถึงชีวิตแห่งพระหรรษทาน และ การได้รับพระคุณแห่งความรอดจากการกอบกู้มนุษย์ของพระองค์ ในพิธีกรรมใช้สีเขียวในพิธีทำวัตร และมิสซาเทศกาลธรรมดา ตลอดปี

 

• สีม่วงจึงเป็นสีแห่งความทุกข์ทรมาน และการใช้โทษบาป พิธีระลึกถึงผู้ล่วงลับในปัจจุบันที่ให้ใช้สีม่วงแทนสีดำได้นั้น ก็เพื่อจะให้เราระลึกถึงความเชื่อนี้ว่า เขาผู้ล่วงลับได้ผ่านจาก ความมืดมน หรือความเจ็บปวด ไปสู่ความสว่าง หรือความ รักของพระเจ้าแล้ว ในพิธีกรรมสีม่วงใช้ในเทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า และเทศกาลมหาพรต สีนี้แทนสีดำในมิสซา และพิธีเกี่ยวกับ ผู้ล่วงลับ

 

5. พระแท่น คือ สัญลักษณ์ของพระคริสตเจ้า

เป็น “โต๊ะแห่งความยินดี” เป็น “สถานที่แห่งการอยู่ร่วมกัน อย่างสันติ” เป็น “บ่อเกิดแห่งเอกภาพ และมิตรภาพ” เป็น “ศูนย์ กลางแห่งการสรรเสริญ และขอบพระคุณพระเจ้า” ศักดิ์ศรีทั้งหมด ของพระแท่นอยู่ที่ว่า พระแท่นคือโต๊ะขององค์พระผู้เป็นเจ้า

 

 

 

• ที่ตั้งพระแท่น พระแท่นต้องตั้งในโบสถ์ให้เป็น “ศูนย์กลางที่รวมความสนใจของชุมชน ทั้งหมดไว้ตามธรรมชาติ”

 

 

 

 

• การถวายกำยานแก่พระแท่น “จะมีการเผากำยานบนพระแท่น เพื่อแสดงว่าการถวายบูชา ของพระคริสตเจ้า ซึ่งประกอบเป็นธรรมล้ำลึก (Mystery) บน พระแท่นนี้ขึ้นไปหาพระเจ้าเป็นเสมือนกลิ่นหอม และยังเป็น เครื่องหมายว่าคำภาวนาของประชากรขึ้นไปเป็นที่พอพระทัยและ โปรดปรานต่อหน้าพระบัลลังก์ของพระเจ้า”

 

 

• การจุดเทียนบนพระแท่น “ท่านได้รับแสงสว่างจากพระคริสตเจ้าแล้ว จงดำเนินชีวิต ประดุจบุตรแห่งความสว่าง และรักษาความเชื่อไว้ให้ลุกโชติช่วง ในใจของท่านเสมือนเปลวเพลิงด้วยเถิด”

 

 

 

• เทียน “ ต้องใช้เทียนในพิธีกรรมทุกครั้ง เพื่อเป็นเครื่องหมายถึง ความเคารพ และการเฉลิมฉลอง เทียนจะต้องวางไว้บน หรือ รอบ ๆ พระแท่น ให้เหมาะกับแบบของพระแท่น และสถานที่ ศักดิ์สิทธิ์ (Sanctuary) ทุกสิ่งต้องอยู่ในสมดุล และต้องไม่ขัด- ขวางมิให้สัตบุรุษมองเห็นกิจกรรมที่กำลังประกอบอยู่ที่พระแท่น หรือสิ่งของที่วางไว้บนนั้นได้ ”

 

• ผ้าคลุมพระแท่นทำด้วยผ้าลินินสีขาวบริสุทธิ์ ใช้คลุมพระแท่นปล่อยชายผ้า ให้ห้อยลงมาที่สองด้าน ใช้เป็นสัญลักษณ์ของผ้าห่อพระศพ พระเยซู

 

 

 

 

6. สิ่งของที่ใช้ในพิธีกรรมบรรณฐาน

เป็นสัญลักษณ์ของโต๊ะแห่งพระวาจา

บรรณฐาน (Ambo) หรือที่อ่านพระคัมภีร์เป็นโต๊ะสำหรับ ยืนอ่าน ในโบสถ์หนึ่งต้องมีบรรณฐานเพียงอันเดียว สำหรับ กิจกรรมเหล่านี้ บรรณฐานอันเดียวก็เหมือนกับพระแท่นบูชา พระแท่นเดียว ซึ่งหมายถึง พระเยซูคริสตเจ้าพระผู้ไถ่แต่องค์เดียว

 

• แอสเปอร์เจส หรือแอสเปอร์จิลลุม (Asperges, Aspergillum) คำว่าแอสเปอร์เจสมีความหมายว่า “ขอได้ทรงโปรดประพรม ข้าพระองค์” แอสเปอร์เจสเป็นคำแรกของบทสวดว่า “ขอได้ทรง โปรดประพรมข้าพระองค์ แอสเปอร์เจสจึงกลายเป็นชื่อของพิธีประ พรมพระแท่น และคริสตชนด้วยน้ำเสก แอสเปอร์เจสเป็นสัญลักษณ์ ของการล้างบาป และการขับไล่ความชั่วร้าย โดยมีที่มาจาก “เพลงสดุดี” 51:7

 

• โถเผากำยาน (Censer) เป็นภาชนะที่ใช้ในการเผากำยาน มีลักษณะเป็นโถมีฝา ครอบเป็นรูๆ ตัวโถและฝาครอบมีโซ่ยึดไว้ด้วยกัน ในภาค พันธสัญญาเดิม โถเผากำยานเป็นสัญลักษณ์ของการสวด อ้อนวอน เพื่อให้คำสวดนั้นไปถึงพระกรรณของพระผู้เป็นเจ้า

 

 

• ถ้วยกาลิกซ์ (Chalice)เป็นถ้วยที่ใช้ใส่เหล้าองุ่น และน้ำในพิธีมิสซาฯ เพื่อรำลึกถึงอาหารค่ำมื้อสุดท้าย และการที่พระคริสต์ ทรงสละพระชนม์ชีพเป็นเครื่องบูชาบนไม้กางเขน

 

 

 

• ชิบอริอุม (Ciborium) หมายถึงภาชนะมีฝาปิดที่ใช้ใส่แผ่นศีลศักดิ์สิทธิ์ในพิธีมิสซา ความหมายหลังนี้ ทำให้ชิบอริอุมกลายเป็นสัญลักษณ์ของศีล มหาสนิท และอาหารค่ำมื้อสุดท้ายด้วย

 

 

 

 

• คอร์ปอรอล (Corporal) เป็นผ้าลินินสีขาวใช้ปูบนพระแท่น เพื่อวางแผ่นศีลกับ เหล้าองุ่นระหว่างทำพิธีเสกโดยระหว่างนั้น อาจยกผ้า คอร์ปอรอลขึ้นมาคลุมเหล้าองุ่น และขนมปังเป็นครั้งคราว

 

 

 

• แผ่นศีล (Host) เป็นขนมปังไม่ใส่เชื้อ มีลักษณะเป็นแผ่นกลม ๆ แบน ๆ ใช้ในพิธีมิสซาฯ เป็นแผ่นศีล มีที่มาจากคำว่า “ออสเตีย” (hostia) ในภาษาลาติน มีความหมายว่า “ เหยื่อ ” หรือ “ เครื่องสักการะพลี ” เมื่อแผ่นศีลอยู่คู่กับถ้วยกาลิกซ์จึงเป็น สัญลักษณ์ของการถวายบูชาของพระเยซูเจ้าบนไม้กางเขน

 

 

• มอนซแตรนส์ (Monstrance) เดิมหมายถึงภาชนะใดก็ได้ที่ใช้บรรจุพระธาตุอันศักดิ์สิทธิ์ ปัจจุบันหมายถึงภาชนะสำหรับใส่แผ่นศีลด้วย ภาชนะดังกล่าว มีลักษณะใสทำให้เห็นแผ่นศีลข้างใน ชื่อมอนซแตรนส์มาจาก ภาษาละตินว่า “มอนซ์โตร” (monstro) มีความหมายว่า “ เผยให้เห็น ”

 

 

 

• พาเทนา หรือพาเทน เป็นจานก้นตื้นสำหรับใส่แผ่นศีลในพิธีมิสซาเป็น สัญลักษณ์ของจานที่ใช้ระหว่างอาหารค่ำครั้งสุดท้าย ของพระเยซูเจ้า

 

 

 

• พูริฟิเคเตอร์ (Purificator) เป็นผ้าลินินสีขาวใช้ทำความสะอาดถ้วยกาลิกซ์หลังเสร็จ พิธีศีลมหาสนิท • ตลับใส่แผ่นศีล (Pyx) คำว่าพิกซ์มาจากภาษาละตินว่า “ ปิกซิส ” (Pyxis) มี ความหมายว่า “กล่อง” ในสมัยแรก ๆ พิกซ์หมายถึงภาชนะใด ก็ได้ที่ใช้ใส่แผ่นศีล แต่ปัจจุบันหมายถึงตลับที่ใช้ใส่แผ่นศีลไป ให้คนป่วย

 

• ตู้ศีล (Tabernacle) ตู้ศีลใช้เป็นที่ประกอบพิธีการถวายบูชา ในปัจจุบันตู้ศีล หมายถึง ตู้ที่ใช้วางพิกซ์ หรือซิบอริอุมบรรจุแผ่นศีลที่เสกแล้ว

 

 

 

• อักษร INRI เป็นอักษรตัวแรกของคำสี่คำในภาษาละตินว่า “Jesus Nazarenus Res Judaeorum” (มีความหมายว่า “เยซูแห่ง นาซาเรท กษัตริย์แห่งยิว”) ยน. 19:19 บันทึกไว้ว่า หลังการ ตรึงกางเขนพระคริสตเจ้า “ปิลาโตให้เขียนป้ายติดไว้บน ไม้กางเขนว่า เยซูแห่งนาซาเรท กษัตริย์แห่งยิว”

 

 

 

Free Web Hosting