เทียนและความสว่าง

 

ที่มีเปลวไฟที่ให้ความอบอุ่น ต่ำต้อย มีชีวิตชีวา
เป็นสัญลักษณ์ถึงการอยู่ เป็นเพื่อนและยึดเวลาการภาวนาของเรา

 

แรกเริ่มเดิมทีนั้น เราใช้เทียนเพื่อส่องสว่างในสุสานใต้ดิน คริสตชนใช้ตะเกียงน้ำมันเล็ก ๆ ซึ่งองค์พระเยซูตรัสพาดพิงถึงในนิทานเปรียบเทียบเรื่อง สาวพรหมจรรย์ 10 คน (มธ. 25.1-13) สัญลักษณ์เป็นถึงการตื่นเฝ้าล่วงหน้าของสัตบุรุษ เป็นความหมายที่เหนือกว่าความต้องการใช้เทียนเพื่อส่องสว่าง คริสตชนใช้เทียนเพื่อจุดประสงค์ด้านสัญลักษณ์ เมื่อมีการเสกพระแท่นโดยการเจิมน้ำมัน จะคลุมด้วยผ้าคลุมแท่นแล้วจุดเทียนรอบ ๆ แท่น พิธีกรรมส่วนใหญ่มีการจุดเทียนจนเป็นที่คุ้นเคยสำหรับการฉลองแบบคาทอลิก

ความสว่างเกี่ยวข้องกับพระคริสตเจ้าอย่างหนีไม่พ้น พระองค์ทรงประกาศว่า "เราเป็นแสงสว่างส่องโลก" (ยน 8:12) ในบทข้าพเจ้าเชื่อ (Credo) กล่าวถึงพระเยซูว่าทรงเป็น "องค์ความสว่างจากองค์ความสว่าง" คริสตชนเป็น "บุตรของความสว่าง (อฟ. 5:8) ที่ไม่ดำเนินชีวิตในความมืดอีกต่อไป มีการมอบเทียนที่จุดสว่างที่ในตอนท้ายของพิธีศีลล้างบาป ประธานในพิธีเป็นผู้จุดเทียนโดยกล่าวว่า "จงรับแสงสว่างของพระคริสตเจ้าเถิด"

ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ มีพิธีเสกเทียน ผู้ร่วมพิธีจะถือเทียนเข้าร่วมขบวนแห่ เพื่อฉลองการถวายพระกุมารในพระวิหาร ซึ่งเรียกกันว่า "วันเสกเทียน"

ตัวอย่างที่เป็นที่รู้จักกันที่เกี่ยวกับเทียนศักดิ์สิทธิ์ คือ เทียนปัสกา ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพระคริสต์ผู้ทรงกลับคืนชีพ คืนตื่นเฝ้า (วันเสาร์ศักดิ์สิทธิ์) ซึ่งเป็นจุดสุดยอดของปีพิธีกรรม เริ่มโดยการเสกไฟอย่างสง่า นี่เป็นการปรับปรุงจารีตแบบยิวที่จัดให้การจุดตะเกียงตรงกับวันศุกร์เย็น เพื่อเริ่มต้นวันสับบาโต กลายเป็นการตื่นเฝ้า (Lucernarium มาจากคำละติน Lucerna แปลว่า "ตะเกียง") ของพระศาสนจักรแรกเริ่ม ประธานในพิธีเอาเหล็กแหลมขีดเป็นรูปเครื่องหมายต่าง ๆ ของพระคริสต์เจ้าบนเทียนปัสกา เช่น กางเขน อัลฟา โอเมกา ที่เป็นตัวอักษรแรกและตัวอักษรสุดท้ายของพยัญชนะกรีก (วว. 1:8)

ในที่สุดเขียนตัวเลขสี่ตัวที่บอกปีคริสตศักราช เอากำยาน 5 เม็ด ติดบนเทียน เทียนซึ่งหลอมละลายเข้ากันที่ศูนย์กลางและปลายกางเขน 4 ด้าน เหมือนเป็นการเตือนถึงรอยแผลทั้งห้าของพระคริสต์ ที่ถูกตรึงกางเขนที่พระหัตถ์ทั้งสองข้าง ที่พระบาททั้งสองข้าง และสีข้าง เทียนถูกจุดจากไฟใหม่ และถือเทียนปัสกาแห่เข้าวัด ขณะที่สังฆานุกรประกาศ 3 ครั้งว่า "พระคริสตเจ้า องค์ความสว่างของชาวเรา" เทียนที่จัดระหว่าง 50 วัน ในเทศกาลปัสกา จะลุกไหม้ในหัวใจของผู้รับศีลล้างบาป ไม่มีวันออกจากใจนั้น ระหว่างพิธีปลงศพ จะมีการจุดเทียนปัสกาใกล้หีบศพในฐานะเป็นเครื่องหมายแสดงความหวัง

 

เหตุว่า เราได้มอบแบบอย่างให้แก่ท่านแล้ว
ทั้งนี้ เพื่อให้ท่านทำดังที่เราได้กระทำแก่ท่าน (ยอห์น 13:15)

back

Free Web Hosting